ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBeatriz Garrido ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ข้อสอบ O – NET : แสดงทรรศนะ โน้มน้าว โต้แย้ง อนุมาน (ปี ๖๑)
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต ๑. ส่วนใดของข่าวต่อไปนี้ไม่มีการแสดงความคิดเห็น ๑) สาวกนักร้องหนุ่มหล่อจากแดนไกลเตรียมตัวให้พร้อมกับ คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกในเมืองไทย/ ๒) “เดอะ ดีไลต์ ออฟ อิท ออล” จัดโดยไลฟ์ลองเอนเทอร์เทนเม็นต์/ ๓) เขาเป็นหนึ่งในศิลปินแถวหน้า จากยุโรปที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง/ ๔)ในปี ๒๐๑๕ เพลงล่าสุด ของเขาได้รับรางวัลประกวดภาพยนตร์สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม/ ๕) แม้จะอายุเพียง ๒๖ ปีแต่ความพิเศษของเขาคือทักษะขั้นเทพใน การถ่ายทอดความเศร้าผ่านบทเพลง ๑. ส่วนที่ ๑ และ ส่วนที่ ๓ ๒. ส่วนที่ ๒ และ ส่วนที่ ๔ ๓. ส่วนที่ ๓ และ ส่วนที่ ๕ ๔. ส่วนที่ ๔ และ ส่วนที่ ๑ ๕. ส่วนที่ ๕ และ ส่วนที่ ๒ Dr. Bualak Petchngam
2
ข้อสอบ O – NET : แสดงทรรศนะ โน้มน้าว โต้แย้ง อนุมาน (ปี ๖๑)
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต ๒. ข้อใดไม่สามารถอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้ จิ้งหรีดเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มทางการตลาดดีขึ้น ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ สหภาพยุโรปหรืออียูเป็น อีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจเพราะนอกจากจะมีผู้บริโภคถึง ๕๐๘ ล้านคนแล้ว อียูยังปรับปรุงกฎระเบียบว่าด้วย “อาหารใหม่” (Novel Food) โดยยอมรับอาหารพื้นบ้าน เช่น แมลง และ อำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนด้วย ๑. อาหารประเภทแมลงเป็นที่นิยมในตลาดอียู ๒. ไทยกำลังจะมีรายได้สูงจากการส่งออกจิ้งหรีดและแมลงอื่น ๓. อียูยอมรับอาหารพื้นบ้านจากหลายประเทศเป็น “อาหารใหม่” ๔. อาหารประเภทแมลงทำรายได้จากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ ๕. นอกจากประเทศในอียูแล้วไทยยังส่งออกแมลงไปขายยังประเทศอื่นๆอีกด้วย Dr. Bualak Petchngam
3
ข้อสอบ O – NET : แสดงทรรศนะ โน้มน้าว โต้แย้ง อนุมาน (ปี ๖๑)
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต ๓. ข้อใดไม่สามารถอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้ เมื่อจะต้องปลูกบัวในภาชนะจำกัดจำเป็นต้องปรับปรุง ดินปลูกให้สามารถจุธาตุอาหารหลักเพียงพอเมื่อแรกปลูก และ พัฒนาวิธีการบำรุงรักษาด้วยการเสริมธาตุอาหารให้แก่บัว เพราะการปลูกในภาชนะจำกัดทำให้บัวไม่สามารถเจริญเติบโต เหมือนอย่างในหนองน้ำธรรมชาติ จึงต้องมีการพัฒนาผลิตดิน สำหรับปลูกบัวในภาชนะจำกัดโดยตรงด้วย ๑. บัวที่ขึ้นตามแหล่งน้ำธรรมชาติสามารถได้อาหารจากดินในน้ำนั้น ๒. การปลูกบัวอาจปลูกตามแหล่งน้ำต่าง ๆ หรือในภาชนะที่จำกัดขนาดก็ได้ ๓. ผู้ปลูกบัวต้องหาแร่ธาตุที่จำเป็นผสมในดินและใส่ลงในภาชนะที่ใช้ปลูก ๔. ดินที่ใช้ปลูกบัวในภาชนะจำกัดต้องมีแร่ธาตุซึ่งอาจหาได้จากธรรมชาติ ๕. ถ้าหากเป็นการปลูกบัวในแหล่งน้ำธรรมชาติ การพัฒนาดินปลูกบัวก็ไม่จำเป็น Dr. Bualak Petchngam
4
ข้อสอบ O – NET : แสดงทรรศนะ โน้มน้าว โต้แย้ง อนุมาน (ปี ๖๑)
