ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
APD205 หลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
2
บทเรียนที่ 4 แนวคิด ความหมาย และความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
บทเรียนที่ 4 แนวคิด ความหมาย และความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
3
ความหมายของคำที่ใกล้เคียง และเกี่ยวข้องกับประชาสัมพันธ์
4
การเผยแพร่ (Publicity)
หมายถึง การกระจายข่าวสารต่างๆ ของหน่วยงานไปสู่กลุ่มประชาชน กิจกรรมสาธารณะ (Public Affairs) หมายถึง กิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ หรือเกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป
5
การสารนิเทศ (Information)
หมายถึง การให้บริการข่าวสารหรือข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่ประชาชน หรือผู้ที่มาติดต่อเกี่ยวข้องด้วย
6
ตัวอย่าง กกต. โคราช จัดบรรยายเชิงวิชาการ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญกับการปกครอง และการออกเสียงประชามติ
7
ตัวอย่างกิจกรรมสาธารณะ
8
สำนักงานเผยแพร่ (Press Agency)
หมายถึงการเป็นตัวแทนเผยแพร่ข่าวให้แก่หน่วยงานต่างๆ หน่วยติดต่อ-สอบถาม (Enquiry) หมายถึง งานส่วนย่อยส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ประชาสนเทศ (Public Information Officer) หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการให้บริการข่าวสารข้อมูลแก่ประชาชนทั่วไป
9
เจ้าหน้าที่ กิจกรรมสาธารณะหรือกิจกรรมสังคม (Public Affairs Officer)
หมายถึง เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่บริการ เสนอแนะ และปฏิบัติ กิจกรรมต่างๆ ประชานิเทศ (Public Communication) คือ งานด้านการสื่อความหมายหรือการติดต่อสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ไปสู่กลุ่มประชาชน เพื่อก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างองค์การกับประชาชน
10
การโฆษณาภาพลักษณ์ของบริษัท (Corporate Image Advertising)
หมายถึง การโฆษณาภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ของบริษัท ที่มุ่งก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี พนักงานต้อนรับ (Receptionist) หมายถึง ผู้ที่หน่วยงาน องค์การ สถาบัน จ้างมาทำหน้าที่ในการในการต้องรับแขกหรือผู้ที่มาติดต่อ เยี่ยมเยียนหน่วยงาน
11
ร่วมโครงการ EDF Corporate Partnershipในปัจจุบันมีองค์กรและบริษัทจำนวนมากที่เล็งเห็นความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคมและผู้ด้อยโอกาส การช่วยเหลือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสถือเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์การรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทอีกทั้งยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและชุมชนในพื้นที่ดำเนินงานของบริษัทอีกด้วย
12
พนักงานต้อนรับ
13
แนวคิดการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อการชักจูงประชามติด้วยวิธีการติดต่อสื่อสาร การประชาสัมพันธ์เป็นงานในระดับนโยบาย หรือใกล้ชิดกับระดับนโยบายขององค์กร การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ จะต้องมีการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติตามที่เราเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
14
แนวคิดของการประชาสัมพันธ์ ยังเป็นระบบแนวความคิดในลักษณะการจัดการ (management) หรือการบริหาร
เป็นสิ่งที่แสดงออกในด้านการกำหนดนโยบายขององค์การและฝ่ายบริหาร
15
แสดงออกถึงทางด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การกับประชาชน
การประชาสัมพันธ์ คือ การติดต่อสื่อสารแบบยุคลวิธี หรือการติดต่อสื่อสาร 2 ทาง (two-way communication)
16
“ประชาสัมพันธ์” คำนี้มักที่จะได้ยินคู่กับคำว่า “โฆษณา” และคนส่วนใหญ่จะเข้าใจและรู้จักคุ้นเคยกับคำว่า “โฆษณา” มากกว่า เพราะว่าความจริงแล้ว โฆษณามีมาก่อน การประชาสัมพันธ์
17
ความหมายของการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ Public Relations Public หมายถึง ประชา หมู่คณะ Relations หมายถึง สัมพันธ์ การผูกพัน ดังนั้น คำว่า “การประชาสัมพันธ์” จึงหมายความว่า การเกี่ยวข้องผูกพันกับหมู่คน หรือความสัมพันธ์ระหว่าง หน่วยงานสถาบัน กับ กลุ่มประชาชน
18
ความหมายการประชาสัมพันธ์
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 “การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องต่อกัน / เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการนี้” เช่น “นางสาว กาญจนา เป็นประชาสัมพันธ์ ของบริษัทแห่งหนึ่ง” หรือ “ประชาสัมพันธ์ สาวสวยของธนาคาร Big Bank ได้ตำแหน่งพนักงานดีเด่น เป็นต้น
19
หนังสือศัพทานุกรมสื่อสารมวลชน ให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่า
หมายถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตามแผนที่ได้วางไว้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือศรัทธาในบุคคล และสถาบัน การประชาสัมพันธ์อาจแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น การประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน การประชาสัมพันธ์สำหรับโรงพยาบาล การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล เป็นต้น ซึ่งการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ประการ คือ
20
1. การค้นคว้าหาข้อมูล (Fact-finding)
2. การวางแผน (Planning) 3. การสื่อสาร (Communication) 4. การติดตามประเมินผล (Evaluation)
21
ความหมายของการประชาสัมพันธ์ ในทัศนะนักวิชาการ ด้านการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
เรย์มอน ไซมอน ศาสตราจารย์วิชาการประชาสัมพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา ให้ทัศนะของการประชาสัมพันธ์ ว่า
22
