ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPummie Prasarttong ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ระบบสารสนเทศและการพัฒนาระบบ Information Systems and System Development
บทที่ 4 ระบบสารสนเทศและการพัฒนาระบบ Information Systems and System Development
2
เนื้อหา ความหมายของระบบสารสนเทศ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ผู้ใช้งานในระบบสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศ วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
3
ความหมายของระบบสารสนเทศ
ข้อมูล ระบบ สารสนเทศ ระบบสารสนเทศ
4
ความหมายของระบบสารสนเทศ (ต่อ)
ข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ข่าวสาร ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวล ยังไม่มีความหมาย ในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
5
ความหมายของระบบสารสนเทศ (ต่อ)
หมายถึงกลุ่มขององค์ประกอบและกระบวนการที่ สัมพันธ์กัน โดยที่แต่ละองค์ประกอบจะทำงานร่วมกัน เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน สารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับผู้ใช้
6
ความหมายของระบบสารสนเทศ (ต่อ)
หมายถึงองค์ประกอบ 5 ส่วน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูล กระบวนการ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนมีความสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างเป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใช้ภายในองค์กร
7
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ช่วยทำให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และปริมาณมาก ๆ และทำให้การเข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ทำให้การติดต่อสื่อสารดำเนินไปด้วยความสะดวก ง่ายดาย คล่องตัว ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน
8
ผู้ใช้ในระบบสารสนเทศ
9
ประเภทของระบบสารสนเทศ & ผู้ใช้ในระบบสารสนเทศ
ประเภทของระบบสารสนเทศ & ผู้ใช้ในระบบสารสนเทศ
10
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) e-Office e-Meeting ระบบการนัดหมาย โปรแกรมสำนักงาน
11
ระบบ e-Office
13
ระบบการจองห้องประชุม & e-Meeting
14
ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ)
ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบการสั่งซื้อ (Order-Entry Systems) ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบเงินเดือน ระบบบัญชี ระบบการเงิน ระบบการขายสินค้า
15
ระบบจัดซื้อ/จ้าง
16
ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหารเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ข้อมูลที่ผู้บริหารต้องการได้มาจากระบบประมวลผลรายการจากข้อมูลประจำวัน ตัวอย่าง เช่น รายงานยอดขายประจำสัปดาห์ รายงานการวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ รายงานการวิเคราะห์ต้นทุน รายงานงบประมาณประจำปี เป็นต้น
17
กราฟแสดงการเปรียบเทียบยอดขาย ในแต่ละประเทศ
18
ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ทำการตัดสินใจใช้ประกอบการตัดสินใจ เป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้งานและการโต้ตอบ เป็นระบบที่มีการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่ หรือเรียกใช้จากระบบสารสนเทศอื่น ๆ นำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ โดยนำเสนอในรูปของกราฟิก แผนงาน
19
Decision Support System &
Performance Dashboard
20
ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบสารสนเทศที่สร้างและวิเคราะห์ข้อมูลสัณฐานของวัตถุทุกอย่างบนพื้นผิวโลก (Spatial) เกี่ยวกับระบบแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศและแผนผังต่างๆ ของลักษณะภูมิประเทศทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการจัดการ และบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านพื้นที่ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ จะทำให้ระบบสารสนเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานที่กว้างขวางมากขึ้น การประยุกต์ใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร ป่าไม้ ธรณีวิทยา อุทกศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ ผังเมือง และอื่น ๆ
21
GIS & รายได้การเกษตร
22
GIS & การประเมินราคาที่ดินรายแปลง
23
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงการทำงานทั้งองค์การ (Enterprise Wide Systems)
ระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานทั้งหมดภายในองค์การ ระบบลูกค้า ระบบการผลิตสินค้า ระบบการขาย ระบบบัญชี และอื่น ๆ
24
ระบบ Enterprise-Wide System
25
ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบสารสนเทศที่พยายามจะรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ (Knowledge) ให้กับผู้ใช้ระบบ การแทนค่าความรู้ในรูปแบบของกฏเกณฑ์การตัดสินใจ เป็นการอธิบายวิธีการคิดที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆที่ต้องการหาคำตอบเพื่อต้องการแก้ปัญหาในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ มีลักษณะการโต้ตอบแบบทันทีกับผู้ใช้
26
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
27
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ
28
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ
การสำรวจเบื้องต้น ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย งบประมาณ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ความคุ้มค่าในการลงทุนและประโยชน์ ศึกษาเป้าหมายและความต้องการของผู้ใช้
29
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ)
การวิเคราะห์ระบบ ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบปัจจุบัน ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบปัจจุบัน เก็บรวบรวมข้อมูลและความต้องการของผู้ใช้ ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ได้แก่ DFD, E-R Diagram, Use Case Diagram , …
30
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ)
การออกแบบระบบ เป็นการสร้างพิมพ์เขียวของระบบใหม่ตามความต้องการในเอกสารความต้องการระบบ กิจกรรมในขั้นตอนการออกแบบระบบ การออกแบบหน้าจอ การออกแบบฐานข้อมูล การออกแบบข้อมูลนำเข้าและรายงาน การออกแบบระบบควบคุมความปลอดภัยข้อมูล …
31
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ)
เป็นขั้นตอนของการเขียนโปรแกรม การทดสอบการใช้งานของโปรแกรม การจัดทำคู่มือสำหรับการใช้งานระบบ การฝึกอบรมผู้ใช้งาน
32
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ)
การติดตั้งระบบ การเตรียมข้อมูลนำเข้าสู่ระบบ การเตรียมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และเครือข่าย การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการ การติดตั้งระบบสารสนเทศ
33
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ)
การบำรุงรักษาระบบ เป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขหลังจากที่มีการติดตั้งใช้งานแล้ว พัฒนาโปรแกรมเพิ่มเติม ในส่วนที่ผู้ใช้ต้องการ บำรุงรักษาระบบทั้งทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา
34
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
มีความรู้ทางด้านธุรกิจขององค์การ มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน มีความรู้ในการเขียนโปรแกรม ติดตามความก้าวหน้าเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ มีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์ระบบ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.