ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSabrina Harrell ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและแนวทางดำเนินงาน
ปี 2559 โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย
2
Outline สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นไทย
กรอบแนวคิดการพัฒนาสุขภาพคน ตลอดช่วงชีวิต พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ร่าง ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ
3
อัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี
ต่อหญิงอายุ ปี 1,000 คน จากสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในปี พ.ศ อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ ปี ต่อประชากรหญิงอายุ ปี 1,000 คน คิดเป็น 40.7 และสูงถึง 49.7 ในปีพ.ศ. 2557 ที่มา: สถิติสาธารณสุข
4
จำนวนการคลอดของหญิงเฉลี่ยต่อวัน
กลุ่มอายุ จำนวน (คน) 2543 2553 2554 2555 2556 2557 10-19 ปี 240 338 362 343 316 10-14 ปี 4 8 9 10 จำนวนการคลอดของหญิงเฉลี่ยต่อวัน พบว่า - จำนวนการคลอดในหญิงอายุ ปี เฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 4 คน ในปี 2543 เป็น 9 คน ในปี 2557 - จำนวนการคลอดในหญิงอายุ ปี เฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 240 คน ในปี 2543 เป็น 316 คน ในปี 2557 ที่มา : 1. สถิติสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2543 2. ข้อมูล ปี โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (ปรับปรุงข้อมูลโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ณ วันที่ 16 มีนาคม 2559) โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
5
อัตราการคลอดของหญิงอายุ 15-19 ปี
ต่อประชากรหญิงอายุ ปีพันคน : ปี 2557 รายจังหวัด รายเขตสุขภาพ อัตราการคลอดของหญิงอายุ ปี ต่อประชากรหญิงอายุ ปีพันคน ใน ปี 2557 แยกตามรายเขตสุขภาพ รายจังหวัด โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
6
ร้อยละของแม่คลอดบุตรจำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2546-2557
ร้อยละของแม่คลอดบุตรจำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ ร้อยละ ร้อยละของแม่คลอดบุตรจำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ พบว่า แม่คลอดอายุ ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในปี เป็น ร้อยละ 0.5 ในปี 2557 แม่คลอดอายุ ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.7 ในปี 2546 เป็น ร้อยละ 15.8 ในปี 2557 ที่มา : โดยการสนับสนุนข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเหตุ : ร้อยละของแม่คลอดบุตร = จำนวนแม่คลอดบุตรในช่วงอายุนั้น x 100 จำนวนแม่คลอดบุตรทั้งหมด โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ 6
7
ร้อยละของการคลอดซ้ำในวัยรุ่น
จำแนกตามกลุ่มอายุของแม่ ปี พ.ศ – 2557 ร้อยละ 18-19ปี 15-19ปี 10-19ปี 15-17ปี 10-14ปี ร้อยละของการคลอดซ้ำในวัยรุ่น พบว่า การคลอดซ้ำในวัยรุ่นอายุ ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ในปี เป็น ร้อยละ ในปี 2557 หมายเหตุ 1. จำนวนการคลอดทั้งหมด ปี พ.ศ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2. วิเคราะห์และรายงานโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย (ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2559) โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
8
จำนวนและร้อยละของการคลอดซ้ำในวัยรุ่น จำแนกตามกลุ่มอายุ ปี พ.ศ. 2557
กลุ่มอายุ (ปี) จำนวนคลอด ทั้งหมด จำนวนการ คลอดซ้ำ ร้อยละของ การคลอดซ้ำ 10-19 115,490 14,339 12.4 15-19 112,277 14,338 12.8 10-14 3,213 1 0.0 โดยในปี วัยรุ่นอายุ ปี มีการคลอดซ้ำจำนวน ถึง14,338 คิดเป็นร้อยละ 12.8 ที่มา : 1. ข้อมูลการคลอด ปี พ.ศ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2. วิเคราะห์ข้อมูลโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
9
ร้อยละของนักเรียนเคยมีเพศสัมพันธ์
กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 2552 2553 2554 2555 2556 2557 1. นักเรียน ม.5 เพศชาย เพศหญิง 24.7 13.9 25.9 15.5 28.0 16.4 24.8 20.2 17.2 24.2 18.9 2.นักเรียน ปวช.ชั้นปีที่ 2 44.0 37.4 46.6 41.0 49.8 41.6 46.1 51.1 46.2 45.3 46.0 47.1 วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ที่เร็วขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนหญิง ร้อยละของนักเรียนเคยมีเพศสัมพันธ์ ในนักเรียนหญิงชั้นม.5 เพิ่มขึ้น จากปี 2552 ร้อยละ13.9 เป็น 18.9 ในปี 2557 และ ในนักเรียนหญิ ปวช.ชั้นปีที่ 2 เพิ่มขึ้น จากปี 2552 ร้อยละ เป็น 47.1 ในปี 2557 ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2557 โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
10
ร้อยละของการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนอาชีวะชั้นปีที่ 2 ในการรณรงค์ การป้องกันการตั้งครรภ์และการติดเชื้อเอชไอวีโดยการใช้ถุงยางอนามัย ในหลายปีที่ผ่านมา ยังพบว่ามีเพียงร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 60 เท่านั้น ที่ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ซึ่งการที่วัยรุ่นไทยจำนวนมากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันย่อมทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายโดยเฉพาะการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2557 โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
11
อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในวัยรุ่นและเยาวชนอายุ 15-24 ปี
ส่วนปัญหาอีกอย่างของการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่าอัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชนอายุ ปี ปี พ.ศ คือร้อยละ และสูงถึงร้อยละ ในปี 2557 (ข้อมูลการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ) ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค **โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับรายงานคือ หนองใน , หนองในเทียม , แผลริมอ่อน , กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง (แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2558) โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
