ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยΦῆλιξ Γούναρης ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ตัวอย่างภาวะผู้นำกับการรับรู้ของพยาบาล องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ
บทที่ ๖ ดร ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
2
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนนทบุรี
FACTORS RELATED TO EXCELLENT NURSING ORGANIZATION IN COMMUNITY HOSPITAL, NONTHABURI PROVINCE. ฉวีวรรณ ล่องสุวรรณ
3
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ความคาดหวังคุณภาพบริการของผู้บริโภค นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 การพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.)พัฒนาคุณภาพบริการมุ่งสู่ความเป็นเลิศขององค์กรภาครัฐ ยุทธศาสตร์การบริการพยาบาลระดับประเทศ ยุทศาสตร์ที่2 การพัฒนาระบบบริการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ
4
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การประเมินคุณภาพการพยาบาลภายนอกเพื่อมุ่งสู่ ความเป็นเลิศ การรับรู้ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อมุ่งสู่ ความเป็นเลิศ
5
ปัญหาการวิจัย ระดับความเป็นเลิศขององค์กรพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับใด ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการสร้างเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนนทบุรี เป็นอย่างไร ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาองค์กรพยาบาลสู่ความเป็นเลิศของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนนทบุรีหรือไม่ ในทิศทางใด
6
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาระดับความเป็นเลิศขององค์กรพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนนทบุรี เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและระดับการสร้างเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนนทบุรี เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารการพยาบาล กับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนนทบุรี
7
แนวคิดและสมมติฐานการวิจัย
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารการพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ
8
ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การเสริมสร้างพลังอำนาจ กับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนนทบุรี ศึกษาในกลุ่มประชากรทั้งหมด คือ พยาบาลวิชาชีพทุกระดับยกเว้นหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลและหัวหน้าหอผู้ป่วย ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่จะประเมินหัวหน้าหอไม่น้อยกว่า 1ปี ในเดือนสิงหาคม 2553
9
ตัวแปรที่ศึกษา องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสร้างเสริมพลังอำนาจ
10
นิยามศัพท์เฉพาะ องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ
หมายถึง องค์กรพยาบาลที่มีสมรรถนะในการบริหารจัดการมีศักยภาพในการดำเนินธุระกิจบริการและผลผลิตขององคืกรมีคุณภาพและมาตรฐานสนองตอบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้บริโภค และผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศของสำนักการพยาบาล กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ตามเกณฑ์มาตรฐาน 7หมวด 36ประเด็นพิจารณา ประกอบด้วย
11
นิยามศัพท์เฉพาะ การนำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์
การมุ่งเน้นผู้ใช้บริการ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร การจัดกระบวนการให้บริการพยาบาล ผลลัพธ์การให้บริการ วัดโดยใช้แบบสอบถามการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการพยาบาลสู่องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ ของสำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
12
นิยามศัพท์เฉพาะ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย
หมายถึง คะแนนการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยที่มีต่อหัวหน้าหอผู้ป่วย ในการแสดงพฤติกรรมของลักษณะความเป็นผู้นำที่สามารถจูงใจและกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาในการสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล วัดโดยใช้แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามแนวคิดของ Bass, Avolio & Jung(1999)
13
นิยามศัพท์เฉพาะ การเสริมสร้างพลังอำนาจ
หมายถึง การที่พยาบาลวิชาชีพได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหัวหน้าหอผู้ป่วย ให้มีความสามารถที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรตามแนวคิดของ Kanter ( 1977 ) ประกอบด้วยการได้รับอำนาจและการได้รับโอกาส ดังนี้
14
นิยามศัพท์เฉพาะ หัวหน้าหอผู้ป่วย
หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพยาบาลผู้บริหารในหอผู้ป่วย ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนนทบุรี มีหน้าที่ในการดูแล ควบคุม กำกับ การปฏิบัติงานของบุคลากรภายในหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ โดยยึด นโยบายและเป้าหมายขององค์กรพยาบาล
15
นิยามศัพท์เฉพาะ พยาบาลวิชาชีพ
