ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยともなり たけくま ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
(ร่าง) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สู่ความเป็นเลิศ (Promotion and Prevention Excellence)
2
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579
หลักการ (1) ในอนาคต 20 ปีข้างหน้า... สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลากหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างมาก สภาพของสังคมที่เปลี่ยนไป เป็นปัจจัยกำหนดการเปลี่ยนแปลงของปัญหาและความรุนแรงของภัยสุขภาพต่างๆ เป็นการยากที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งจะรับผิดชอบงานสาธารณสุขได้อย่างได้ผล วิถีชีวิตของประชาชนโลก จะเป็นไปอย่างไร้พรมแดน มีการติดต่อสื่อสารกันโดยไร้ขีดจำกัด เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและลบต่อปัญหาสุขภาพและการตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าว
3
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579
หลักการ (2) ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเป็นอุปสรรคสำคัญในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้การตอบสนองด้านสุขภาพตามไม่ทัน อย่างไรก็ตาม งานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ก็จะต้องเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประเทศ เพราะการลดภาวะเจ็บป่วยของประชาชนอย่างได้ผลอยู่ที่ความสำเร็จของงาน P&P ซึ่งต้องมีการปฏิรูปงานให้เป็นภาระหน้าที่ของประชาชนทุกคน รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชนระดับท้องถิ่น จะต้องมีการดำเนินนโยบาย Health in All Policy ให้ได้ผล โดยให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร มีนโยบายที่ห่วงใยสุขภาพของประชาชน
4
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579
หลักการ (3) ความสำเร็จของงานขึ้นกับการแสดงบทบาทของหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การกำหนดนโยบายและดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นบทบาทของ สปสช. การสร้างกระแสขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพดำเนินการโดย สสส. การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์กลุ่มต่างๆ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนเป็นบทบาทของภาคการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) การสร้างเสริมสุขภาพเป็นบทบาทของประชาชนทุกคน และทุกครอบครัว
5
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579
ก. วิสัยทัศน์ (Vision) “ประชาชนมีสุขภาพดี มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 85 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 75 ปี อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะและมีความสุข ภายในปี 2579 ” ข. พันธกิจ (Mission) พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อให้เกิดสุขภาวะ
6
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579
ค. เป้าประสงค์ (Goals) ทุกครอบครัวดำรงชีวิตอยู่ในสังคมไทยได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อการมีสุขภาวะผ่านการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนปราศจากโรคและภัยสุขภาพด้วยการจัดบริการในทุกระดับซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ประชาชนได้รับการปกป้องสุขภาพด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยคุ้มครอง ด้วยมาตรการเชิงนโยบาย กฎหมาย สังคมและสวัสดิการ อย่างมีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมทุกแห่งได้รับการพัฒนาให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนทุกคน
7
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579
ค. วัตถุประสงค์ (Objectives) จัดระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยโดยเน้นความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้มีความรอบรู้เรื่องสุขภาพ เพิ่มความเข้มแข็งของการจัดบริการป้องกันโรคและลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยคุ้มครองสุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม มีการขับเคลื่อนและผลักดันมาตรการ ทางกฎหมาย ทางสังคมและสวัสดิการ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยคุ้มครองสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ มีการปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมทุกแห่งเพื่อให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนทุกคน
8
ทิศทางของยุทธศาสตร์ (Strategic Directions) เพื่อความเป็นเลิศ (1)
มุ่งเน้นเรื่องความเป็นธรรม ลดความเลื่อมล้ำในสังคม และปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน มุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อนำไปสู่ครอบครัวมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง และสังคมยั่งยืน สอดคล้องกับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ และกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ผ่านการขับเคลื่อนระบบประชารัฐ มุ่งเน้นกระบวนการนำยุทธ์ศาสตร์ไปแปลงเป็นโครงการอย่างความสอดคล้องกับบริบทที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based) มุ่งเป้าทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยยึดหลักการตามกฎบัตรออตตาวา และเป็นไปตามแนว PIRAB (Partnership-Invest-Regulate-Advocate-Build capacity) ของกฎบัตรกรุงเทพฯ
9
ทิศทางของยุทธศาสตร์ (Strategic Directions) เพื่อความเป็นเลิศ (2)
มีกระบวนการที่สร้างข้อตกลงให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพของคนในสังคม (Health in All Policy) เพื่อให้เกิดสังคมแห่งความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy society) รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมพลังอำนาจของประชาชนในทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดข้อตกลงในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการมีสุขภาพดี มุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพบริการ รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการสร้างเสริมการมีสุขภาพและป้องกันโรค
