ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยVerawati Hartanto ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย ศุภลักษณ์ พูลเกษม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีการเงิน เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ผู้วิจัย ศุภลักษณ์ พูลเกษม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
2
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการเรียนการสอนวิชาบัญชีการเงิน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส.2 สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 27 คน มีทักษะทางการเรียนรู้ และการเข้าใจบทเรียนไม่เท่ากัน บางคนใช้เวลาในการเรียนรู้มากกว่าคนอื่น และจากการทดสอบความรู้ มีผู้สอบไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 26 ทำให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ จึงได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน ที่ยังเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ เอสทีเอดี (STAD) student Teams Achievement Division ของสลาวิน เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียน มีคนเก่ง ปานกลาง และคนอ่อน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรม กลุ่มร่วมมือ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการเรียนรู้แบบกลุ่ม ร่วมมือ STAD วิชาบัญชีการเงินเรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อสินค้า สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการ บัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูงปีที่2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ที่มีต่อการ เรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD
4
การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรต้น การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ตัวแปรตาม 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียน ความพึงพอใจของผู้เรียน
5
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี จำนวน 27 คน กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน คน
6
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD วิชาบัญชีการเงิน เรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้าสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี 2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD วิชาบัญชีการเงิน เรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้าสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
7
การเก็บข้อมูล การสร้างและหาคุณภาพใช้เครื่องมือในการวิจัย 1. วิเคราะห์เนื้อหาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบทเรียน 2.นำเนื้อหาให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบความถูกต้องและความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด3 ท่าน 3. ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD จากแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นเรื่อง ย่อย ๆ ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 4 . เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน ใบงาน แบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน 5.นำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD ที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและความครบถ้วนของเนื้อหาบทเรียนและนำมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
8
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
การวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD ตามเกณฑ์ 75/75 การทดสอบ N จำนวนข้อสอบ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพที่ได้ (E1/E2) ความหมาย แบบทดสอบระหว่างเรียน (E1) 27 20 15.44 77.20 77.20/81.45 สูงกว่าเกณฑ์ แบบทดสอบหลังเรียน (E2) 16.29 81.45 แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD มีค่า 77.20/81.45 หมายความว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการเรียน (E1) ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ มีค่าเท่ากับ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD วิชาบัญชีการเงินเรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
9
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ STAD คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่าง N Mean S.D. ผลต่างค่าเฉลี่ย t df Sig1tailed คะแนนเต็ม ก่อนเรียน 27 12.88 1.55 3.41 -8.916 26 0.000* 20 คะแนน หลังเรียน 16.29 1.46 พบว่า การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มของผู้เรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ คะแนนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย คะแนน เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีความแตกต่างกัน 3.41 คะแนน จากการทดสอบสถิติ t พบว่าค่าเฉลี่ยระหว่างผู้เรียนหลังเรียนกับก่อนเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
10
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ (ต่อ)
ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้วิชาบัญชีการเงิน เรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีโดยการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ STAD พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับคือ 1)การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นใน การเรียนมากขึ้น = )เนื้อหาในกิจกรรมที่ร่วมกัน มีความเหมาะสมและใช้เวลาไม่มากไม่น้อยเกินไป = 4.60 และ 3) ผู้เรียนมีโอกาสอ่าน เขียน และวิเคราะห์สิ่งใหม่ ๆร่วมกันตลอดเวลา = 4.60)
11
สรุปผลการวิจัย 1.มีแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาบัญชีการเงิน เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้าสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ระยะเวลาการเรียนรู้ 3 สัปดาห์ 2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาบัญชีการเงิน เรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้าสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD มีค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยมีค่าเท่ากับ หรือคิดเป็นร้อยละ47.91 แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.91
12
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 3. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาบัญชีการเงิน เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้าสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD มีประสิทธิภาพ 77.20/81.45 แสดงว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 4. ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาบัญชีการเงิน เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้าสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
13
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 5. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้วิชาบัญชีการเงิน เรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีโดยการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ STAD มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความกระตือรือร้น ได้อ่าน เขียน และวิเคราะห์สิ่งใหม่ ๆ ร่วมกับเพื่อนตลอดเวลา ดังนั้น แผนการจัดการเรียนรู้วิชาบัญชีการเงิน เรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า โดยการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ STAD มีคุณภาพและมีประสิทธิผลเมื่อนำไปใช้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
14
ข้อเสนอแนะ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้ค้นคว้าพัฒนาขึ้นทำให้นักศึกษาสาขาการบัญชีมีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้นจากการเรียนรู้ในกลุ่มเพื่อน มีความสามัคคี และเกิดความห่วงใยต่อกันมากขึ้นควรนำไปใช้กับวิชาอื่นได้ 2. การจัดกลุ่มนักศึกษาให้ คละความสามารถอย่างชัดเจนตามสาระการเรียนรู้ที่ สอนเพื่อให้สมาชิกเกิดพฤติกรรมกลุ่มร่วมมือในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการเรียนการสอน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.