“การประชาสัมพันธ์ คือ การส่งเสริมให้เกิดความกลมเกลียวราบรื่นและความนิยมระหว่างบุคคลกับหน่วยงานหรือสถาบันและบุคคลอื่นๆ รวมทั้ง กลุ่มประชาชนเฉพาะ หรือชุมชนใหญ่ๆ โดยการสื่อความหมายผ่านสิ่งที่สามารถตีความหมายได้ และมีการพัฒนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างไมตรี รวมทั้งการประเมินปฏิกิริยาท่าทีของประชาชน”
23
คัทลิบและเซนเตอร์ นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยจอร์เจียและมหาวิทยาลัยซานดิเอโก ให้คำจำกัดความว่า
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อสื่อความหมายทางด้านความคิดเห็นจากหน่วยงานไปสู่กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นและประชามติที่ประชาชนมีต่อหน่วยงานด้วยความพยายามอย่างจริงใจ โดยมุ่งที่จะสร้างผลประโยชน์ร่วมกันและช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับตัวเองให้สอดคล้องกลมกลืนกับสังคมได้ ฉะนั้น การประชาสัมพันธ์ จึงถูกนำมาใช้ในลักษณะความหมาย 3 ประการ คือ
24
1. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับกลุ่มประชาชน
2. วิธีการที่หน่วยงานใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ 3. คุณภาพและสถานภาพแห่งความสัมพันธ์นั้นๆ
25
เอ็ดเวิร์ด แอล เบอร์เนย์ นักวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ ที่คลุกคลีและคว่ำหวอดกับวิชาชีพนี้มานานหลายสิบปีให้ทัศนะว่า การประชาสัมพันธ์ มีความหมาย 3 ประการ คือ 1. เผยแพร่ชี้แจงให้ประชาชนทราบ 2. ชักชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยและเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานของสถาบัน 3. ประสานความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องให้เข้ากับจุดมุ่งหมายและวิธีดำเนินงานของสถาบัน
26
สถาบันการประชาสัมพันธ์แห่งสหราชอาณาจักร (The British Institute of Public Relations)
“การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การกระทำที่มีการวางแผนอย่างสุขุมรอบคอบ และมีความหมายอย่างไม่ลดละ เพื่อสร้างสรรค์ และธำรงไว้ซึ่งความเข้าใจอันดีร่วมกันระหว่างสถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง”
27
สมาคมการประชาสัมพันธ์แห่งสหรัฐอเมริกา (PRSA) ให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่า
“การประชาสัมพันธ์เป็นอาชีพที่ให้บริการผลประโยชน์อย่างถูกต้องตามกฎหมายแก่บรรดาลูกจ้างและผู้ว้าจ้าง อาชีพการประชาสัมพันธ์ จึงมีวัตถุประสงค์พื้นฐานอยู่ที่ความเข้าใจร่วมกัน และความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มต่างๆ และสถาบันสังคม”
28
สมาคมการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (IPRA) ให้คำจำกัดความของการประชาสัมพันธ์ว่า
“การประชาสัมพันธ์ คือ ภาระหน้าที่ของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการ ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนที่ดี และมีการกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อสร้างสรรค์และธำรงรักษาไว้ซึ่งความเข้าใจดี มีความเห็นอกเห็นใจ และได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากกลุ่มประชาชนที่หน่วยงานเกี่ยวข้องอยู่ โดยหน่วยงานจะต้องใช้วิธีการวัดประเมินถึงประชามติที่ประชนชนมีต่อ-
29
(ต่อ) หน่วยงาน แล้วนำมาใช้ประกอบเป็นแนวทางในการพิจารณากำหนดเป็นแผนงานและนโยบายของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องกับประชามติหรือความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งใช้วิธีการเผยแพร่กระจายข่าวสารสู่ประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และบรรลุถึงผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย คือหน่วยงานและกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง”
30
อาจารย์สะอาด ตัณศุภผล อดีตผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้คำจำกัดความว่า “การประชาสัมพันธ์ คือ วิธีการของสถาบันอันมีแผนการและการกระทำที่ต่อเนื่องกันในอันที่จะสร้างหรือยังให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประชาชน เพื่อให้สถาบันและกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ และให้ความสนับสนุนร่วมมือซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ให้สถาบันนั้นๆ ดำเนินงานไปได้ผลดีสมความมุ่งหมาย โดยมีประชามติเป็นแนวบรรทัดฐานสำคัญด้วย”
31
ไอวี ลี (Ivy Lee) นักวิชาชีพประชาสัมพันธ์ ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดา แห่งการประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ (The Father of Public Relations) ได้ให้ทัศนะต่อการประชาสัมพันธ์ว่า “องค์การหรือสถาบันควรมีการประชาสัมพันธ์กับประชาชนไม่ควรปิดหูปิดตา ประชาชนหรือเพิกเฉยละเลยต่อประชาชนแต่ควรแถลงความจริงให้ประชาชน ได้ทราบ หากองค์การชี้แจงแถลงเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นความจริงให้ประชาชนทราบ อย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว เมื่อนั้นประชาชน ก็พร้อมเสมอที่จะเข้าใจองค์การ ด้วยความเป็นธรรม
32
บทบาทความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ ในสังคมปัจจุบัน
1. ช่วยลดช่องว่างแห่งการสื่อสารในสังคม 2. สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในสังคม 3. สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม 4. สร้างความเข้าใจกับรัฐบาล 5. ช่วยให้เกิดการพัฒนาของเครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีสมัยใหม่
33
6. เกิดมาตรฐานใหม่ทางด้านจริยธรรม
7. กระตุ้นให้เกิดการพิทักษ์และคุ้มครองผลประโยชน์ผู้บริโภค 8. มีวิชาชีพการประชาสัมพันธ์เปิดสอนระดับอุดมศึกษา 9. ก่อกำเนิดสมาคมวิชาชีพทางด้านการประชาสัมพันธ์ 10. เกิดการยอมรับของหน่วยงานองค์การ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.