งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Introduction to Religion

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Introduction to Religion"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Introduction to Religion
ศาสนาเบื้องต้น หมู่ LH

2 ผู้บรรยาย ธีรัตม์ แสงแก้ว Ph.D. (Philosophy and Religion)

3 เกณฑ์การประเมินผล 1. คะแนนเก็บ 30 คะแนน
1. คะแนนเก็บ คะแนน - การมีส่วนร่วมกิจกรรมในห้องเรียน 10 คะแนน - งานที่มอบหมาย คะแนน - การเสนองานหน้าชั้นเรียน 10 คะแนน 2. สอบปลายภาค คะแนน รวม 100 คะแนน = A = C = D = B = C = B = D+

4 คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
ความหมาย บ่อเกิดและประเภทของศาสนา ความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนากับศาสตร์อื่น ๆ ระบบศีลธรรมและความเชื่อถือของศาสนาที่ยังคงอยู่ บทบาทและความสำคัญของศาสนาต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม Meaning, origin and kinds of religion. Relation between religion and other disciplines. Moral systems and beliefs of living religions. Role and importance of religion to life, society and the environment.

5 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา
ความหมายของศาสนา ลักษณะของศาสนา องค์ประกอบของศาสนา วิวัฒนาการของศาสนา มูลเหตุการเกิดของศาสนา ประเภทของศาสนา ความสำคัญของศาสนา คุณค่าทางศาสนา

6 รวมคำสั่งและคำสอน จึงเรียกว่า “ศีลธรรม” หรือ “ศีลกับธรรม”
ความหมายของศาสนา ภาษาสันสฤต = ศาสนํ ภาษาบาลี = สาสนํ แปลว่า คำสั่งสอน คำสั่ง หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว เรียกว่า ศีล หรือ วินัย คำสอน หมายถึง คำแนะนำให้ทำความดี เรียกว่า ธรรม รวมคำสั่งและคำสอน จึงเรียกว่า “ศีลธรรม” หรือ “ศีลกับธรรม”

7 Relation between human beings and God
Religion คำว่า Religion มาจากภาษาละตินว่า Religare = to bind fast แปลว่า ยึดถือ/ผูกพันอย่างแน่นแฟ้น หมายถึง การผูกพันอย่างเหนียวแน่นต่อพระผู้เป็นเจ้า (God) หรือ พระผู้สร้าง (Creator) Relation between human beings and God ความสัมพันธ์(ทางวิญญาณ)ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า

8 ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า “ศาสนา”ไว้ว่า
ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า “ศาสนา”ไว้ว่า ศาสนา หมายถึง “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ”

9 ลักษณะของศาสนา 1) ศาสนาเป็นศูนย์รวมของความเคารพนับถือสูงสุดของมนุษย์
2) ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นที่พึ่งทางใจ 3) ศาสดาเป็นผู้นำศาสนามาเผยแผ่ สั่งสอนแก่มวลมนุษย์ 4) ศาสนามีสาระสำคัญอยู่ที่การสอนให้มนุษย์ละเว้นจากความชั่ว กระทำ แต่ความดี 5) คำสอนในศาสนามีทั้งระดับโลกียะและโลกุตตระ 6) มนุษย์ต้องปฏิบัติตามคำสอนในศาสนาด้วยความเคารพเลื่อมใสและ ศรัทธา 7) ศาสนาต้องมีพิธีกรรมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ และมีสัญลักษณ์อันเป็น เครื่องหมาย

10 องค์ประกอบของศาสนา 1. ศาสดา (Founder) คือผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้สอนดั้งเดิม 2. คัมภีร์ศาสนา (Scripture) คือ คำสั่งสอนที่ท่องจำกันไว้ได้แล้ว ได้จดจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร 3. นักบวช คือ ผู้สืบต่อศาสนา (Follower) หรือผู้แทนเป็นทางการของศาสนา นั้น ๆ ซึ่งมีข้อกำหนดคุณสมบัติไว้ต่าง ๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา 4. วัด หรือ ศาสนสถาน (Holy Place) คือ ที่ตั้งทางศาสนา หรือ ปูชนียสถาน คือสถานที่เคารพทางศาสนา 5. เครื่องหมาย (Religious Symbol) หรือสิ่งแทน พิธีกรรม รวมทั้ง ปูชนียวัตถุ คือสิ่งที่พึงเคารพบูชา