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต ๔. ข้อใดไม่สามารถอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้ เมียมมาเป็นตลาดที่หอมหวานสำหรับนักลงทุนไทย นอกจากจะอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังเต็มไปด้วย ความต้องการสินค้าและบริการอย่างมาก เนื่องจากเพิ่งเปิดประเทศ ได้ไม่นานและยังเป็นเพื่อนบ้านในอาเซียนอีกด้วย ๑. ประเทศไทยสนใจอย่างมากที่จะลงทุนทางธุรกิจในเมียนมา ๒. เมียมมาผลิตสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ๓. ทรัพยากรในเมียนมาหลายชนิดมีความน่าสนใจนำไปแปรรูป ๔. เมียนมาเพิ่งเปิดประเทศจึงมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาธุรกิจและบริการ ๕. เมียนมาอยู่ในกลุ่มอาเซียนจึงชักชวนให้ประเทศเพื่อนบ้าน- เข้าไปลงทุนทางธุรกิจ Dr. Bualak Petchngam
5
ข้อสอบ O – NET : แสดงทรรศนะ โน้มน้าว โต้แย้ง อนุมาน (ปี ๖๐)
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต ๑. ส่วนใดของข่าวต่อไปนี้ไม่มีการแสดงความคิดเห็น ๑) คุ้มค่าสมการรอคอยทั้งสองรอบการแสดงของชรินทร์ อิน คอนเสริร์ต หมายเลข ๑๖ “จากฟากฟ้าสุราลัย สู่แดนดิน”/ ๒)บทเพลงแห่งแผ่นดินเป็นที่ ซาบซึ้งแก่ทั้งศิลปินผู้มอบความสุขและแฟนเพลงที่มาชม/ ๓)เริ่มต้นด้วยบทเพลง จากวรรณกรรมละครและภาพยนตร์ในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ – รัชกาลที่ ๘/๔)ผู้ชมได้ฟังบทเพลงอันทรงคุณค่าไปพร้อม ๆ กับแสง สี เสียงที่อลังการ/ ๕)ปิดฉากอย่างประทับใจโยศิลปินทั้งหมดขับร้องเพลง “จากฟากฟ้าสุราลัย สู่แดนดิน” ๑. ส่วนที่ ๑ ๒. ส่วนที่ ๒ ๓. ส่วนที่ ๓ ๔. ส่วนที่ ๔ ๕. ส่วนที่ ๕ Dr. Bualak Petchngam
6
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
๒. ข้อใดอาจอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้(ปี ๖๐) ขนมจีนเป็นอาหารเส้นที่คนไทยนิยมกินกันทั่วไปโดยเฉพาะเมื่อ อยู่นอกบ้าน เพราะสะดวกในการให้บริการ เสิร์ฟง่าย และกินง่ายจบใน ภาชนะเดียว เครื่องประกอบการกินขนมจนแต่ละภูมิภาคคล้ายกันคือ มีเส้นขนมจีน ผักสด เหมือดหรือเครื่องเคียง และน้ำแกงที่ราด ซึ่ง น้ำแกงจะต่างกันไปตามภูมิภาค ภาคเหนือมีน้ำเงี้ยว ภาคกลางมีน้ำยา น้ำพริก ภาคอีสานมีน้ำงัว และภาคใต้มีแกงไตปลา เป็นต้น ๑. คนไทยชอบกินขนมจีนมากกว่าข้าว ๒. ขนมจีนเป็นอาหารที่อร่อยและราคาไม่แพง ๓. ขนมจีนแต่ละภาคเป็นอาหารที่ต้องใช้ฝีมือในการปรุง ๔. อาหารประเภทขนมจีน นับได้ว่าเป็นอาหารพื้นบ้านของทุกภาค ๕. อาหารเส้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะมีผักสนและเครื่องเคียง Dr. Bualak Petchngam
7
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
ข้อสอบ O – NET : การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโน้มน้าว การโต้แย้ง ปี ๖๐ ๓. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้(ปี ๖๐) ปลาเป็นอาหารพื้นบ้านของคนไทยมาแต่โบราณ ปลาที่มีมากมาย เหลือกินนำมาหมักทำปลาร้า น้ำปลา ที่อยู่ใกล้ทะเลก็ใช้ปลากระตัก ปลาตัวใหญ่ก็ นำมาตากแห้งเป็นปลาเค็ม หรือทำปลาแห้งโดยหมักเกลือแล้วตากแดด ย่างไฟอ่อน ๆ แขวนรมควันไว้เหนือเตาฟืนจนแห้งสนิทเป็นปลากรอบเก็บไว้กิน ได้นาน ๆ เพราะสมัยก่อนไม่มีน้ำแข็งหรือตู้เย็นเพื่อเก็บรักษาความสดของอาหาร ๑. คนไทยโบราณรู้จักวิธีถนอมอาหาร ๒. เมืองไทยในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์ ๓. วิถีชีวิตคนไทยในอดีตแตกต่างกับปัจจุบัน ๔. ชีวิตคนไทยสมัยก่อนผูกพันกับธรรมชาติ ๕. คนไทยสมัยก่อนชอบกินปลาแห้งมากกว่าปลาสด Dr. Bualak Petchngam
