งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 7

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 7"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 7
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 7 อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข

2 7. การจัดการอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
7.1 การดำเนินโครงการอาคารศูนย์สารสนเทศ 7.2 การจัดพื้นที่ภายในอาคาร 7.3 การตกแต่งอาคาร 7.4 ระบบสาธารณูปโภค 7.5 การป้องกันภัยพิบัติ

3 7.1 การดำเนินโครงการอาคารศูนย์ สารสนเทศ
7.1 การดำเนินโครงการอาคารศูนย์ สารสนเทศ 7.1.1 ขั้นตอนการดำเนินโครงการอาคารศูนย์สารสนเทศ 7.1.2 ผู้รับผิดชอบโครงการอาคารศูนย์สารสนเทศ

4 7.1.1 ขั้นตอนการดำเนินโครงการอาคารศูนย์สารสนเทศ
1) การกำหนดแนวคิดของโครงการ 2) การวางแนวคิดและการออกแบบโครงการอย่างละเอียด 3) การจัดทำเอกสารทางด้านเทคนิค

5 7.1.1 ขั้นตอนการดำเนินโครงการอาคารศูนย์สารสนเทศ (ต่อ)
4) การก่อสร้าง 5) การประเมินโครงการ

6 1) การกำหนดแนวคิดของโครงการ
กำหนดรูปแบบและวัตถุประสงค์ของโครงการว่าอาคารศูนย์สารสนเทศนี้จะให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายใดเป็นหลัก (เฉพาะบุคลากรภายใน หรือรวมบุคคลภายนอก เป็นอาคารประหยัดพลังงาน เป็นอาคารสัญญลักษณ์)

7 1) การกำหนดแนวคิดของโครงการ (ต่อ)
เป็นอาคารที่จัดสร้างขึ้นใหม่เป็นเอกเทศ เป็นอาคารที่ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการใช้งานจากอาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอยอื่นมาเป็นอาคารศูนย์สารสนเทศ เป็นการขยายพื้นที่ของอาคารศูนย์สารสนเทศ

8 2) การวางแนวคิดและการออกแบบโครงการอย่างละเอียด
ศึกษารายละเอียดความต้องการ (Functional Requirement) ออกแบบอาคาร (แบบร่าง) พร้อมประมาณการราคาก่อสร้าง พัฒนาแบบร่างเป็นแบบรายละเอียด

9 3) การจัดทำเอกสารทางด้านเทคนิค
จัดทำแบบรูป (Drawings) และรายการละเอียด (Specifications) จัดทำรายการปริมาณวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้าง (Bill of Quantities - BOQ) ประกวดราคา

10 4) การก่อสร้าง กำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาแล้วเสร็จของการก่อสร้างอาคาร
ติดตั้งครุภัณฑ์และอุปกรณ์ประกอบอาคาร

11 5) การประเมินโครงการ ตรวจสอบคุณภาพของอาคารและวัสดุอุปกรณ์

12 7.1.2 ผู้รับผิดชอบโครงการอาคารศูนย์สารสนเทศ
1) กลุ่มผู้ออกแบบ ได้แก่ สถาปนิก วิศวกร 2) นักสารสนเทศ ให้ข้อมูลทางเทคนิควิชาชีพ 3) ผู้ประมาณราคา (มทส - ส่วนอาคารสถานที่) 4) ที่ปรึกษาพิเศษเฉพาะด้าน (ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบปรับอากาศ ระบบ LAN ฯ)

13 7.1.2 ผู้รับผิดชอบโครงการอาคารศูนย์สารสนเทศ (ต่อ)
5) ผู้ควบคุมงานหรือโฟร์แมน - ควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบรูปที่สถาปนิกจัดทำไว้

