ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ :
5/21/2019 พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ : สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 5/21/2019 อารยะ ปรีชาเมตตา อารยะ ปรีชาเมตตา
2
ทำไมต้องเริ่มต้นที่รัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2398)
5/21/2019 ทำไมต้องเริ่มต้นที่รัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ ) ในช่วงสมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองและเศรษฐกิจยังอยู่ในสภาพที่เสียหายจากภัยสงคราม คนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน จึงไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในหมู่ชาวบ้านทั่วไปได้มากนัก อารยะ ปรีชาเมตตา อารยะ ปรีชาเมตตา
3
ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398)
5/21/2019 ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ ) “สมเด็จพระบรมธรรมิกราชา เป็นกษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่ขึ้นครองราชสมบัติในขณะที่บ้านเมืองกำลังประสบความคับแค้นทางการเงินและทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด ถึงแก่เกิดการจลาจลอลหม่านทั่วภาคกลางของเมืองไทย นอกจากนี้ ยังเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ต้องรับภาระหนักอึ้งหลายอย่างในเวลาพร้อมๆ กัน จะต้องขับไล่ข้าศึกออกไป ……. จะต้องเลี้ยงดูราษฎรซึ่งอดอยากหิวโหยให้อิ่มหนำสำราญ จะต้องหาเงินทองและทรัพย์สิ่งของต่างๆ เข้ามาเก็ฐรักษาในท้องพระคลังซึ่งว่างเปล่า จะต้องย้ายเมืองหลวงมาตั้งในที่แห่งใหม่ และจะต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่อยยับให้กลับคืนดีดังเก่า” (ชัย เรืองศิลป์ 2527, 4) อารยะ ปรีชาเมตตา อารยะ ปรีชาเมตตา
4
ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398)
5/21/2019 ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ ) เพราะฉะนั้น เป้าหมายหลักในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ก็คือ การสร้างราชวงศ์และอาณาจักรใหม่ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ในระยะยาว (จะทำได้โดยเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากความสามารถในการผลิตของบางพื้นที่เพื่อให้ได้ผลผลิตส่วนเกิน) อารยะ ปรีชาเมตตา อารยะ ปรีชาเมตตา
5
ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398)
5/21/2019 ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ ) นโยบายเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ค้าขายกับต่างประเทศ ในช่วงก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง) และระบบโครงสร้างปัจจัยเชิงสถาบันในช่วงเวลานั้น (ระบบการเมืองการปกครองแบบศักดินา ระบบการเช่าที่ดินซึ่งรัฐเป็นเจ้าที่ดินทั้งหมด ระบบการบังคับเกณฑ์แรงงาน ฯลฯ) จะส่งผลให้เกิดการก่อตัวของความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ได้ อารยะ ปรีชาเมตตา อารยะ ปรีชาเมตตา
6
ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398)
5/21/2019 ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ ) ความจำเป็นในเรื่องของการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวมขึ้นมาใหม่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (โดยเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้กลไกโครงสร้างปัจจัยเชิงสถาบันในขณะนั้นเพื่อให้สามารถทำการผลิตให้ได้ผลผลิตส่วนเกินจากบางพื้นที่) จึงน่าจะเป็นคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ได้ดีกว่า (ก) แนวคิดว่าด้วยการขูดรีดระหว่างชนชั้นเพียงอย่างเดียว หรือ (ข) แนวคิดว่าความเหลื่อมล้ำเกิดจากผลของสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง … มีผลให้เกิดนัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกันไป อารยะ ปรีชาเมตตา อารยะ ปรีชาเมตตา
