งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวความคิดทางสถาปัตยกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวความคิดทางสถาปัตยกรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวความคิดทางสถาปัตยกรรม
Architectural Design ดร.ศุภกิจ มูลประมุข

2 บทนำ สถาปัตยกรรมเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์เป็นหลัก และได้ถูกพัฒนารูปแบบ และความสวยงามขึ้นตามความเชื่อ แนวความคิด และเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นตามยุคสมัย เราจะเห็นได้ ว่าสถาปัตยกรรมในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีรูปแบบมักเท่าไหร่นัก และมักจะมีลวดลายประดับตามตัวอาคาร และแต่ว่าจะมียศหรือฐานะอยู่ในขั้นไหน เพราะลวดลายประดับนั้นถือเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคมใน สมัยนั้น แต่เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในหลายด้าน เกิดขึ้น และยุคที่ทาให้ทุกอย่างพัฒนาไปอย่างรวดเร็วก็คือยุคสมัยใหม่(modern) นั้นเอง

3 ยุคสมัยใหม่ คือ ยุคที่ให้ความสําคัญในเรื่องของศิลปะ วรรณคดี วิทยาการ สถาบัน เหตุผล การศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ รูปแบบของชีวิต ความจริงของชีวิตบนฐานของ ความเจริญเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เป็นสาเหตุสําคัญสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคม โลก ที่เรียกกันว่า “สมัยใหม่ความทันสมัย (Modernism)” ซึ่งความเป็นทันสมัยหรือสมัยใหม่ (modernity) นี้ถูกกําหนดให้เป็นทฤษฎีทางสังคมและการเมืองขึ้นมาโดย Comte Weber Marx เป็นต้น ความเป็น

4 สมัยใหม่ถูกทําให้ตรงข้ามกับวัฒนธรรม จารีต และประเพณีเดิมๆ และยังสร้างอัตลักษณ์ของตัวมันขึ้นมา โดยสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะผลของความเจริญทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการขับเคลื่อนทางสังคมทําให้มนุษย์ต้องการรู้เข้าใจตนเองและสังคมมากยิ่งขึ้น เพื่อ ความถูกต้องดีงามแบบสากล แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโลกร่วมกัน เพือเป็นความรู้ความเข้าใจใหม่ ร่วมกัน รวมถึงแขนงของงานสถาปัตยกรรมด้วย

5 สถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ ส่วนมากแล้วสถาปนิกจะได้แนวคิดจากศิลปะและปรัชญาของนักสังคมศาสตร์หรือนักเศรษฐศาสตร์ทุกแขนงจึงมีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งแนวความคิดในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จะค่อนข้างเป็นสากล ละทิ้งทุกอย่าง เชื่อในธรรมชาติ เรียบง่าย รูปทรงเรขาคณิต เน้นประโยชน์ใช้ สอยของพื้นที่ที่มีต่อมนุษย์ วัสดุที่นํามาใช้จะมีความหนาทึบ คงทน แข็งแรง แต่ความสวยงามก็ยังคงอ้างอิง กับรูปแบบของศิลปะในยุคนั้น และสถาบันที่มีอิทธิพลในด้านงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้มากที่สุดและเป็น สถาบันที่มีอิทธิพลจนถึงในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้นั้นก็คือ Bauhaus สถาบันนี้ถูกประยุกต์จากโรงเรียนสอน ศิลปะและโรงเรียนสอนการออกแบบเข้าด้วยกัน โดย สถาปนิก Walter Gropius ถือเป็ นสถาบันที่บ่มเพาะศิลปิ นที่มีชื่อเสียงเป็ นจํานวนมาก