หมายถึง บุคลากรที่ประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นสูงหรือ(เทียบเท่า)ปริญญาตรี หรือสูงกว่า และได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น1 ปฏิบัติงานมาเป็นเวลา 1ปีขึ้นไป ในปีงบประมาณ 2553
16
นิยามศัพท์เฉพาะ โรงพยาบาลชุมชน
หมายถึง สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลปากเกร็ด รงพยาบาลบางกรวย โรงพยาบาลไทรน้อย โรงพยาบาลบางใหญ่และ โรงพยาบาลบางบัวทอง
17
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้บริหารการพยาบาลใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน เป็นข้อมูลให้ผู้บริหารการพยาบาลได้นำมาปรับปรุง พัฒนาองค์กรพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้วิจัยที่มีความสนใจใช้เพื่อการศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาองค์กรพยาบาลสู่ความเป็นเลิศต่อไป
18
เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ ความหมายองค์กรที่มีผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ มาตรฐานการประเมินคุณภาพการพยาบาลภายนอก ปัจัยความสำเร็จในการก้าวสู่องค์กรที่มีผลการดำเนินงานเป็นเลิศ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความหมายภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการพัฒนาคุณภาพองค์กรพยาบาล
19
เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การสร้างเสริมพลังอำนาจในงาน ความหมายของการสร้างเสริมพลังอำนาจในงาน ความสำคัญของการสร้างเสริมพลังอำนาจ แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ ทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานของคานเตอร์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเสริมพลังอำนาจในงานกับการพัฒนาคุณภาพ
20
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ การเสริมสร้างพลังอำนาจ
ของหัวหน้าหอผู้ป่วย 1. ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ 2. การกระตุ้นทางปัญญา 3. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ 1. การนำองค์กร 2. การวางแผนกลยุทธ์ 3. การมุ่งเน้นผู้ใช้บริการ 4. การวัด วิเคราะห์จัดการความรู้ 5. การมุ่งเน้นบุคลากร 6. การจัดกระบวนการให้การพยาบาล 7. ผลลัพธ์การให้บริการพยาบาล การเสริมสร้างพลังอำนาจ 1. การได้รับอำนาจ 1.1 การได้รับข้อมูลข่าวสาร 1.2 การได้รับการส่งเสริมสนับสนุน 1.3 การได้รับทรัพยากร 2. การได้รับโอกาส 2.1 การได้รับความก้าวหน้า 2.2 ได้รับการเพิ่มพูนความสามารถ 2.3 การได้รับยกย่องชมเชย
21
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายหาความสัมพันธ์ (Correlationa l descriptive research)ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนนทบุรี โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมดประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน 5แห่ง และอยู่ในหอผุ้ป่วยที่จะประเมินอย่างน้อย1ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 221 คน
22
จำนวนประชากร โรงพยาบาลปากเกร็ด 52 โรงพยาบาลบางใหญ่ 47 โรงพยาบาลบางกรวย 39 โรงพยาบาลไทรน้อย 41 โรงพยาบาลบางบัวทอง 42 รวม 221
23
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
ประกอบด้วยแบบสอบถาม 4 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เป็นแบบคำถามแบบเลือกตอบและเติมคำมีจำนวน 5 ข้อ ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแห่งนี้ ตำแหน่งงานในปัจจุบัน และการเข้าร่วมการประเมินคุณภาพบริการพยาบาลในหน่วยงาน
24
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
ชุดที่ 2 แบบสอบถามการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการพยาบาลสู่องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงมาจากประเด็นพิจารณา ตามแนวคิดและเกณฑ์การประเมินคุณภาพการพยาบาลภายนอกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศของสำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใช้แนวคิดเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ(TQA) ข้อคำถามจำนวน 43 ข้อ ประกอบด้วย
25
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
แบบสอบถาม(ต่อ) 1. การนำองค์กร จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 1-5 2. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ จำนวน ข้อ ได้แก่ข้อ 6-9 3. การมุ่งเน้นผู้ใช้บริการ จำนวน ข้อ ได้แก่ข้อ 10-14 4. การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ จำนวน ข้อ ได้แก่ข้อ 15-19 5. การมุ่งเน้นบุคลากร จำนวน ข้อ ได้แก่ข้อ 20-25 6. การจัดกระบวนการให้บริการพยาบาล จำนวน ข้อ ได้แก่ข้อ 26-37 7. ผลลัพธ์การให้บริการพยาบาล จำนวน ข้อ ได้แก่ข้อ 38-43
26
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
ชุดที่ 3 แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย ผู้วิจัยใช้ แบบสอบถามของ น้อมจิตต์ จันทร์น้อย (2553) ซึ่งสร้างขึ้นตามแนวคิดของ Avolio,Bass and Jung (1999) ซึ่งมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม=.95 แบบสอบถาม มีจำนวน 19 ข้อ ประกอบด้วย 1. ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ จำนวน 8 ข้อ ได้แก่ข้อ 1 – 8 2. การกระตุ้นทางปัญญา จำนวน ข้อ ได้แก่ข้อ 3. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล จำนวน ข้อ ได้แก่ข้อ