7
คำถามนำทาง ในสังคมศักดินาสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระเจ้าแผ่นดินทรง
เป็นเจ้าของที่ดินทั้งประเทศ มีอำนาจทางการปกครองสูงสุด มีอำนาจผูกขาดการค้าขายกับต่างประเทศ ทำไมผู้ปกครองในสมัยนั้นจึงไม่เลือกวิธีการบังคับเกณฑ์แรงงาน*แบบเข้มงวด (คือให้ได้ใกล้เคียงกับ 12 เดือนต่อปี) แทนที่จะเป็น 6 เดือนต่อปี และลดลงไปเรื่อยๆ (* สันนิษฐานว่าราวร้อยละ 95 ของจำนวนพลเมืองทั้งประเทศเป็นชาวนา (ชัย 2527, 102)) อารยะ ปรีชาเมตตา
8
คำถามนำทาง ถ้าผู้ปกครองในสมัยนั้น เลือกวิธีการบังคับเกณฑ์แรงงานแบบเข้มงวด (คือให้ได้ใกล้เคียงกับ 12 เดือนต่อปี) ก็จะไม่เกิดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ เพราะแรงงานไพร่ส่วนใหญ่ ต่างก็จะผลิตได้แค่ ปริมาณลผลิตที่พอเลี้ยงชีพเหมือนกันหมดในแต่ละพื้นที่ ในทางตรงกันข้าม การบังคับเกณฑ์แรงงานแบบ 6 เดือนต่อปี (และลดลงรื่อยๆ ) จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างชาวนาในพื้นที่ต่างกันได้ อารยะ ปรีชาเมตตา
9
ขอบเขตการศึกษา พื้นที่เขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน อารยะ ปรีชาเมตตา
10
การค้าต่างประเทศในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
ในสมัยนี้เริ่มเกิดการค้าสินค้าที่มีมูลค่าไม่สูง แต่ต้องใช้ระวางบรรทุกมากได้ (ต้นทุนการขนส่งลดลง) ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของสยามที่มากกว่า ของป่าจากระบบส่วยจะรองรับได้ ชนชั้นนำของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ยกเลิกวิธีการที่ชนชั้นนำสมัยอยุธยาเคยใช้ขูดรีดพ่อค้าชาวต่างชาติ (เรียกเก็บผลประโยชน์ในรูปของอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ) แล้วหันไปใช้วิธีประกาศสินค้าต้องห้ามเพื่อป้องกันคู่แข่งทางการค้า การส่งออกเป็นแหล่งรายได้ของภาครัฐ สมัยรัชกาลที่ 3 มีสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษในปี พ.ศ เพื่อจำกัดการผูกขาดของพระคลังสินค้า จึงต้องหันมาพึ่งพารายได้จากการเก็บภาษีมากกว่ารายได้จากการส่งออก อารยะ ปรีชาเมตตา
11
เศรษฐกิจในประเทศ ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ
ชาวนาส่วนใหญ่อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ ชาวนาแบ่งผลผลิตออกเป็น 4 ส่วนคือ ไว้กินและทำบุญ ไว้เป็นค่านา ไว้ทำพันธุ์ และไว้แลกเป็นของกินของใช้ที่ตนเองผลิตไม่ได้ ชาวบ้านมักไม่ได้รับประโยชน์จากระบบการกระจายความเสี่ยงที่อิงกับตลาดสินทรัพย์และเงินตราในขณะนั้น เมื่อเกิดภัยพิบัติก็จะเป็นหนี้สิน อารยะ ปรีชาเมตตา
12
เศรษฐกิจในประเทศ ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
ส่วนใหญ่จะเป็นชาวนาในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน เมื่อรัฐได้รายได้จากการส่งออก จะทำให้มีรายได้ไปจ้างแรงงานชาวจีนอพยพเพิ่มขึ้น (ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ) ทำให้มีอุปสงค์ต่อข้าวภายในประเทศ ส่งผลให้ชาวนาเหล่านี้ได้รายได้เพิ่มขึ้น ชาวนาเหล่านี้จะสามารถป้องกันความเสี่ยงโดยอิงกับระบบตลาดได้ดีกว่า (เพราะมีการสะสมทรัพย์สินส่วนเกินได้มากกว่า) อารยะ ปรีชาเมตตา
13
จะอธิบายการรุกคืบของเศรษฐกิจตลาด ภายใต้สังคมเศรษฐกิจแบบยังชีพได้อย่างไร ?