6 เพราะการเรียนการสอนที่เน้นในเรื่องของแนวความคิดที่ทันสมัยและ ผสมผสานกับนวัตกรรมสมัยใหม่ในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อทําให้คนที่เข้าไปศึกษาในสถาบันน้จบออกมาแล้ ว สามารถนําความรู้ไปต่อยอดเป็นผลผลิตทางสังคมในยุคอุตสาหกรรมนี้ใด้ และสิ่งที่ทําให้สถาบันแห่งน้เป็น ที่รู้จักและถือเป็นเอกลักษณ์ก็คือสถาปัตยกรรมในสถาบันนี้ที่ออกแบบโดย Walter Gropius ที่เมือง Dessau ประเทศเยอรมัน งานออกแบบสถาปัตยกรรมชิ้นน้เองที่สะท้อนถึงแนวคิดของการสอนสถาปัตยกรรมใน Bauhaus ได้ชัดเจนที่สุด นั้นก็คือการใช้รูปทรงเรขาคณิตและมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นสีขาวใช้ผิวปูนฉาบเรียบ โดยมีวัสดุอื่นเป็นส่วนรอง Walter Gropius ไม่ได้ตระหนักถึงความสวยงามเพียงอย่างเดียวแต่ยังตระหนักถึงการดูแลรักษาเป็นสําคัญด้วย เพราะวัสดุที่สร้าง อาคารนั้นประกอบไปด้วย เหล็ก คอนกรีต กระจก ซึ่งมีความหนา แข็งแรง ตัวอาคารไม่มีลวดลายใดๆปรากฏอยู่นอกจากการออกแบบและจัดวางช่องหน้าต่างและช่องปิดกําแพงในส่วนที่ยื่นออกมาและส่วน เว้าต่างๆ ของอาคาร สถาปัตยกรรมแห่งนี้เป็นดังงานทัศนศิลป์ สมัยใหม่และมีคุณค่าทางสังคม เห็นความสําคัญของการการอยุ่ร่วมกัน ไม่พึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับธรรมชาติเพียงสองสิ่งนี้ท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความเป็นเอกภาพแบบใหม่ระว่างศิลปะและวิทยาการใหม่ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เกิดเป็นสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ขึ้น

7 สถาปัตยกรรม (Architecture)
สถาปัตยกรรม เป็นวิทยาการของการก่อสร้าง ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านประโยชน์ใช้สอย และการแสดงออกของมนุษย์ที่เจริญแล้ว แม้แต่ในสังคมชุมชนที่มีความเป็นอยู่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ก็ยังมีการสรรสร้างงานสถาปัตยกรรม เพื่อสนองการใช้สอยขั้นพื้นฐาน ส่วนในสังคมที่เจริญแล้วจะตัวบ่งชี้วัดในพัฒนาการของสังคมที่แสดงความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสังคมหรือกลุ่นคนนั้น ๆ (ผุสดี ทิพทัส. 2538) สถาปัตยกรรม ประเภทของสถาปัตยกรรมขึ้นอยู่กับรูปแบบและกฎเกณฑ์ของสังคมในอดีตอาจจำแนกประเภทของสถาปัตยกรรมตามบทบาทของผู้อุปถัมภ์วานสถาปัตยกรรมในแต่ละกลุ่มชนได้ ประเภทของสถาปัตยกรรมจึงมีจำกัดเฉพาะอาคารของพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง กับอาคารทางศาสนา ส่วนในปัจจุบันเราจำแนกประเภทของสถาปัตยกรรมเป็นหลายประเภทขึ้นตามความต้องกิจกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อความต้องการทั้งทางกาย ทางความรู้สึก และทางความคิดที่เกิดจากสติปัญญาและความรอบรู้ของมนุษย์ด้วย

8

9

10

11

12

13

14

15

16 สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ 1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม 3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ 2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียนว่า สถาปนิก (Architect)

