งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทบาท หน้าที่ ครูปฐมวัย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทบาท หน้าที่ ครูปฐมวัย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทบาท หน้าที่ ครูปฐมวัย

2 บทบาทหน้าที่ครูปฐมวัย
หลักสูตร สถานศึกษา การวิเคราะห์ หลักสูตร สถานศึกษา การวิเคราะห์ ผู้เรียน การจัดทำ แผนการจัด ประสบการณ์ การจัดทำ สื่อประกอบ แผน -แกนกลางปฐมวัย ๔๖ +สาระฯท้องถิ่น +อาเซียน -ตามกลุ่มอายุที่สอน (ปฐมวัย) -พัฒนาการพื้นฐาน -คุณลักษณะที่พึง- ประสงค์พื้นฐาน -จัดทำหน่วยการเรียนรู้ -เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ -๖ กิจกรรมประสบการณ์ การจัด ประสบการณ์ การนำผล การประเมิน ไปใช้ ประโยชน์ การรายงาน ผล พัฒนาการ การบันทึก ผล พัฒนาการ การสร้าง แบบประเมิน พัฒนาการ การวิเคราะห์ ตัวชี้วัด มาตรฐาน คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ -แบบ ศพด.๐๑-๐๒ (ศุนย์พัฒนาเด็กเล็ก) -แบบ อ.๐๑-๐๒ (อนุบาลในโรงเรียน) -ผู้เรียน -ผู้บริหาร -ผู้ปกครอง -พัฒนา/ปรับปรุงแผนฯ -พัฒนา/ปรับปรุงผู้เรียน

3 บทบาทหน้าที่ครูปฐมวัย
๑. นักรัก ๒. นักเล่น ๓. นักร้อง ๔. นักรำ ๕. นักเล่า ๖. นักคิด ๗. นักทำ ๘. นักฝัน ๙. นักแต่ง ๙ นัก

4 ๑.นักรัก รักเด็ก และในเวลาเดียวกันก็ต้องทำให้เด็กรัก
จะต้องรักเด็กจริง ๆ และสนุกสนานร่วมกับเด็ก จะต้องช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นใจ ให้กำลังใจในการทำงานและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสนใจงานเพิ่มมากขึ้น

5 การสร้างวินัยเชิงบวก
มีวินัย......โดยไม่เจ็บกาย มีวินัย โดยไม่เจ็บใจ มีวินัย โดยไม่เสียน้ำตา มีวินัยโดยการตัดสินใจของตนเอง เลือกเอง ปฏิบัติได้เอง ตนเองไม่เดือดร้อน......คนอื่นไม่เดือดร้อน ตนเองพอใจ คนอื่นไม่เดือดร้อน ตนเองไม่เดือดร้อน......พอใจ ตนเองพอใจ คนอื่นพอใจ

6 มาตรฐานที่ ๑ ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑ ครูมีคุณธรรมจริยธรรม ปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ- ของวิชาชีพ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๒ ครูมีความรู้ ความเข้าใจปรัชญา หลักการและจุดหมาย การจัดการศึกษาปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓ ครูมีการวิเคราะห์ศักยภาพ จัดทำสารนิทัศน์ และเข้าใจเด็กเป็นรายบุคคล ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๔ ครูมีความสามารถในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตร การศึกษาปฐมวัยและนำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๕ ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๖ ครูมีความสามารถในการแสวงหาสื่อและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๗ ครูมีการประเมินพัฒนาการที่สอดคล้องกับสภาพจริงเหมาะสมกับวัย และนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๘ ครูมีการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๙ ครูจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑๐ ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ผู้ปกครองและชุมชน