11 ประเภทของศาสนา 1) เอกเทวนิยม (Monotheism) เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว เช่น ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เป็นต้น 2) พหุเทวนิยม (Polytheism) เชื่อในพระเจ้าหลายองค์ เช่น ศาสนาฮินดูและศาสนากรีกโบราณ เป็นต้น 3) สัพพัตถเทวนิยม (Pantheism) บูชาพระเจ้าสถิตอยู่ในทุกหนทุกแห่ง เช่น ศาสนาฮินดู (บางลัทธิ) เชื่อว่าพระพรหมสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง ซึ่งเป็นคำอธิบายพระเจ้าในเชิงปรัชญา ทุกสิ่งมีเทพเจ้าประจำอยู่ทั้งสิ้น เช่น แม่น้ำก็มีพระแม่คงคา แผ่นดินก็มีพระแม่ธรณี ต้นไม้ก็มีรุกขเทวดา เป็นต้น 4) อเทวนิยม (Atheism) ไม่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก ได้แก่ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน

12 เทวนิยม ศาสนา อเทวนิยม
ศาสนาฮินดู ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ฯลฯ เทวนิยม ศาสนา อเทวนิยม พุทธศาสนา ศาสนาเชน

13 มูลเหตุการเกิดของศาสนา
1. เกิดจากอวิชชา 2. เกิดจากความกลัว 3. เกิดจากความภักดี 4. เกิดจากความต้องการรู้แจ้งความจริงของชีวิต 5. เกิดจากความต้องการความสงบสุขของสังคม

14 คุณค่าทางศาสนา ศาสนามีคุณค่านานัปการ คุณค่าของศาสนาที่มีต่อมนุษย์เป็นคุณค่าทางจิตใจ อันถือว่าสูงกว่าคุณค่าทางวัตถุ 1) เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ คือ เป็นที่พึ่งทางใจทำให้ไม่รู้สึกอ้างว้างว้าเหว่จนเกินไป 2) เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีของหมู่คณะ รวมถึงความสามัคคีในหมู่มวลมนุษยชาติ 3) เป็นบ่อเกิดแห่งการศึกษาทั้งในด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา และศีลธรรมจรรยา

15 4) เป็นบ่อเกิดแห่งจริยธรรม ศีลธรรม และคุณธรรม
5) เป็นบ่อเกิดแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ทั้งหลาย 6) เป็นเครื่องดับความเร่าร้อนทางใจ ทำให้ใจสงบเย็น 7) เป็นดวงประทีปส่องโลกที่มืดมิด 8) เป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ เพราะสัตว์ไม่มี ศาสนา เป็นต้น

16 ความสำคัญของศาสนา ศาสนาช่วยทำให้ชีวิตครอบครัวอบอุ่น เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าแก่สังคม ศาสนาเปรียบเหมือนดวงประทีปที่ให้ความสว่างไสวแก่เส้นทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในโลกอย่างมีความหมาย ศาสนาช่วยยกระดับจิตใจให้สูงและสะอาด ทำให้เป็นผู้ควรแก่การเคารพนับถือ ศาสนาช่วยให้มนุษย์พบเส้นทางแห่งความสงบสุข ฯลฯ

17 จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษาศาสนา
การศึกษาศาสนาในแง่มุมต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาที่ผู้อื่นนับถือด้วย เมื่อเกิดความเข้าใจในลักษณะและธรรมชาติของศาสนา ก็จะทำให้บุคคลสามารถพึ่งพาศาสนาของตนได้อย่างมั่นใจ มีศรัทธาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเข้าใจในมุมของคนอื่น เห็นความเป็นธรรมดาของการมีหลายศาสนา ไม่เกิดความยึดมั่นในความเชื่อของตนแต่ผู้เดียว ทำให้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่มีความหลากหลายได้พบกับสันติสุข


ดาวน์โหลด ppt Introduction to Religion

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google