อารยะ ปรีชาเมตตา
14
การคืบคลานเข้ามาของเศรษฐกิจตลาด
“เนื่องจากการผลิตข้าวเพื่อการตลาดทำกันในรูปที่แฝงอยู่กับการผลิตเพื่อยังชีพ การรวบรวมข้าวเหล่านี้เพื่อป้อนแหล่งชุมชนที่ไม่ผลิตข้าวเองจึงเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ง่ายนัก ข่ายของการค้าที่ครอบคลุมอาณาบริเวณอันกว้างขวางเพื่อรวบรวมข้าวที่เหลือจากการยังชีพนี้คงซับซ้อนพอสมควร ทั้งยังกระทำกันโดยการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรงด้วย การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างละเอียดยังไม่มี แต่พอจะรู้ถึงข่ายของการค้าเช่นนี้ได้จากหลักฐานในสมัยนั้นว่า มีชาวจีนอยู่ในระดับล่างสุดของข่ายการค้านี้ ระบาดไป "ตามทุ่งท่าและป่าเขา” นำเอาสินค้าจากต่างประเทศเช่นเครื่องถ้วยชามและของใช้เบ็ดเตล็ดจากเมืองจีน “ไปแลกข้าว ฝ้าย และผลผลิตอย่างอื่น ๆ จากจังหวัดต่าง ๆ ที่ตนผ่านไป” (ปาเลกัวซ์ 2506, 305)….. อารยะ ปรีชาเมตตา
15
การคืบคลานเข้ามาของเศรษฐกิจตลาด
ข้าวเหล่านี้จะถูกนำมาขายแก่พ่อค้าที่ใหญ่กว่าพ่อค้าเร่ซึ่งมีทุนพอจะบรรทุกข้าวจำนวนมากลงมาถึงกรุงเทพฯ ได้ และยังอาจจะต้องผ่านพ่อค้าในกรุงเทพฯ อีกกว่าจะถึงมือผู้บริโภคข้าวในกรุงเทพฯ หรือชุมชนแบบเดียวกันนี้ ในขณะที่ราคาข้าวในกรุงเทพฯ ไม่แพงนัก ทั้งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ราคาข้าวถูกเอาไว้ด้วยราคารับซื้อจากชาวนาซึ่งพ่อค้าเร่ชาวจีนจ่ายแก่ชาวนาจึงต้องมีราคาต่ำอย่างมาก สินค้าจากต่างประเทศดูเหมือนจะเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนที่ดี สำหรับการนี้เพราะชาวนาไม่รู้ราคาที่แท้จริงของมัน ทั้งยั่วยวนให้อยากได้ไว้ครอบครองเพราะความเป็นของต่างประเทศอีกด้วย” (นิธิ 2555, 125) อารยะ ปรีชาเมตตา
16
การคืบคลานเข้ามาของเศรษฐกิจตลาด
คำอธิบายของ อ.นิธิ ข้างต้นนั้น ดูเหมือนจะยังมีปัญหาข้อขัดแย้งในเชิงเหตุผลอยู่ เนื่องจากว่า (1) แม้พ่อค้าเร่ชาวจีนระดับล่างจะมีแรงจูงใจในเรื่องผลกำไร แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงใน การเก็บรวบรวมและขนย้ายข้าวปริมาณเล็กน้อยจากชาวนาที่อยู่อย่างกระจัดกระจาย ตามหมู่บ้าน ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพนัก และพ่อค้าเร่จีนน่าจะรู้ดี (2) การที่ชาวนาจะยอมแลกข้าวของตนกับสินค้าถ้วยชามจากต่างประเทศที่พ่อค้าเร่นำมา แลกโดยที่ตนเองไม่ทราบราคาตลาดของสิ่งของเหล่านั้นดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ สมเหตุสมผลนักที่ชาวนาเหล่านี้จะเก็บสะสมสินค้าเหล่านี้ไว้เป็นประจำในเมื่อตัวเองก็ ไม่ได้มีรายได้ที่เหลือกินเหลือใช้ (และมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นทาสสินไถ่) อารยะ ปรีชาเมตตา
17
คำอธิบายใหม่: การรุกคืบของเศรษฐกิจตลาดโดยการประสานผลประโยชน์ กับระบบอุปถัมภ์