7 ๒.นักเล่น จะต้องเล่นกับเด็ก เป็นคนยิ้มง่าย หัวเราะง่าย
ไม่เป็นคนเคร่งเครียด ร่วมสนุกสนาน ร่วมตื่นเต้นกับเด็ก ในขณะที่เด็กเล่น ควรเล่น-กับเด็กบ้าง จะทำให้ครูไดมีโอกาสศึกษานิสัย ใจคอ มารยาทของเด็กไปด้วย และสามารถ- คิดการเล่นสนุก ๆ สำหรับเด็กได้

8 ๓.นักร้อง ร้องเพลงง่าย ๆ ได้ เพื่อจะได้นำเด็กร้องเพลงประกอบกิจกรรม มีอารมณ์ร่วมขณะร้องเพลงกับเด็ก รู้จักเลือกเพลงที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก และเสริมสร้างประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่เด็กด้วย

9 เพลง : เงาะ แงะ เงาะ หรือ แงะ มัน แปลกจริงแฮะ นี่แงะ หรือเงาะ
เงาะ หรือ แงะ มัน แปลกจริงแฮะ นี่แงะ หรือเงาะ กลม ๆ แล้ว ก็มีขนด้วย (ซ้ำ) โอ้แม่คนสวย นี่แงะหรือเงาะ นี่เงาะหรือแงะ นี่แงะหรือเงาะ (วิทยากร ปุณยาพร ชลทา ร.ร.เทศบาลวัดเหมืองแดง เทศบาลเมืองแพร่)

10 ๔.นักรำ รู้จักทำท่าทางการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ-เพลง ครูควรหัดรำให้เป็น รู้รู้จักดัดแปลงท่ารำให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก จะทำให้เด็กสนุกสนาน ได้เคลื่อนไหว เป็นการบริหารและออกกำลังกาย แสดงลีลาท่าทางประกอบจังหวะ ความหมายทางภาษา พร้อมทั้งพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กไปด้วย

11 เพลง : กล้วยปิ้ง กล้วยปิ้ง กล้วยปิ้ง กล้วยปิ้ง
ยิ่งปิ้งก็ยิ่งอร่อย ใส่เกลือ นิด หน่อย ยิ่งอร่อย ก็ยิ่งปิ้ง กล้วยทับ กล้วยทับ กล้วยทับ ยิ่งทับก็ยิ่งอร่อย ใส่เกลือ นิด หน่อย ยิ่งอร่อย ก็ยิ่งทับ กล้วยกวน กล้วยกวน กล้วยกวน ยิ่งกวน ก็ยิ่งอร่อย ใส่เกลือ นิด หน่อย ยิ่งอร่อย ก็ยิ่งกวน (ด.ช.บุรพล จันแกมแก้ว)

12 กบ กบกระโดด กระโดด หนอนกระดึ๊บ กระดึ๊บ เต่ากระด๊อก กระแด๊ก
กบกระโดด กระโดด หนอนกระดึ๊บ กระดึ๊บ เต่ากระด๊อก กระแด๊ก กระโดด กระดึ๊บ กระด๊อก กระแด๊ก งูเลื้อยแสก ๆ น้องตีกลองแต๊ก แต๊ก งูเลื้อยหนีไป

13

14 เพลง พัฒนาสมอง BBL

15 เพลง : โรงเรียนของเรา (ตบมือช้า)
โรงเรียนของเราน่าอยู่ คุณครูใจดีทุกคน เด็ก เด็ก ก็ไม่ซุกซน พวกเราทุกคน ชอบมาโรงเรียน (ซ้ำ) ชอบ มา ชอบมาโรงเรียน /

16 เพลง : โรงเรียนของเรา (ตบมือเร็ว)
โรงเรียนของเราน่าอยู่ / คุณครูใจดีทุกคน / เด็ก เด็ก ก็ไม่ซุกซน พวกเราทุกคน ชอบมาโรงเรียน ชอบ มา ชอบมาโรงเรียน /

