งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย
เอกสารประกอบการฝึกอบรม เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย อ.เฉลิมพล ทัพซ้าย อ.เฉลิมพล ทัพซ้าย

2 ข้อเสนอโครงการพิเศษ(Project)
1.ความสำคัญและที่มาของหัวข้อโครงการพิเศษ (เขียนโดยสรุป) 2.วัตถุประสงค์ของโครงการพิเศษ (ระบุให้ชัดเจนเป็นข้อๆ) 3.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4.ทฤษฎีและหลักการ 5.ขอบเขตของการทำโครงการพิเศษ 6.วิธีการวิจัย/โครงการพิเศษ (Methodotogy) 7.แผนการดำเนินงาน 8.อุปกรณ์ และสถานที่ทำการวิจัย 9.เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

3 1. ความสำคัญและที่มาของหัวข้อโครงการพิเศษ
เขียนโดยสรุป ไม่ต้องยาวมาก เพื่อบรรยายให้เห็นว่า อะไรเป็นแรงจูงใจให้สนใจทำโครงงานนี้ เช่น ปัญหาที่มีอยู่ หรือแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น โครงงานนี้สำคัญอย่างไร ทำแล้วจะเกิดประโยชน์อะไร

4 ระบุให้ชัดเจนเป็นข้อๆว่า ต้องการให้เกิดอะไรขึ้น เช่น
2. วัตถุประสงค์ ระบุให้ชัดเจนเป็นข้อๆว่า ต้องการให้เกิดอะไรขึ้น เช่น เพื่อสร้างโปรแกรมสื่อการสอน เพื่อออกแบบระบบงาน เพื่อสร้างเว็บไซท์ เพื่อสร้างเครื่องมือ เพื่อให้เกิด

5 3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ระบุให้ชัดเจนเป็นข้อๆว่า เมื่อโครงงานเสร็จสิ้นจะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นบ้าง เช่น (มีสื่อการสอน ที่ช่วย)เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน.... (มีระบบงาน ที่มีประสิทธิภาพและ)แก้ปัญหา..... (มีเว็บไซท์ ที่)ช่วยให้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (มีเครื่องมือ ที่)ทำให้ ดียิ่งขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย /ลด เกิด ขึ้น

6 4. ทฤษฎีและหลักการ ต้องไปค้นคว้าแหล่งข้อมูลและหลักทฤษฎีต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง หรือต้องใช้ในการดำเนินโครงงาน โดย ต้องได้มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ต้องอ่านให้เข้าใจแล้วเขียนสรุปเฉพาะใจความสำคัญส่วนที่เกี่ยวกับโครงงาน กรณีที่เป็นคำนิยามหรือคำจำกัดความที่ไม่ยาวมากนัก อาจลอกมาเลยก็ได้ ไม่เป็นข้อมูลหรือทฤษฎีที่ล้าสมัย ต้องเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมตามรูปแบบที่ถูกต้อง

7 5. ขอบเขตของการทำโครงการพิเศษ
เขียนบรรยายเพื่อระบุขอบเขตในเรื่องต่อไปนี้ ประชากร ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นใคร มีจำนวนเท่าใด ตัวแปรที่ต้องการศึกษา มีอะไรบ้าง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

8 6. วิธีการวิจัย/โครงการพิเศษ (Methodotogy)
อธิบายให้ชัดเจนในเรื่องต่อไปนี้ สมมุติฐานของการวิจัย กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย(ประชากร,กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง) เครื่องมือและการตรวจคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ ระเบียบวิธีวิจัย(อธิบายลักษณะของงานวิจัย ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ รวมทั้งการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล)

9 ระบุให้ชัดเจนถึงสิ่งต่อไปนี้ ระยะเวลาดำเนินโครงงาน(กี่ปี/เดือน/วัน)
7. แผนการดำเนินงาน ระบุให้ชัดเจนถึงสิ่งต่อไปนี้ ระยะเวลาดำเนินโครงงาน(กี่ปี/เดือน/วัน) วันเริ่มต้นดำเนินโครงงาน วันสิ้นสุดการดำเนินโครงงาน แสดงวันเวลาที่จะดำเนินการแต่ละขั้นตอน นิยมแสดงในรูปแบบตาราง

10 8. อุปกรณ์ และสถานที่ทำการวิจัย
อธิบายถึงลักษณะและรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ ระบุสถานที่ที่ทำการวิจัยให้ชัดเจน

11 9. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
ต้องเขียนอ้างอิงข้อมูลและทฤษฎีแต่ละส่วนที่ค้นคว้ามา แล้วจึงมารวบรวมเขียนเป็นบรรณานุกรมในตอนท้าย

12 ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้
เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์(Edward Thorndike, ) กล่าวถึงรูปแบบการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก(Trial-and-Error Learning) ว่าการเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลองถูกในลักษณะต่างๆไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเมื่อพบคำตอบที่ถูกต้อง การตอบสนองในลักษณะอื่นๆที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องจะถูกกำจัดทิ้งไป

13 ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้
ลันดิน(Lundin, W. Robert, 1996: 144) ได้สรุปกฎและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังนี้ 1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ดี หากผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 2. กฎแห่งการฝึก (Law of Excercise) การใช้งานหรือการฝึกฝนบ่อยๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น 3. กฎแห่งผลกระทบ (Law of Effect) เมื่อผู้เรียนได้รับผลกระทบจากสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกพึงพอใจ จะทำให้ผู้เรียนต้องการที่จะเรียนรู้ต่อไป ในทางตรงข้ามหากผู้เรียนได้รับผลกระทบจากสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกไม่พึงพอใจ จะทำให้ผู้เรียนพยายามเลิกออกจากการเรียนรู้นั้น

14 ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้
ทิศนา แขมมณี(2553: , ) กล่าวถึง แนวคิดเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ว่า ครูจะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มิใช่มุ่งเน้นเพียงการถ่ายทอดความรู้เท่านั้น โดยได้เสนอรูปแบบการจัดเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดลซิปปา(CIPPA Model) ที่ประกอบด้วยแนวความคิด 5 ด้าน ได้แก่ 1) แนวคิดการสร้างความรู้ 2) แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ 4) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ 5) แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ ซึ่งนอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองแล้ว ผู้เรียนยังต้องพึ่งการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมทั้งต้องอาศัยทักษะกระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปด้วยดีอย่างต่อเนื่องด้วย

15 ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้
สมบูรณ์ ตันยะ(2545 : 110 – 112) กล่าวถึง ความสำคัญของคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลทางการศึกษาว่า ผลการประเมินจะถูกต้องมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสำคัญ ถ้าเครื่องมือมีคุณภาพดีผลการวัดหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อใช้ในการประเมินก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ด้วย

16 ตัวอย่างการบรรณานุกรม
1. ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน, 2541 2. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน(พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 3. สมบูรณ์ ตันยะ. การประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2545. 4. Bloom, S. Benjamin, Hastings Thomas J., Madaus F. Georgr. Handbook on Formative and sSummative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill, 1971 5. Lundin, W. Robert. Theories and Systems of Psychology(5th ed.). D.C. Heath and Company. 1996


ดาวน์โหลด ppt เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google