8
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
ข้อสอบ O – NET : การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโน้มน้าว การโต้แย้ง ปี ๖๐ ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๔ – ๕ (ปี ๖๐) ถอด “บทเรียน” จากหมู่บ้านสุรา ที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยติดอันดับพื้นที่ที่มีคนดื่มเหล้า มากที่สุดในประเทศไทย จนเรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุกลายเป็นปัญหาสืบเนื่องตามมา บัดนี้หมู่บ้านดังกล่าวได้ชื่อว่า “ปลอดสุรา” ไปแล้ว ๔. คำว่า “บทเรียน” ในข้อความข้างต้นมีความหมายตามข้อใด ๑. การพัฒนา ๒. วิธีอบรม ๓. วิธีแก้ปัญหา ๔. การเป็นผู้นำ ๕. การเป็นต้นแบบ Dr. Bualak Petchngam
9
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
ข้อสอบ O – NET : การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโน้มน้าว การโต้แย้ง ปี ๖๐ ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๔ – ๕ (ปี ๖๐) ถอด “บทเรียน” จากหมู่บ้านสุรา ที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยติดอันดับพื้นที่ที่มีคนดื่มเหล้า มากที่สุดในประเทศไทย จนเรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุกลายเป็นปัญหาสืบเนื่องตามมา บัดนี้หมู่บ้านดังกล่าวได้ชื่อว่า “ปลอดสุรา” ไปแล้ว ๕. ข้อใดอาจอนุมานได้จากข้อความข้างต้น ๑. คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านสุขภาพไม่ดี ๒. ในอดีตทุกคนในหมู่บ้านนิยมดื่มเหล้า ๓. ปัจจุบันในหมู่บ้านไม่มีใครสนใจเหล้าอีกเลย ๔. โรคภัยไข้เจ็บในหมู่บ้าน ส่วนหนึ่งมาจากการดื่มเหล้า ๕. ปัญหาอุบัติเหตุมีความสำคัญน้อยกว่าปัญหาสุขภาพ Dr. Bualak Petchngam
10
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
ข้อสอบ O – NET : การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโน้มน้าว การโต้แย้ง ปี ๖๐ ๖. ข้อใดไม่มีการโน้มน้าวใจ(ปี ๖๐) ๑. รถกระบะคู่ใจ ซิงเกิ้ลแค็ป บรรทุกหนัก ประหยัดน้ำมัน ๒. สถาบันจัดกิจกรรมร้องเพลงประสานเสียงสำหรับเด็กพิเศษ เพื่อพัฒนาเด็ก ๓. อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบที่ร้านนี้เป็นกะทิเพื่อสุขภาพ อย่างแท้จริง ๔. กระเป่าผ้าแฮนด์เมคใช้ผ้าฝ้าย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ผสมผสานกับ ลวดลายไม่ซ้ำใคร ๕. ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตสุดอัศจรรย์และสิ่งแวดล้อม อันน่าพิศวง Dr. Bualak Petchngam
11
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
ข้อสอบ O – NET : การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโน้มน้าว การโต้แย้ง ปี ๖๐ ๗. ข้อใดเป็นโครงสร้างของการใช้เหตุผลในข้อความต่อไปนี้ (ปี ๖๐) ร่างกายของเด็กยังมีภูมิคุ้มกันเชื้อโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่โดยเฉพาะในขวบปีแรก การที่มารดาได้รับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของลูก หลังคลอดได้เพียงบางโรค เด็กเล็กถ้าป่วยเนื่องมาจากโรคติดเชื้อมักมีอาการรุนแรง และอัตราการเสียงชีวิตสูง ๑. สรุป สนับสนุน สนับสนุน ๒. สนับสนุน สรุป สรุป ๓. สนับสนุน สนับสนุน สรุป ๔. สรุป สรุป สนับสนุน ๕. สรุป สนับสนุน สรุป Dr. Bualak Petchngam
12
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