27
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
ชุดที่ 3 แบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยปรับปรุงจากแบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานของมณฑา อร่ามเลิศมงคล ( 2549 ) ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยกรอบแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างอำนาจของ Kanter(1977) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามมาใช้จำนวน 28 ข้อ เป็นคำถามเชิงบวก 27 ข้อ คำถามเชิงลบ 1 ข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้
28
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. การได้รับอำนาจ จำนวน 19 ข้อ ประกอบด้วย 1.1 การได้รับข้อมูลข่าวสาร จำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ การได้รับการส่งเสริมสนับสนุน จำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ การได้รับทรัพยากร จำนวน 7 ข้อ ได้แก่ ข้อ การได้รับโอกาส จำนวน 9 ข้อ ประกอบด้วย 2.1 การได้รับความก้าวหน้าในงาน จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ ข้อ การได้รับการเพิ่มพูนความสามารถและทักษะ จำนวน 3ข้อ ได้แก่ ข้อ การได้รับการยกย่องชมเชยและยอมรับ จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ ข้อ 26-28
29
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ( Content Validity) โดยนำแบบสอบถามให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3ท่าน พิจารณาตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา นำผลการพิจารณามาคำนวนค่าดัชนีดัชนีความตรงตามเนื้อหา(Content Vality IndexหรือCVI)โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาความตรงตามเนื้อหาโดยกำหนดระดับของการให้ค่าคะแนนความตรงตามเนื้อหาของข้อคำถามแต่ละข้อ4ระดับ(บุญใจ ศรีสถิตนรากูร,2545,หน้า224) ซึ่งดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้คือ .80 ขึ้นไป
30
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2. การหาค่าความเที่ยง ( Reliability) ทดสอบหาความเชื่อมั่นในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพจำนวน 30 คน ในโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานีโดยกำหนดให้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ .70 (Burns and Grove, 2005 อ้างในบุญใจ ศรีสถิตนรากูร, หน้า232)
31
การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง
การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยคำนึงถึงหลักจริยธรรมในการวิจัยที่เป็นสากล ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้( สมจิต ปทุมานนท์, 2546, หน้า 40) 1. การเคารพในบุคคล 2. การได้รับประโยชน์และไม่ได้รับอันตราย 3. ความยุติธรรม
32
การเก็บรวบรวมข้อมูล 1.ผู้วิจัยทำหนังสือจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ส่งถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล และสำเนาเรียนไปยังหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนทั้ง 5 แห่ง เพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย 2.ผู้วิจัยเตรียมแบบสอบถามทั้ง 4 ชุด โดยใส่ซองรวมสำหรับแต่ละหอผู้ป่วย เข้าพบหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนทั้ง 5 แห่ง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัย รายละเอียด วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวนและคุณสมบัติของประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ 3. เก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัยเดินทางไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากที่รวบรวมไว้ ที่กลุ่มการพยาบาล ซึ่งก่อนดำเนินการเก็บข้อมูลผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้ 4.นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมา ตรวจสอบความสมบูรณของข้อมูล เพื่อเตรียมนำไป วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ
33
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้สถิติบรรยาย หาค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ตำแหน่งงานปัจจุบัน และการเข้าร่วมการประเมินคุณภาพบริการพยาบาล ใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) วิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การเสริมสร้างพลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การเสริมสร้างพลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนนทบุรี
34
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าหอผู้ป่วย การเสริมสร้างพลังอำนาจ กับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ ของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าหอผู้ป่วย การเสริมสร้างพลังอำนาจ กับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนนทบุรี
35
ทบ การได้รับเสริมสร้างพลังอำนาจ จะทำให้บุคคล มีความสามารถแห่งตน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสูง เพิ่มความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร ลดระดับความเบื่อหน่าย เพิ่มความเป็นอิสระแห่งตน ลดความเครียดในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน องค์กรประสบ ความสำเร็จได้ (Kanter, 1977