14 7.2 การจัดพื้นที่ภายในอาคาร
7.2.1 ส่วนองค์ประกอบหลัก (Main Function Zone) เป็นส่วนที่ให้บริการทั่วไปแก่ผู้ใช้งานภายนอก เน้นการเข้าถึงได้ง่ายและเห็นได้ชัดเจน เช่น ส่วนบริการช่วยการค้นคว้า OPAC บริเวณอ่านหนังสือ ส่วนอ่านหนังสือพิมพ์และวารสาร ส่วนเก็บทรัพยากรสารสนเทศ

15 7.2 การจัดพื้นที่ภายในอาคาร (ต่อ)
7.2.2 ส่วนองค์ประกอบรอง (Sub Function Zone) แบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก คือ ส่วนคอมพิวเตอร์ โสตทัศนูปกรณ์และส่วนกิจกรรม ได้แก่ส่วนห้องประชุมและนิทรรศการ

16 7.2 การจัดพื้นที่ภายในอาคาร (ต่อ)
7.2.3 ส่วนสนับสนุน (Supporting Function Zone) เป็นส่วนส่งเสริมให้อาคารมีความสมบูรณ์ ผู้ใช้อาคารได้รับความสะดวก เช่น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านหนังสือ ร้านเครื่องเขียน ร้านสะดวกซื้อ

17 7.2 การจัดพื้นที่ภายในอาคาร (ต่อ)
7.2.4 ส่วนสาธารณะ (Public Zone) เป็นส่วนที่ผู้เข้ามาใช้งานของศูนย์สารสนเทศจะต้องผ่านก่อนแยกไปส่วนต่างๆ ของอาคาร ได้แก่ โถงทางเข้า จุดพักคอย และส่วนบริการอื่น เช่น จุดโทรศัพท์ ห้องสุขา

18 7.2 การจัดพื้นที่ภายในอาคาร (ต่อ)
7.2.5 ส่วนบริหาร (Administration Zone) เป็นส่วนของบุคลากรภายในศูนย์สารสนเทศ อาจประกอบด้วย ห้องผู้บริหาร ห้องทำงานของฝ่ายต่างๆ

19 7.2 การจัดพื้นที่ภายในอาคาร (ต่อ)
7.2.6 ส่วนบริการ (Service Zone) เป็นส่วนบริการและดูแลความเรียบร้อยของอาคาร เช่น ห้องเครื่องระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ห้องพนักงานรักษาความสะอาด ห้องพนักงานรักษาความปลอดภัย

20 7.3 การตกแต่งอาคาร 7.3.1 การใช้สี 7.3.2 การใช้ป้ายสัญญลักษณ์
7.3.3 งานด้านภูมิทัศน์

21 7.3.1 การใช้สี การเลือกใช้สีที่เหมาะสมมีส่วนในการดึงดูดให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานในอาคารมีความพึงพอใจและนั่งอ่านหนังสือหรือค้นคว้าได้เป็นเวลานาน

22 7.3.1 การใช้สี (ต่อ) สีแต่ละสีจะสร้างความรู้สึกและอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป สีร้อน ได้แก่ กลุ่มสีแดง สีส้มและสีเหลือง สีเย็นได้แก่ สีน้ำเงิน สีม่วงและสีเขียว

23 7.3.1 การใช้สี (ต่อ) โถงต้อนรับควรใช้สีสว่างสดใส เคาท์เตอร์ควรใช้สีที่สุขุมและสงบ หลีกเลี่ยงการทาสีผนังหลายสีในห้องเดียวกัน ฝ้าเพดานควรทาด้วยสีอ่อนเพื่อสร้างความรู้สึกให้ห้องดูโล่ง

24 7.3.2 การใช้ป้ายสัญลักษณ์ ครอบคลุมป้ายบอกผังบริเวณอาคาร สัญลักษณ์ที่ติดตั้งตามตำแหน่งต่างๆ และจุดให้ข้อมูลต่างๆ ควรได้รับการออกแบบให้เป็นรูปแบบเดียวกัน การกำหนดบริเวณติดตั้งป้ายควรได้รับการวางแผนในขั้นตอนการออกแบบภายใน

