งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประวัติและวิวัฒนาการของตัวอักษร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประวัติและวิวัฒนาการของตัวอักษร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประวัติและวิวัฒนาการของตัวอักษร

2 วิวัฒนาการของตัวเขียน
แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน คือ ตัวเขียนระบบภาพ (pictograph) คือ ตัวเขียนที่ใช้ภาพในการสื่อสาร เป็นระบบ ตัวเขียนที่เก่าแก่ที่สุด แต่มีข้อจำกัดในการสื่อ ความหมายได้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมและต้อง ใช้ทักษะการเขียนอีกด้วย ตัวเขียนระบบภาพที่ สำคัญ ได้แก่ ตัวเขียนรูปลิ่ม (cuneiform) ของ ชาวสุเมเรียน ตัวเขียนฮีโรกลิฟิก (hieroglyphic) ของชาวอียิปต์ และตัวเขียนเจียกู่เหวินของชาว จีน เป็นต้น

3 วิวัฒนาการของตัวเขียน
แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน คือ ตัวเขียนระบบภาพ (pictograph) คือ ตัวเขียนที่ใช้ภาพในการสื่อสาร เป็นระบบ ตัวเขียนที่เก่าแก่ที่สุด แต่มีข้อจำกัดในการสื่อ ความหมายได้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมและต้อง ใช้ทักษะการเขียนอีกด้วย ตัวเขียนระบบภาพที่ สำคัญ ได้แก่ ตัวเขียนรูปลิ่ม (cuneiform) ของ ชาวสุเมเรียน ตัวเขียนฮีโรกลิฟิก (hieroglyphic) ของชาวอียิปต์ และตัวเขียนเจียกู่เหวินของชาว จีน เป็นต้น

4 วิวัฒนาการของตัวเขียน
แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน คือ ตัวเขียนระบบภาพแสดงความคิด (ideograph) คือ ตัวเขียนระบบภาพที่มีลักษณะสื่อความ หมายถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ โดยอาศัยวิธีการ ต่างๆ ได้แก่ การเพิ่มเครื่องหมายต่างๆ เข้าไปใน ภาพเดิม การประสมภาพเดิมหลายๆ ภาพเข้า ด้วยกันแล้วให้ความหมายใหม่ และการสร้าง สัญลักษณ์ใหม่ที่มีความหมายเชิงนามธรรม เป็น ต้น

5 วิวัฒนาการของตัวเขียน
แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน คือ ตัวเขียนระบบภาพแสดงความคิด (ideograph) คือ ตัวเขียนระบบภาพที่มีลักษณะสื่อความ หมายถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ โดยอาศัยวิธีการ ต่างๆ ได้แก่ การเพิ่มเครื่องหมายต่างๆ เข้าไปใน ภาพเดิม การประสมภาพเดิมหลายๆ ภาพเข้า ด้วยกันแล้วให้ความหมายใหม่ และการสร้าง สัญลักษณ์ใหม่ที่มีความหมายเชิงนามธรรม เป็น ต้น

6 วิวัฒนาการของตัวเขียน
แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน คือ ตัวเขียนระบบสัญลักษณ์รูปคล้าย (logograph) คือ ระบบที่ดัดแปลงตัวเขียนระบบภาพและ ตัวเขียนระบบภาพแสดงความคิดมาเป็นภาพที่ คล้ายของจริง เขียนด้วยลายเส้นง่ายๆ ไม่มี รายละเอียดของภาพจึงทำให้มีลักษณะเป็น สัญลักษณ์มากขึ้น

7 วิวัฒนาการของตัวเขียน
แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน คือ ตัวเขียนระบบสัญลักษณ์แทนพยางค์ (syllabary) คือ ตัวเขียนระบบที่ใช้สัญลักษณ์แต่ละตัวแทน เสียงพยางค์หนึ่งพยางค์ เป็นการนำเอา สัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำๆ หนึ่งมาใช้กับคำอีกคำ หนึ่งที่มีเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน ตัวเขียนที่พอจัดอยู่ในระบบนี้ เช่น ตัวเขียน ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

8 วิวัฒนาการของตัวเขียน
แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน คือ ตัวเขียนระบบแทนเสียงหรือตัวอักษร (alphabet) คือ ตัวเขียนระบบที่ใช้สัญลักษณ์แต่ละตัวแทน เสียงหนึ่งเสียง เป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ใน การบันทึกภาษา และใช้สัญลักษณ์น้อยกว่าทุก ระบบที่กล่าวมาข้างต้น