17 สถาปัตยกรรม (Architectural) นั้นเป็นศิลปะ (Art) และเป็นวิทยาศาสตร์ (Science)เป็นการออกแบบสรรค์สร้าง (Design) ที่ประจักษ์ออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาที่งดงาม มีโครงสร้างที่แปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา (Structure) เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ผู้ที่จะเลือกใช้อาคาร (Building)นั้นๆ ศิลปะ (Art) เป็นงานที่สรรค์สร้างโดยธรรมชาติและมนุษยชาติ โดยธรรมชาตินั้น (Natural Art)สร้างงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และมีการเปลี่ยนแปลงเสริมแต่งอยู่ตลอดเวลา มนุษย์เป็นผู้ตัดสินในความงดงามของ งานที่ธรรมชาติสร้างขึ้น แต่ก็มิได้ถือมาเป็นของตนเอง นั่นคืองานศิลปในส่วนของธรรมชาติที่สร้างไว้ให้มนุษย์เป็นต้นแบบ เป็นทฤษฎี เป็นหลักการ เป็นบทเรียนที่มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติไม่รู้จบ จะเป็นรูปร่าง รูปทรง เส้น สี แสง เงาที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของวัสดุธรรมชาติ ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ลอกเลียนแบบธรรมชาติแทบทั้งสิ้น

18 สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นวิทยาศาสตร์ (Science) สาขาหนึ่งขององค์ความรู้ที่เกี่ยวกับรูปร่างที่ประกอบขึ้นจากปัจจัย หรือการยอมรับโดยตรงจากการสังเกตุ (Observation) การทดลอง(Experimental) การสืบสาวราวเรื่องต่างๆ และวิธีการศึกษาระบบการจัดการ (Systematically arranged) และแสดงให้เห็นถึงการจัดการในเชิงปฏิบัติการของกฎและข้อบังคับที่ถูกกำหนดขึ้นตามสภาพความเป็นอยู่ ภูมิอากาศ ความเชื่อ ศรัธาและสิ่งแวดล้อมของแต่ละสังคม Architecture: เป็นเทคโนโลยี (Technology) อันเป็นการประยุกต์ทางด้านวิทยาศาสตร์ นำมาจัดการองค์ความรู้ที่จะสามารถสร้างสรรค์เทคนิควิธีการ และวัสดุให้มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สังคม และสภาพแวดล้อม โดยใช้เทคนิค (Techniques) ที่เป็นศาสตร์และศิลปะ หรือศิลปะวิทยาการโดยทั่วๆไปนำมาใช้ในงาน อันมีTechniques ที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างอาคาร เป็นศาสตร์และศิลปทางด้านรูปร่างshaping องค์ประกอบต่างๆ (ornamenting) ของเครื่องประดับตกแต่ง หรือการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ทางด้านโครงสร้าง

19 สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นงานวิศวกรรมที่เป็นศิลปะและศาสตร์ในการประยุกต์ใช้กฎทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักการทางด้านปฏิบัติงานในการออกแบบและโครงสร้างทางด้านการก่อสร้าง (construction) วัสดุอุปกรณ์ (equipment) เครื่องมือต่างๆและระบบที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรมต้องมีความแน่นอน (Firmness) มีสภาพการณ์ (state) สภาวะหรือคุณภาพ(quality) ของความสมบูรณ์ของโครงสร้าง (being solidity constructed) Architecture: เป็นศาสตร์ทางพฤติกรรม (behavior science) อันประกอบด้วยศาสตร์หลายๆแขนงด้วยกัน เช่น สังคมวิทยา (sociology) และมนุษยวิทยา (Anthropology) เป็นการค้นพบจากการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม

20 สถาปัตยกรรม คือ ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้าง ซึ่งอาจอธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่า หมายถึงการจัดที่ว่างสามมิติเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ เพื่อให้เกิดคุณค่า ๓ ประการได้แก่ (๑) ความสะดวกและเหมาะสมในการใช้สอย (๒) ความมั่นคงแข็งแรง (๓) ความชื่นชม ความงาม ความมีสุนทรียภาพ


ดาวน์โหลด ppt แนวความคิดทางสถาปัตยกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google