1. ระบบอุปถัมภ์แบบไม่เป็นทางการ เกิดจากการที่ขุนนางซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ ยินดีรับชาวจีนอพยพเป็นผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์เพราะชาวจีนเหล่านี้จะร่ำรวย และสามารถเดินทางทำธุรกิจค้าขายจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่งได้โดยเสรีนั่นเอง (อคิน 2527, 192) 2. พ่อค้าจีนที่ร่ำรวยเหล่านี้สามารถใช้ความสัมพันธ์นี้เพื่อการหาข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับชาวนาซึ่งเป็นแรงงานไพร่ที่อยู่ใต้อุปถัมภ์ของขุนนาง ด้วยวิธีนี้ พ่อค้าจีนก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผลผลิตและจำนวนชาวนาที่ผลิตเพื่อการยังชีพในเมืองต่าง ๆ โดยผ่านขุนนางในเมืองนั้นๆ (และอยู่ในเครือข่ายอุปถัมภ์แบบไม่เป็นทางการกับขุนนางที่เป็นผู้อุปถัมภ์ของตนได้) อารยะ ปรีชาเมตตา
18
คำอธิบายใหม่: การรุกคืบของเศรษฐกิจตลาดโดยการประสานผลประโยชน์ กับระบบอุปถัมภ์
3. พ่อค้าชาวจีนเหล่านี้ก็จะใช้พ่อค้าเร่ชาวจีนจำนวนมากเป็นลูกมือทำหน้าที่คล้ายกับกองทัพมด เพื่อไปรวบรวมซื้อข้าวจากชาวนาที่ผลิตเพื่อยังชีพเหล่านี้มาให้กับพ่อค้าจีนอีกต่อหนึ่งได้ ซึ่งวิธีนี้ก็จะเป็นวิธีรวบรวมซื้อข้าวจากชาวนาที่ผลิตเพื่อการยังชีพและอยู่กระจัดกระจายตามหมู่บ้านรอบเมืองต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะมีต้นทุนทางธุรกรรมรวมที่ต่ำกว่าวิธีอื่นนั่นเอง ส่วนชาวนาที่ผลิตข้าวเพื่อการยังชีพและอาศัยอยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ก็จะได้ประโยชน์จากระบบการแลกเปลี่ยนซื้อขายข้าวของพ่อค้าชาวจีนที่ทำงานผ่านระบบอุปถัมภ์อย่างไม่เป็นทางการดังกล่าว อารยะ ปรีชาเมตตา
19
เส้นทางการไหลของเงินตราจากการค้าต่างประเทศ และการขยายตัวของ เศรษฐกิจตลาด: ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ผู้ปกครองรัฐที่ควบ คุมการส่งออก รายได้จาก การส่งออก ตลาดแรงงานรับจ้างที่เป็นชาวจีนอพยพ ชาวนาที่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนและผลิตเพื่อเศรษฐกิจแบบตลาด ชาวนาที่ผลิตเพื่อยังชีพและอยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน เครือข่ายพ่อค้าชาวจีน และ เครือ ข่ายอุปถัมภ์อย่างไม่เป็นทางการที่อยู่ในระบบราชการ อารยะ ปรีชาเมตตา
20
กลไกที่ทำให้ชาวนาผลิตข้าวได้มากจนเกิดผลผลิตส่วนเกิน
อารยะ ปรีชาเมตตา
21
แบบจำลอง สะท้อนปัญหาการตัดสินใจของผู้นำรัฐในการเลือกระหว่างนโยบายการบังคับเกณฑ์แรงงานแบบเต็มเวลา 12 เดือนต่อปี กับ นโยบายที่ยืดหยุ่นกว่า คือเกณฑ์แรงงานบางส่วนและให้ชาวนาเช่าที่นาและทำการผลิตเองจากอัตราค่าเช่าที่เจ้าที่ดินเป็นผู้กำหนด ปัญหาเชิงพลวัตของเจ้าที่ดินในระยะยาวคือ การวางแผนบริหารจัดการ (ที่ดิน และแรงงาน) ให้ ราชอาณาจักรสามารถผลิตข้าวส่วนเกินที่คาดหวังได้ให้มากที่สุด โดยมีทางเลือก 2 ทางได้แก่ อารยะ ปรีชาเมตตา
22