10
แผนงานที่ 1: พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มวัย
(ร่าง) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ แผนงานที่ 1: พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มวัย แผนงานที่ 2: การป้องกันและควบคุมโรคและภัยสุขภาพ แผนงานที่ 3: การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เพิ่มปัจจัยคุ้มครองสุขภาพ ด้วยมาตรการทางกฎหมาย หรือมิติทางสังคม แผนงานที่ 4: การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ
11
แผนงานที่ 1: พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มวัย
โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าจะมีสถานะต่างกันอย่างไรได้รับโอกาสในการพัฒนาไปถึงขีดสูงสุดของศักยภาพที่มีอยู่ ก. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเตรียมพร้อมก่อนคลอด ข. ทารกแรกคลอดและเด็กปฐมวัยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ค. เด็กไทยมีพัฒนาการด้านสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ให้สมวัยของเด็กและในประชาชนทุกกลุ่ม 2. โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น 3. โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน 4. โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยผู้สูงอายุ 5. โครงการพัฒนาสุขภาวะครอบครัว
12
แผนงานที่ 2: การป้องกันและควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
โครงการพัฒนาระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและภัยสุขภาพ โครงการควบคุมโรคติดต่อ โครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อและภัยสุขภาพ
13
แผนงานที่ 3: การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เพิ่มปัจจัยคุ้มครองสุขภาพ ด้วยมาตรการทางกฎหมาย หรือมิติทางสังคม โครงการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและสร้างปัจจัยคุ้มครองด้านสุขภาพ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ รวมถึงการส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหาร
14
แผนงานที่ 4: การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ
โครงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในเขตเมือง
15
กลไกการขับเคลื่อนงาน การควบคุมกำกับและประเมินผล (1)
กำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติและระดับอื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ส่งเสริมบทบาทขององค์กรนอกภาคสาธารณสุขในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (health-in-all policy) ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรจากท้องถิ่นและภาคเอกชน
16
กลไกการขับเคลื่อนงาน การควบคุมกำกับและประเมินผล (2)
พัฒนาและส่งเสริมการใช้มาตรการทางกฎหมาย ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารให้มีความครอบคลุมและมีการนำไปใช้ในการพัฒนานโยบาย ตลอดจนส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย จัดระบบพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการดำเนินการและประสานงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมถึงการประเมินศักยภาพบุคลากร สนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการควบคุมป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพรวมถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย พัฒนามาตรการและควบคุมกำกับงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
17
การควบคุมกำกับ และประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
การนิเทศติดตามความก้าวหน้าของงานเพื่อให้หน่ายงานที่รับการนิเทศได้เห็นว่า งานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดเป็นงานสำคัญ และจำเป็นต้องดำเนินการให้ได้ผล การมีระบบรายงานที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ใช้ระบบรายงานเป็นการติดตามความก้าวหน้าของงาน และนำเสนอผลงานสู่การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ในระดับท้องที่ ระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับชาติ
18
ตัวชี้วัดของงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
กำหนดให้มีตัวชี้วัดที่จำกัด ไม่ให้มีมากจนเกินไป พิจารณาตัวชี้วัดที่ดำเนินการอยู่แล้วในระบบสุขภาพ และดำเนินการปรับปรุงคัดเลือกโดยผ่านกระบวนการพิจารณาว่า สมควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร ตัวชี้วัดใดที่เหมาะสมกับการบ่งชี้ว่า ประเทศชาติสามารถบรรลุเป้าหมาย Thailand 4.0 ได้เพียงใด ควรพิจารณาเพิ่มตัวชี้วัดใหม่ๆ ที่เป็นข้อตกลงในระดับนานาชาติ ซึ่งได้แก่ ตัวชี้วัดของการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (9 global NCD targets) และตัวชี้วัดด้านสุขภาพของ Sustainable Development Goals
19
ตัวอย่างตัวชี้วัดของงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
อัตราส่วนการตายมารดาไทยไม่เกิน 15 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละของเด็กวัยเรียน สูงดีสมส่วน ร้อยละของเด็กกลุ่มอายุ 0-12 ปี ฟันดีไม่มีผุ (cavity free) ร้อยละของการตั้งครรภ์ในหญิงอายุ ปี ร้อยละของตำบลที่มีระบบส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสและการดูแลระยะยาวในชุมชน (long term care) ผ่านเกณฑ์ ร้อยละของจังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD risk) อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อัตราการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางถนน ร้อยละของผลิตภัณฑ์อาหารสดและอาหารแปรรูปมีความปลอดภัย ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดที่หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน หลังจำหน่ายจากการบำบัดรักษาตามเกณฑ์กำหนด ร้อยละของสถานพยาบาลและสถานประกอบการเพื่อสุขภาพได้รับการตรวจสอบมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละของโรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์
20
ขอบคุณครับ ข้อมูลเพิ่มเติม:
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.