9 ประวัติความเป็นมาของตัวเขียนอักษรโรมัน
ตัวอักษรโรมันถือได้ว่าเป็นตัวอักษรที่ใช้กัน แพร่หลายที่สุดในโลก โดยเริ่มต้นจากชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าอิตาลิก (italic) ที่พูดภาษาละติน ได้ตั้งรกรากที่บริเวณหุบเขาตอนล่างของแม่น้ำ ไทเบอร์หรือที่ราบลาติอุม (latium) ในคาบสมุทร อิตาลี เมื่อโรมันเจริญรุ่งเรืองขึ้นจึงได้แผ่ขยาย อาณาเขตเข้าไปยึดครองกรีกกับอีทรัสกันไว้ โรมันได้รับเอาอักษรของกรีกมาพัฒนาเป็นอักษร โรมันหรืออักษรละตินขึ้น เมื่อราว ๗๐๐ ปีก่อน คริสตกาล ตัวอักษรโรมันในระยะแรกมีเฉพาะ อักษรตัวนำ (capital letter) ตัวอักษรมีรูปร่าง โค้ง ลายเส้นอักษรมีความหนาบาง มีเซอริฟ (Serif) เขียนติดต่อกันไปโดยไม่มีการเว้นช่องไฟ และไม่มีการใช้เครื่องหมายวรรคตอน square capitals (I) rustic (III) uncial (IV) half-uncial (V) visgothic (VI) beneventan (VII) humanist (VIII) cursiva (IX)

10 ประวัติความเป็นมาของตัวเขียนอักษรโรมัน
ในขณะที่โลกตะวันออกเช่นจีนและเกาหลี ค้นพบวิธีการพิมพ์ใหม่ๆ ยุโรปยังไม่มีใคร ทราบข่าวนี้และการพิมพ์ในยุโรปเองก็ยังไม่มี “ยุคมืด” (dark age) ยุคมืดของยุโรปยาวนาน ถึง ๔๗๖ ปี ในยุคนี้ชาวยุโรปจำนวนน้อยนิดที่ รู้หนังสือหรืออ่านออกเขียนได้ นักการศึกษาและพระคริสเตียนจำนวนหนึ่ง ได้เริ่มฟื้นฟูหนังสือในยุโรปขึ้น โดยการกว้าน ซื้อหนังสือที่มีค่าเหล่านั้นมารวบรวมไว้ ได้ฝึก พระให้เป็นพระอาลักษณ์เพื่อจดและลอกคำ ต่อคำจากหนังสือ หนังสือที่พระอาลักษณ์ เขียนจะสวยงามมากที่เรียกว่า “หนังสือเลขา วิจิตร” (illumination) Book of Kells

11 ประวัติความเป็นมาของตัวพิมพ์อักษรโรมัน
เมื่อการพิมพ์เผยแพร่ไปถึงยุโรปในปี ค.ศ. ๑๔๐๐ โดยเริ่มต้นจากการพิมพ์ไพ่ด้วย แม่พิมพ์บล็อกไม้ก่อน ต่อมาชาวเยอรมนีที่ชื่อ โยฮัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) การพิมพ์แพร่หลายในอิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม สเปนและ อังกฤษ ซึ่งแต่ละประเทศก็คิดพิมพ์หนังสือ ของตนเองออกมา วิทยาการความรู้ทั้งหลายจึงแพร่กระจายสู่มือ สามัญชนอย่างมากมาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ อย่างหนึ่งที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (renaissance) ในยุโรป Gutenberg Printing Press

12 ประวัติความเป็นมาของตัวพิมพ์อักษรโรมัน
การออกแบบตัวอักษรโรมันในช่วงค.ศ.ที่ ๑๗- ๑๘ พัฒนาการทางการออกแบบตัวอักษรได้ ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยได้อาศัยหลักการ ทางเรขาคณิต ตัวพิมพ์จึงมีโครงสร้างตัวอักษรที่ ได้มาตรฐานขึ้นเป็นครั้งแรก ตัวพิมพ์โรเมน ดู รอย (Romain du Roi) โดย (philippe grandijean) ในปี ค.ศ. ๑๖๙๒ ตัวพิมพ์บาสเกอร์วิลล์ (Baskerville) ของ จอห์นบาสเกอร์วิลล์ (john baskerville) ในปี ค.ศ. ๑๗๕๗