แบบจำลอง ใช้วิธีบังคับเกณฑ์แรงงานไพร่เต็มเวลา 12 เดือนต่อปีเพื่อมาทำงานในไร่นาแลอื่น ๆ ภายใต้การควบคุมดูแลของขุนนางตามลำดับชั้น และแบ่งปันผลผลิตที่ได้มาให้กับชาวนาแต่ละรายในปริมาณที่ใกล้เคียงกับความต้องการเพื่อยังชีพของชาวนาและครัวเรือน หรือ ให้ชาวนาตัดสินใจเช่านาโดยจ่ายค่าเช่านาคิดเป็นจำนวนข้าวต่อไร่ และรัฐมีการบังคับเกณฑ์แรงงานไพร่มาใช้เป็นบางเดือนในแต่ละปี โดยมีเงื่อนไขตามบริบทของสังคมขณะนั้นคือ: อารยะ ปรีชาเมตตา
23
แบบจำลอง ชาวนาอาจเลือกที่จะหนีเข้าป่า
ชาวนาอาจจะเฉื่อยงาน (moral hazard) ผลผลิตข้าวขึ้นกับดินฟ้าอากาศ เจ้าที่ดินไม่สามารถสังเกตเห็นระดับความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานที่แท้จริงของชาวนาได้โดยตรง เพราะมีต้นทุนในการติดตามตรวจสอบที่สูง เจ้าของนาฟางลอยนั้นเสียอากรตามเนื้อที่นาที่เก็บเกี่ยวได้ในปีหนึ่ง ๆ ไม่ได้เก็บตามเนื้อที่ในโฉนด (ชัย 2527, 104) อัตราค่าเช่านา แปรตามการเกิดภัยพิบัติ อารยะ ปรีชาเมตตา
24
ประพจน์ที่ 1 ระดับค่าที่เหมาะสมที่เจ้าที่ดินผู้ปกครองรัฐจะประกาศใช้เป็นอัตราค่าเช่านาสูงสุดและต่ำสุด โดยที่ผู้เช่านาจะมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเท่ากับ e* ได้หลายค่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ (1) อำนาจต่อรองของชาวนาเอง ซึ่งอำนาจกต่อรองนี้จะขึ้นอยู่กับสินทรัพย์หรือทุนออมเดิมที่ชาวนานั้นมีอยู่แล้ว (แทนด้วย w) และ (2) มูลค่าทางเลือกอื่นที่ชาวนามีอยู่ (แทนด้วย m) ตัวอย่างเช่น ทางเลือกในการหนีไปใช้ชีวิตในป่าหรือการหันไปทำอาชีพอื่นแทน เป็นต้น ซึ่งสามารถแสดงได้โดยรูปต่อไปนี้ อารยะ ปรีชาเมตตา
25
ประพจน์ที่ 1 อารยะ ปรีชาเมตตา
26
นัยต่อช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่
ชาวนาในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพต้องทำงานหลาย ๆ ประเภทด้วยตนเองเพื่อกระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของผลผลิตข้าวนั้น จะมีระดับความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน (e*) ในระดับต่ำสุด เนื่องจากมีผลรวมที่ได้จากการสะสมผลผลิตส่วนเกิน (w) และ/หรือ ค่าเสียโอกาสในการทำนา (m) ที่ค่อนข้างต่ำนั่นเอง ชาวนาที่อยู่เขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และมีผลรวมจาการสะสมผลผลิตส่วนเกิน (w) และค่าเสียโอกาสในการทำนา (m) ที่สูงกว่านั้น ก็จะมีระดับความตั้งใจทำการผลิต (e*) ที่สูงกว่า ซึ่งชาวนากลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากการที่ผู้นำรัฐดำเนินนโยบายแบบยืดหยุ่นในการบังคับเกณฑ์แรงงานและการคิดอัตราค่าเช่าที่นาที่ไม่สูงมาก อารยะ ปรีชาเมตตา
27
ประมาณการช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ (1)