12
ร้อยละของเด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
จำแนกตามกลุ่มอายุของแม่ ปี พ.ศ – 2557 ร้อยละ ร้อยละของเด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ พบว่า ในปี แม่อายุ ปี คลอดเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มากที่สุด ร้อยละ 19.1 และรองลงมา แม่อายุ ปี คลอดเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 13.0 หมายเหตุ 1. จำนวนการคลอดทั้งหมด ปี พ.ศ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2. วิเคราะห์และรายงานโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย (ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2559) โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
13
การแท้งในประเทศไทย ปี 2557
สำรวจในโรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 13 จังหวัด ผู้ป่วยแท้งเข้ารับการรักษาและยินยอมตอบแบบสอบถาม จาก รพ. 243 แห่ง จำนวน 1,710 ราย แท้งเอง ร้อยละ 59.7 ทำแท้ง ร้อยละ 40.3 - ทำแท้งที่มีเหตุผลด้านสุขภาพ 30.8 - ทำแท้งที่มีเหตุผลด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ ครอบครัว 69.2 เฉพาะผู้ทำแท้ง เชื่อมต่อในสไลด์ต่อไป ที่มา : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
14
การทำแท้งที่มีเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ครอบครัว
ร้อยละของผู้ป่วยที่ทำแท้งจำแนกตามช่วงอายุ ร้อยละ 36.1 มีสถานภาพ นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 30.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 57.5 อายุต่ำกว่า 25 ปี ที่มา :สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย 2557
15
ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยทำแท้ง
ร้อยละ ไม่ตั้งใจให้ตั้งครรภ์ครั้งนี้ 88.7 ไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใดๆ 45.6 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้ง 89.7 ทำแท้งซ้ำ 10.9 หมายเหตุ ผู้ป่วยทำแท้งที่มีเหตุผลด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ครอบครัว
16
กรอบแนวคิดการพัฒนาสุขภาพคนตลอดช่วงชีวิต : กลุ่มวัยรุ่น ปีงบประมาณ 2559
เป้าหมาย KPI กระทรวง 1. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ ปี (ไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ ปี พันคน ภายในปี 2561 2. ความชุกผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากรอายุ 15 – 19 ปี (ไม่เพิ่มขึ้นจากผลBSS ในปี 2558) ผลผลิต ผลักดันการบังคบใช้กฎหมายเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพวัยรุ่น วัยรุ่นเข้าถึงความรู้ในการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง การเชื่อมต่อระบบสถานบริการสาธารณสุขกับสถานศึกษาและชุมชนในการจัดบริการให้กับวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดบริการสุขภาพวัยรุ่น โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายเพื่อวัยรุ่นปลอดภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง มาตรการ : การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้วัยรุ่นปลอดภัยจากปัญหาทางเพศ และแอลกอฮอล์ สารเสพติด ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาระบบบริหารจัดการร่วมกับ DHS เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มวัยรุ่น มาตรการ : การบูรณาการและเชื่อมโยงกับระบบ DHS โดยมีการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพวัยรุ่น มีทีม Teen Manager ระดับเขต/จังหวัด ในการขับเคลื่อนงาน เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงและใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การจัดบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุมและเข้าถึงวัยรุ่นทุกกลุ่มในสถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษา และชุมชน มาตรการที่ 1 : จัดบริการเชิงรุกสู่สถานศึกษา เน้นการพัฒนาทักษะชีวิต เพศศึกษารอบด้าน สนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน มาตรการที่ 2 : จัดบริการที่เป็นมิตรสอดคล้องกับความต้องการและบริบทของวัยรุ่น รวมถึงการให้บริการคุมกำเนิดในแม่วัยรุ่น มาตรการที่ 3 : จัดบริการเชิงรุกสู่ชุมชน เน้นการจัดพื้นที่สร้างสรรค์ที่วัยรุ่น และเยาวชนมีส่วนร่วม และการจัดพื้นที่เรียนรู้ของพ่อแม่ (โรงเรียนพ่อแม่/การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับลูกหลานวัยรุ่น) จากสถานการณ์ดังกล่าว ได้มีการบูรณาการแผนงาน/โครงการ ระหว่างกรมวิชาการภายในกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้นโยบายของรัฐบาลในแผนพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต กระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินงานที่สอดคล้องโดยในกลุ่มวัยรุ่นมีเจ้าภาพหลัก คือ กรมสุขภาพจิต ส่วนของกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นเจ้าภาพร่วม โดยในปี 2559 มีการกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์และมาตรการที่สำคัญ โดยการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัวอยู่ในมาตรการที่ 3 : จัดบริการเชิงรุกสู่ชุมชน เน้นการจัดพื้นที่สร้างสรรค์ที่วัยรุ่น และเยาวชนมีส่วนร่วม และการจัดพื้นที่เรียนรู้ของพ่อแม่ (โรงเรียนพ่อแม่/การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับลูกหลานวัยรุ่น)
17
นโยบาย / ระบบเฝ้าระวัง/ การติดตามและประเมินผล