13 ประวัติความเป็นมาของตัวพิมพ์อักษรโรมัน
ในอดีตก่อนที่จะมีการวัดขนาดตัวพิมพ์ด้วย ระบบหน่วยวัดแบบพอยต์นั้น ตัวพิมพ์อักษร โรมันจะใช้ชื่อเป็นตัวบ่งบอกให้ทราบถึงขนาด ของตัวพิมพ์ เช่น brevier, long primer, pica ค.ศ. ๑๗๓๗ นักออกแบบตัวพิมพ์ชาวฝรั่งเศส โฟร์เนียร์ (Pierre Simon Fournier le Jeune) ริเริ่มและคิดค้นการวัดขนาดตัวพิมพ์ด้วย ระบบหน่วยวัดแบบพอยต์ขึ้น จากนั้นในปี ค.ศ. ๑๗๗๐ นักออกแบบ ตัวพิมพ์ชาวฝรั่งเศส ฟรองซัวส์- แอมโบรส์ ดี โดต์ (Francois-Ambroise Didot) ได้คิด ปรับปรุงระบบพอยต์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

14 ประวัติความเป็นมาของตัวพิมพ์อักษรโรมัน
การออกแบบตัวอักษรโรมันในช่วงค.ศ.ที่ ๑๘ การออกแบบตัวอักษรได้พัฒนารูปแบบที่ ทันสมัยมากกว่าเดิม รวมทั้งการจัดเรียงอักษรที่ เน้นความเรียบง่าย สะอาด และมีเสน่ห์ เช่น ตัวพิมพ์ดิโดต์ โดยเฟอร์มิน ดิโดต์ (Fermin Didot) ในปี ค.ศ. ๑๗๘๔ ตัวอักษรโบโดนี่ โดยกิแอมแบททิสต้า โบโดนี่ (Giambattista Bodoni) ในปี ค.ศ. ๑๘๑๓

15 ประวัติความเป็นมาของตัวพิมพ์อักษรโรมัน
การออกแบบตัวอักษรโรมันในช่วงระหว่าง ศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (an industrial age) มีรูปแบบที่แปลกตาทะยอยออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นแบบสามมิติ แบบเส้นกรอบรอบ นอกตัวอักษร แบบลายเส้นหนามาก (fat face) แบบไม่มีเชิง (san serif) เป็นต้น ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ (wood type) นอกจากนี้ มีการประดิษฐ์เครื่องเรียงพิมพ์อัตโนมัติขึ้นมา อีกด้วย

16 ประวัติความเป็นมาของตัวพิมพ์อักษรโรมัน
การออกแบบตัวอักษรโรมันในช่วงระหว่าง ศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (an industrial age) แนวร่วมศิลปะและหัตถกรรม (the arts and crafts movement) นำโดยวิลเลี่ยม มอริส (william morris) ศิลปะนูโวหรือนวศิลป์ (art nouveau) เกิดขึ้น ช่วงปี ค.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๐๕ นำโดย เอลฟอน มูชา (alphonse mucha) และทูลูส โลเทรค (henri de toulouse-lautrec)

17 ประวัติความเป็นมาของตัวพิมพ์อักษรโรมัน
การออกแบบตัวอักษรในศตวรรษที่ ๒๐ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๖ เอ็ดเวิร์ด จอห์นสตัน (Edward Johnston) ออกแบบตัวอักษรเพื่อ ใช้ในกิจการของระบบรถไฟใต้ดินของกรุง ลอนดอน ในปี ค.ศ. ๑๙๓๑ สแตนลีย์ มอริสัน (Stanley Morison) ออกแบบตัวพิมพ์ที่ชื่อว่า ไทม์ นิว โรมัน (time new roman) เพื่อใช้สำหรับ หนังสือพิมพ์ไทม์ ประเทศอังกฤษ ปี ค.ศ. ๑๙๒๔ พอล เรนเนอร์ (paul renner) ได้ออกแบบตัวพิมพ์ตระกูล ฟิวจูร่า (futura) ที่ มีสมาชิกมากถึง ๑๕ ลักษณะขึ้นมา

18 ประวัติความเป็นมาของตัวเขียนอักษรไทย
อักษรไทยมีพัฒนาการมาจากอักษรพราหมี ซึ่ง เป็นตัวอักษรอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๓ ต่อมา รูปอักษรได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอักษรเทวนาครี กับอักษรคฤนถ์หรืออักษรปัลลวะในพุทธ ศตวรรษที่ ๙-๑๐ หลังจากนั้นตัวอักษรปัลลวะได้ แพร่เข้าสู่ดินแดนเอเชียอาคเนย์เมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒ และได้คลี่คลายรูปสัณฐาน ออกเป็นอักษรขอมโบราณและอักษรมอญ โบราณ จนถึงรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง มหาราช ทรงโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต ปรับปรุงอักษรไทยเดิมให้เป็นระบบและมีรูป สัณฐานเดียวกันจนกลายเป็นลายสือไทยขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๑๘๒๖


ดาวน์โหลด ppt ประวัติและวิวัฒนาการของตัวอักษร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google