“อัตราค่าจ้างแรงงานกรรมกรธรรมดาในเขตเมืองกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 2 นั้นจะเท่ากับประมาณวันละสลึงครึ่ง ซึ่งครอว์เฟิร์ดคาดว่าเป็นอัตราที่สูงเพราะจะสามารถซื้อข้าวเลี้ยงคนได้ถึง 18 คนในหนึ่งเดือน ในขณะที่ช่างไม้จะได้ค่าแรงวันละครึ่งบาท และอัตราค่าจ้างได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงรัชกาลที่ 3 ที่ค่าจ้างกรรมกรธรรมดาตกวันละ 4 เฟื้อง” (นิธิ 2555, 146) อารยะ ปรีชาเมตตา
28
ประมาณการช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ (1)
จากการคำนวณที่กำหนดให้รายได้ของชาวนาในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนซึ่งมีเศรษฐกิจแบบตลาดนั้น จะมีรายได้เฉลี่ยโดยประมาณที่ใกล้เคียงกับรายได้เฉลี่ยของกรรมกรรับจ้างทั่วไปที่ได้รับค่าจ้างที่มากพอเหลือเก็บได้ ส่วนชาวนาที่อยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนและอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพนั้น หากประมาณการโดยคร่าวๆ แล้วว่าแต่ละครัวเรือนมีสมาชิกเฉลี่ยประมาณ 6 ถึง 9 คนแล้ว เพราะฉะนั้น ระดับรายได้ที่เพียงพอแก่การยังชีพของชาวนาเหล่านี้หากคิดตามมูลค่าตลาดโดยเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานกรรมกรรับจ้างโดยทั่วไปในเมืองแล้ว ก็จะประมาณเท่ากับหนึ่งในสามส่วน (หรือ 6/18) ถึง หนึ่งในสองส่วน (หรือ 9/18) อารยะ ปรีชาเมตตา
29
ประมาณการช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ (1)
จากการคำนวณที่กำหนดให้รายได้ของชาวนาในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนซึ่งมีเศรษฐกิจแบบตลาดนั้น จะมีรายได้เฉลี่ยโดยประมาณที่ใกล้เคียงกับรายได้เฉลี่ยของกรรมกรรับจ้างทั่วไปที่ได้รับค่าจ้างที่มากพอเหลือเก็บได้ ส่วนชาวนาที่อยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนและอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพนั้น หากประมาณการโดยคร่าวๆ แล้วว่าแต่ละครัวเรือนมีสมาชิกเฉลี่ยประมาณ 6 ถึง 9 คนแล้ว เพราะฉะนั้น ระดับรายได้ที่เพียงพอแก่การยังชีพของชาวนาเหล่านี้หากคิดตามมูลค่าตลาดโดยเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานกรรมกรรับจ้างโดยทั่วไปในเมืองแล้ว ก็จะประมาณเท่ากับหนึ่งในสามส่วน (หรือ 6/18) ถึง หนึ่งในสองส่วน (หรือ 9/18) อารยะ ปรีชาเมตตา
30
ประมาณการช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ (2)
ในปี 2392 แมลล็อคได้ประมาณว่า พลเมืองสยามในเขตเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ได้ปลูกข้าวเอง แต่มีความต้องการบริโภคข้าวนั้นคิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 300,000 คน ถ้าข้าวส่วนเกินที่เก็บได้ส่วนใหญ่มาจากบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงแล้ว ก็จะต้องมีข้าวส่วนเกินจากพื้นที่นี้ประมาณ 100,000 เกวียน เนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวเฉลี่ยนั้นจะเท่ากับ 1/3 เกวียน/คน/ปี