17 เพลง : โรงเรียนของเรา (กำมือ-แบมือ)
โรงเรียนของเราน่าอยู่ / คุณครูใจดีทุกคน / เด็ก เด็ก ก็ไม่ซุกซน พวกเราทุกคน ชอบมาโรงเรียน ชอบ มา ชอบมาโรงเรียน / 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 3 3 3 3 3 3 3 3 3 4 4 4 4 4 4 4 2 2 2 2 3 3 3 4 4 1 1 1 1 1 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4

18 เพลง : โรงเรียนของเรา (cup song 1)
โรงเรียนของเราน่าอยู่ / คุณครูใจดีทุกคน / เด็ก เด็ก ก็ไม่ซุกซน พวกเราทุกคน ชอบมาโรงเรียน ชอบ มา ชอบมาโรงเรียน / 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 3 3 3 3 3 3 3 3 3 4 4 4 4 4 4 4 2 2 2 2 3 3 3 4 4 1 1 1 1 1 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4

19 เพลง : โรงเรียนของเรา (cup song 2)
โรงเรียนของเราน่าอยู่ / คุณครูใจดีทุกคน / เด็ก เด็ก ก็ไม่ซุกซน พวกเราทุกคน ชอบมาโรงเรียน ชอบ มา ชอบมาโรงเรียน / โรงเรียนของเราน่าอยู่ / คุณครูใจดีทุกคน / 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 5 5 5 5 5 5 5 5 5 6 6 6 6 6 6 6 7 7 7 7 7 8 8 8 1 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 3 3 3 3 3 3 4 4 4 4 4 4 4 4 4 5 5 5 5 5 5 5 5 6 6 6 6 6 6 7 7 7 7 8 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 7 6 8 1 2 3 4 5 6 7 8

20 ๕.นักเล่า เด็กวัยนี้ชอบฟังนิทาน ดังนั้นครูควรจะเป็นนักเล่านิทาน การเล่าเรื่องหรือนิทานให้กับเด็กเป็นสิ่งจำเป็น และต้องมีกลวิธี จะทำให้เด็กที่ยังไม่พร้อมในการเรียนหนังสือ เมื่อได้ฟังนิทานจากครู จะมีความเข้าใจภาษาดีขึ้น

21 ๖.นักคิด เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น ครูจะต้องพยายามคิดหาทางช่วยส่งเสริม กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ คิดจัดกิจกรรม คิดหาอุปกรณ์นำมาใช้จูงใจเพื่อให้เกิดการอยากเรียน คิดวิธีการประเมินผล และนำผลมาคิดหาทางแก้ปัญหา และส่งเสริมให้ผลการเรียนรู้ของเด็ก บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่วางไว้

22 ๗.นักทำ ครูที่ดีต้องขยันทำสื่อ เพราะเด็กปฐมวัยจะได้รับ-
ประสบการณ์เกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม โดยผ่านทางประสาทสัมผัส สื่อที่จัดทำ เช่น ภาพผนึก แผนภูมิ หุ่นจำลอง บัตรคำ หุ่นต่าง ๆ หนังสือเด็ก สมุดภาพ เป็นต้น

23 ๘.นักฝัน เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีจินตนาการสูง อารมณ์อ่อนไหว เปลี่ยนแปลงง่าย ชอบโอ้อวด ชอบเพ้อฝัน ชอบเล่นบทบาทสมมุติ ครูจึงต้องเป็นนักฝันร่วมกับเด็กด้วย เพื่อให้โลกสมมุติของเด็กเป็นจริงขึ้นมาอย่างมีเหตุมีผล เช่น จัดมุมต่าง ๆ ให้เด็กเข้าไปเล่น เด็กจะได้รักห้องเรียน รักครู รักโรงเรียน ทำให้อยากมาโรงเรียน

24 ๙.นักแต่ง เด็กวัยนี้ชอบฟังนิทาน ครูต้องเป็นนักแต่งนิทาน แต่งเรื่องราว แต่งสถานที่ แต่งวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งแต่งตัวเองด้วย เพื่อช่วยดึงดูดความสนใจ กระตุ้น ส่งเสริมให้เด็กอยากรู้- อยากเห็น อยากสัมผัสมากยิ่งขึ้น