25 7.3.3 งานด้านภูมิทัศน์ 1) การใช้ต้นไม้ตกแต่งภายใน
2) การใช้ต้นไม้เป็นองค์ประกอบสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร

26 1) การใช้ต้นไม้ตกแต่งภายใน
จัดวางต้นไม้ในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น โถงพักคอย ไม่ใช้ต้นไม้มากเกินไป เลือกต้นไม้ประเภทที่ดูแลรักษาง่าย

27 2) การใช้ต้นไม้เป็นองค์ประกอบสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร
การจัดภูมิทัศน์รอบอาคารช่วยส่งเสริมให้อาคารมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมากยิ่งขึ้น ควรใช้นักวิชาชีพภูมิสถาปัตย์โดยตรง ควรใช้ต้นไม้ท้องถิ่นที่อาคารตั้งอยู่ ทำให้ดูแลรักษาง่ายและเจริญเติบโตเร็ว

28 7.4 ระบบสาธารณูปโภค 1) การปรับอากาศและการระบายอากาศ
2) แสงสว่างและเสียง

29 1) การปรับอากาศและการระบายอากาศ
การระบายอากาศที่ดีช่วยรักษาสภาพหนังสือให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น พื้นที่อ่านหนังสือควรจัดให้มีอากาศไหลผ่านเพื่อสร้างสภาวะน่าสบายแก่ผู้ใช้

30 1) การปรับอากาศและการระบายอากาศ (ต่อ)
ควรควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในอาคารให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม (ติดตั้งเครื่องปรับระดับความชื้น) กำหนดพื้นที่ที่ต้องการระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศเป็นพิเศษ เช่น ห้องเก็บโสตทัศนวัสดุ และห้องหนังสือหายาก เป็นต้น

31 2) แสงสว่างและเสียง บริเวณที่อ่านหนังสือต้องจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
บางพื้นที่อาจกำหนดรูปแบบของแสงสว่างเพื่อสร้างจุดดึงดูดให้น่าเข้าไปใช้งาน หรือ เกิดสมาธิในการอ่าน

32 2) แสงสว่างและเสียง (ต่อ)
แสงสว่างที่มีความเข้มมากเกินไปอาจทำให้เอกสารที่เก็บไว้บนชั้นนานๆ เสียหายและตัวหนังสืออาจจางและเลือนหายไป หน้าต่างที่หันเข้าทิศตะวันตก ควรติดตั้งม่านบังแดด หรือ แผงกันแดด

33 7.5 การป้องกันภัยพิบัติ ภัยจากมนุษย์ ภัยจากธรรมชาติ
ดำเนินการในขั้นออกแบบอาคาร กำหนดแนวปฏิบัติที่สำคัญ กำหนดระเบียบที่เกี่ยวข้อง

34 การจัดการระบบรักษาความปลอดภัย
จัดให้มีจุดรับฝากของก่อนเข้าภายในส่วนค้นคว้า จัดให้มีจุดควบคุมและตรวจสอบบริเวณทางเข้า-ออก เพื่อตรวจสอบการนำทรัพยากรสารสนเทศออกโดยไม่ได้รับอนุญาต

35 การจัดการระบบรักษาความปลอดภัย
ติดตั้งระบบสัญญาณกันขโมย ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด เลือกใช้วัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่งที่ช่วยป้องกันอันตรายจากเหตุเพลิงไหม้ ติดตั้งเครื่องตรวจจับความร้อนและเครื่องตรวจจับควัน

36 การจัดการระบบรักษาความปลอดภัย
ควรศึกษาทิศทางลม แดดและฝนในขั้นการเริ่มต้นออกแบบ ออกแบบอาคารให้มีกันสาด ป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์ต่างๆ

37 การจัดการระบบรักษาความปลอดภัย
มีระบบป้องกันความเสียหายจากการใช้สารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


ดาวน์โหลด ppt การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 7

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google