ดังนั้นข้าวส่วนเกินเหล่านี้จะต้องมาจากผลผลิตส่วนเกินของชาวนาผู้ถือครองที่ดินขนาดเล็กที่เฉลี่ยแล้วประมาณ 15 ไร่ต่อครัวเรือนและอยู่ในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง เพราะฉะนั้น ชาวนาเหล่านี้จะผลิตข้าวส่วนเกินได้ประมาณ 2.3 เกวียนต่อครอบครัว เพราะฉะนั้นชาวนาที่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน จะมีรายได้ที่แท้จริงสูงกว่าชาวนาที่อยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน คิดเป็น 1.46 เท่าตัวโดยประมาณ อารยะ ปรีชาเมตตา
31
บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
การศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในเชิงพื้นที่เมื่อต้นรัตนโกสินทร์นั้น เป็นผลมาจากความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระหว่าง (1) เป้าหมายของชนชั้นผู้ปกครองที่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีค่าเช่านาและอำนาจการบังคับเกณฑ์แรงงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารปกครองบ้านเมือง (2) เป้าหมายในการทำงานของชนชั้นชาวนาและแรงงานไพร่ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพและเศรษฐกิจแบบตลาดเพื่อให้ตนเองและครอบครัวสามารถมีวิถีชีวิตที่ดีและพ้นจากการเป็นหนี้สิน โดยมีทางเลือกและอำนาจต่อรองกับเจ้าที่ดินที่แตกต่างกันไป และ (3) เป้าหมายในการแสวงหากำไรของพ่อค้าคนกลางและพ่อค้าเร่รายย่อยชาวจีนที่ประสานผลประโยชน์กับระบบอุปถัมภ์ในสังคมยุคนั้น อารยะ ปรีชาเมตตา
32
บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ผลการศึกษานี้ได้นำไปสู่ข้อสรุปสำคัญที่ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ มีสาเหตุมาจากความจำเป็นของระบบเศรษฐกิจที่ต้องการให้บางพื้นที่สามารถผลิตผลผลิตส่วนเกินได้เพียงพอ ซึ่งแตกต่างจากสาเหตุของการขูดรีดกันทางชนชั้น เพราะ ในกรณีนี้ มีนัยว่า หากความเหลื่อมล้ำมีผลทางลบต่อการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ แล้ว กลุ่มชนชั้นนำ ก็จะมีผลประโยชน์ร่วมจากความพยายามในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่เช่นกัน อารยะ ปรีชาเมตตา
33
บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
อารยะ ปรีชาเมตตา
34
บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
มีประเด็นสำคัญ เช่น ประเด็นเรื่องการถ่ายโอนรายได้ระหว่างพื้นที่เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ประเด็นเรื่องผลกระทบจากการเปิดประเทศตามสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในสมัยรัชกาลที่สี่และนโยบายการรวมศูนย์อำนาจในสมัยรัชกาลที่ห้าที่มีต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ เป็นต้น อารยะ ปรีชาเมตตา
35
Thank You Make Presentation much more fun 5/21/2019 อารยะ ปรีชาเมตตา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.