36
ผลข้อมูล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหน่วยงาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนนทบุรีโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( X ± SD = 3.79 ±.40) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับสูงทุกด้าน ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านภาวะ ผู้นำมีบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้น ทางปัญญา โดยด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีค่าเฉลี่ย น้อยกว่าด้านอื่น ( X ± SD=3.46 ±.75) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 142 คน มีอายุอยู่ในช่วง ปี อายุ เฉลี่ย ปี ส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.8 มีอายุระหว่าง ปี ร้อยละ 85.2 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานอยู่ในช่วง 1-5 ปี และ ปี มากที่สุด โดยเฉลี่ย ปี พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 72.5 มีการ เข้าร่วมประเมินคุณภาพหน่วยงานอย่างน้อยปีละครั้ง และ เป็นตัวแทนหน่วยงานพัฒนาคุณภาพระดับโรงพยาบาล ร้อยละ 34.5
37
ผลข้อมูล องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศตามการรับรู้ของ พยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X ± SD=3.21 ±.54) ส่วนในรายด้าน เมื่อแบ่งระดับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพตามเกณฑ์การประเมิน คุณภาพการพยาบาลภายนอก เป็น 3 ระดับ พบว่า ระดับ องค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยด้านการมุ่งเน้นผู้ใช้ บริการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X ± SD=3.35 ±.63) รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดกระบวนการให้บริการพยาบาล ด้าน การนำองค์กร ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านการวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ และด้านผลลัพธ์การให้ บริการพยาบาล ส่วนด้านการมุ่งเน้นบุคลากรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( X ± SD=3.08 ±.60)
38
ผลข้อมูล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหน่วยงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับองค์กรพยาบาลที่ เป็นเลิศตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ชุมชน จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .644) การเสริมสร้างพลังอำนาจมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูงกับองค์กรพยาบาลที่เป็นเลิศตามการรับรู้ของ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนนทบุรี 63 (r = .668) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
39
อธิบายผล ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ หัวหน้าหน่วยงาน พบว่า อยู่ในระดับสูงทุกด้าน อภิปรายได้ว่าหัวหน้าหน่วยงานใน โรงพยาบาลชุมชนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการ บริหารหน่วยงาน โดยเป็นผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา ใส่ใจถึงความต้องการ ความสำเร็จและโอกาสก้าวหน้า ให้อิสระในการทำงาน สร้างจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม กระตุ้นให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และเปิดโอกาส ให้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ย่อมได้รับความศรัทธา และไว้วางใจ ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท
40
อธิบายผล สอดคล้องกับ Bass and Avolio (1994) ที่ว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นลักษณะของผู้นำที่มีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงานและผู้ตาม โดยเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงานและผู้ตาม ให้สูงขึ้น นำไปสู่การบรรลุผลงานที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การพิจารณาในรายข้อพบว่า การพูดให้กำลังใจผู้ใต้บังคับ บัญชาเพื่อสร้างความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน เกิด ความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในหน่วยงาน และสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานให้สเร็จตามเป้าหมายอยู่ในระดับ ปานกลาง อภิปรายได้ว่า หัวหน้าหน่วยงานมีความมุ่งมั่น ในการพัฒนางานให้สำเร็จ แต่การสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรซึ่งแสดงออกโดยการพูดให้กำลังใจ ผู้ใต้บังคับบัญชาสร้างความกระตือรือร้นยังมีน้อย ส่งผลให้ ความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในหน่วยงานตลอดจนแรงจูงใจที่จะ ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมายอยู่ในระดับปานกลาง ควรใส่ใจคอยติดตามให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับฟังความคิดเห็น พูดชื่นชมเพื่อจูงใจให้ผู้ใต้ บังคับบัญชาเกิดความรักและผูกพันในองค์กร มุ่งมั่นที่จะ ปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายเพิ่มขึ้น
41
อธิบายผล
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.