25 เพลงชีวิต ผดด. ชีวิตร่มเย็น มาเป็นผู้ดูแลเด็ก เลี้ยงดูหนูตัวเล็ก ๆ เพื่อให้เด็กพัฒนา ทั้งร่างกายอารมณ์ สังคม สติปัญญา ด้วยหวังตั้งใจไว้ว่า จะพัฒนาเด็กไทย ตื่นเช้าขึ้นมา หุงหาอาหารไม่มัวรั้งรอ รีบไปยัง ศพด.รอแม่พ่อส่งลูกเข้าเรียน บากเพียงไหน ความตั้งใจไม่เคยแปรเปลี่ยน จะขอเป็นเหมือนแสงเทียน ส่องสว่างนำทางเด็กเดิน นา-ยก ฯ ได้โปรดสงสารเถิดหนอ ชีวิตของ ผดด.ร้องขอให้ท่านเห็นใจ ค่าตอบแทนน้อย พวกหนูก็พอทนได้ ขอเพียงอย่าแล้งน้ำใจและอย่าให้ใครได้มาเหยียดหยาม กราบขอบพระคุณ กรมส่งเสริมฯ ผู้มีเมตตา ลูกของใครไม่ว่า จะตั้งหน้าเลี้ยงดูให้ดี ไม่เคยรังเกียจ คิดหยามเหยียดว่าจนหรือมี ด้วยสำนึกในหน้าที่ ทำดีเพื่อลูกหลานไทย... /

26 มาร์ช : ผดด. มาเถิดหนาพวกเราชาว ผดด. มาเถิดหนอร่วมใจสมัครมั่น
มาร์ช : ผดด. (ทำนองเพลง หลงเสียงนาง) (สร้อย) หลั่ล ลัล ลา ลัล ลา ลัล ล้า ลา (ซ้ำ) มาเถิดหนาพวกเราชาว ผดด. มาเถิดหนอร่วมใจสมัครมั่น เพื่อเด็กไทยในวัยอนุบาล ได้รู้การเริ่มต้นชีวิตตน (สร้อย) เสียสละมานะเพื่อการงาน เมื่อสิ่งนั้นได้มาบังเกิดผล เด็กน้อย ๆ ยังด้อยปัญญาตน ผู้เป็นคนสร้างสรรค์คือ ผดด.

27 เพลง : ผดด.สัมพันธ์ (ทำนองเพลง ปูไข่ไก่หลง)
(สร้อย) หลั่นหล่า ลันลา ลันลา ลั้นลา ลันลา ลันลา ลันหล่า (ซ้ำ) เหล่า ผดด. มาเถิดหนอ มาร่วมผูกพัน สุขใจเทียมทัน ร่วมกัน สร้างสรรค์ความดี ไม่มีสิ่งใด ภูมิใจ เท่าเกียรติศักดิ์ศรี ร่วมใจสามัคคี ผดด.เรานี้ มีไมตรีสัมพันธ์ (สร้อย) เบ็ดเสร็จที่ทำ ทุกอย่าง เราไม่หวั่นไหว ให้เด็กสนใจ ได้มี การศึกษาดีพอ เกิดความชำนาญ ชำนาญ เขียนอ่านเป็นหนอ พวกเรา เต็มใจช่วยก่อ ความดีนี้ไว้ ให้แก่เด็กปฐมวัย ( สร้อย) จะอยู่แดนใด แสนไกล เราไม่เคยหนี ฝากดวงชีวี ชีพพลี ช่วยเหลือเด็กไทย ให้อยู่ดีกินดี ไม่มี น้อยหน้าใคร ๆ คืองาน ผดด.ยิ่งใหญ่ ควรเทิดไว้ ด้วยเกียรติของเรา


ดาวน์โหลด ppt บทบาท หน้าที่ ครูปฐมวัย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google