ข้อสอบ O – NET : การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโน้มน้าว การโต้แย้ง ปี ๖๐ ๘. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดมีการใช้เหตุผล (ปี ๖๐) ๑) เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธบางชนิดที่ต้องการให้บางส่วนแข็งแกร่งเป็นพิเศษ/ ๒)ช่างต้องเผาเหล็กส่วนนั้นให้ร้อนจนแดง แล้วนำไปชุบโดยการจุ่มในน้ำเย็นทันที/ ๓) หรือบางครั้งอาจนำเหล็กไปชุบในน้ำมัน/ ๔)ซึ่งส่วนใหญ่ใช้น้ำมันเครื่องหรือน้ำมันเตา/ ๕) ช่างเหล็กต้องใช้ความรู้และความชำนาญในการชุบ งานเครื่องเหล็กจะมีคุณภาพดี ๑. ส่วนที่ ๑ ๒. ส่วนที่ ๒ ๓. ส่วนที่ ๓ ๔. ส่วนที่ ๔ ๕. ส่วนที่ ๕ Dr. Bualak Petchngam
13
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
ข้อสอบ O – NET : การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโน้มน้าว การโต้แย้ง ปี ๖๐ ๙. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดเป็นการแสดงทรรศนะ(ปี ๖๐) ๑) ต้นไม้มีประโยชน์ช่วยขจัดฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ/ ๒) โดยใช้ผิวใบ กิ่ง และก้าน เป็นตัวจับในระหว่างการคายน้ำ/ ๓) เพิ่มความชื้นในอากาศ ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีน้ำหนักและตกลงสู่พื้น/ ๔)นอกจากนี้ยังดูดซับแก๊สต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม/ ๕) บ้านที่อยู่ริมถนนสาธารณะน่าจะปลูกต้นไม้ทรงพุ่มแน่นเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการกรองอากาศ ๑. ส่วนที่ ๑ ๒. ส่วนที่ ๒ ๓. ส่วนที่ ๓ ๔. ส่วนที่ ๔ ๕. ส่วนที่ ๕ Dr. Bualak Petchngam
14
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๑ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต
๑๐. ข้อใดเป็นประเด็นโต้แย้งของข้อความนี้ (ปี ๖๐) การออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)การบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มีประเด็นหนึ่งซึ่งเพิ่มโทษปรับนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ในอัตราสูงถึง ๔๐๐,๐๐๐ – ๘๐๐,๐๐๐ บาท หลายฝ่ายเห็นว่า พ.ร.ก. ดังกล่าวเหมาะสม เพราะเป็นการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้อง แต่การเพิ่มโทษปรับสูงขึ้น น่าจะไม่ใช่ทางออกและแก้ปัญหาได้ทั้งหมด กลับจะกลายเป็นช่องทางให้เกิดการ คอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่รัฐที่ประพฤติมิชอบมากยิ่งขึ้น และในอนาคตอาจจะขาดแคลน แรงงานต่างด้าวได้ ๑. แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานผิดกฎหมายจริงหรือ ๒. พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้สามารถแก้ปัญหาแรงงรานต่างด้าวผิดกฎหมายได้หรือไม่ ๓. ธุรกิจในประเทศไทยจำเป็นต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานจริงหรือ ๔. บทลงโทษปรับนายจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในอัตราที่สูงมากนั้น เหมาะสมหรือไม่ ๕. กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่นี้มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการและ ธุรกิจหลายประเภทหรือไม่ Dr. Bualak Petchngam
15
ใช้ชีวิตเหมือนมันจะสิ้นสุดลงวันพรุ่งนี้,
Live like you will die tomorrow, learn like you will live forever. ใช้ชีวิตเหมือนมันจะสิ้นสุดลงวันพรุ่งนี้, เรียนรู้ให้เหมือนชีวิตจะไม่มีวันจบลง. SSRU.ac.th
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.