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สถานศึกษา มีการสอนเพศวิถีศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ นักเรียน พัฒนาแกนนำวัยรุ่น เป้าหมาย 1.ชะลอการมีเพศสัมพันธ์ 2.เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย 3.การตั้งครรภ์ที่พร้อม สถานบริการสาธารณสุข อปท. / ครอบครัว / ชุมชน มีฐานข้อมูล แผนงาน และ กิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ มีการจัดบริการสุขภาพ ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน มีระบบการดูแล/ส่งต่อ เชื่อมโยง ทุกระดับ มีแผนดำเนินการ สนับสนุนทรัพยากร มีฐานข้อมูลเรื่องเพศและอนามัย การเจริญพันธุ์ การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม ครอบครัวมีการสื่อสารเรื่องเพศ พื้นที่เรียนรู้สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองในรูปแบบโรงเรียนพ่อแม่ จากกรอบแนวทางการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น ของ WHO ซึ่งเน้นว่าการส่งเสริมให้วัยรุ่นมีอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดี ต้องเน้นอยู่ใน setting สถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุข ครอบครัว / ชุมชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม โดยที่สถานศึกษามีบทบาท การสอนเพศวิถีศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และพัฒนาแกนนำวัยรุ่น สถานบริการสาธารณสุข มีฐานข้อมูล แผนงาน และ กิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ มีการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน (Youth Friendly Health Services: YFHS) และมีระบบการดูแล/ส่งต่อ เชื่อมโยง ทุกระดับ ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดำเนินการ การสนับสนุนทรัพยากร มีฐานข้อมูลเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม และสนับสนุนให้ครอบครัวมีการสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งพื้นที่การเรียนรู้สำหรับพ่อแม่ในชุมชน นโยบาย / ระบบเฝ้าระวัง/ การติดตามและประเมินผล
18
พระราชบัญญัติ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยมี 5 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ความหมายและสิทธิของวัยรุ่น ภายใต้ พรบ. วัยรุ่น (หมายถึง บุคคลอายุ 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ) มีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา 2. เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้ 3. เสนอรายงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 4. กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชนเพื่อป้องกัน ช่วยเหลือแก้ไข และเยียวยาปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น การใช้ความรุนแรงทางเพศและการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ 5. ให้คำปรึกษา แนะนำ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชน 6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย พรบ.นี้ส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถใช้งบประมาณในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่
19
มาตรการสำคัญทางกฎหมาย
สถานศึกษา ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนหรือนักศึกษา (๒) จัดหาและพัฒนาผู้สอนให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษาและให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา (๓) จัดให้มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม สถานบริการ ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (๒) จัดให้มีบริการให้คำปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่นและสอดคล้องกับสิทธิตามมาตรา ๕ รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม สถานประกอบกิจการ ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นดังต่อไปนี้ (๑) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (๒) จัดหรือสนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม หน่วยงานสวัสดิการสังคม ฝึกอาชีพและจัดหางานแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ จัดหาครอบครัวทดแทนให้วัยรุ่นที่มาสามารถเลี้ยงดูบุตรได้เอง สร้างแกนนำเยาวชนระดับจังหวัดและอำเภอ ในการเฝ้าระวังปัญหา สนับสนุนหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้ความช่วยเหลือแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และครอบครัว
20
ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569
ร่าง ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ ร่างยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ (อยู่ภายใต้ พรบ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559)
21
แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์นี้เน้น การเสริมสร้างการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยราชการและภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม การพัฒนาวัยรุ่นเชิงบวก มุ่งสร้างสุขภาวะแก่วัยรุ่น โดยสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ใหญ่และชุมชน เพื่อจัดการกับปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมปัจจัยบวกที่มีผลต่อพัฒนาการของวัยรุ่นไปพร้อมๆ กัน ให้ความรู้ คำแนะนำและช่วยเหลือวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และครอบครัวให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข เพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีการติดตามสถานการณ์ปัญหา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
22
เป้าหมาย ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยพิจารณาจากการลด
อัตราการคลอดในวัยรุ่นลงครึ่งหนึ่งภายในพ.ศ. 2569 เมื่อเทียบกับพ.ศ. 2558
23
วัตถุประสงค์ 1.วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต
9.รณรงค์สื่อสารเพื่อให้เกิดวัฒนธรรม ค่านิยมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ 8. พ่อแม่วัยรุ่นได้รับสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมรวมถึงการฝึกอาชีพและการได้ งานทำ 2. ครอบครัวมีทัศนคติเชิงบวกและมีบทบาทในการสื่อสารเรื่องเพศกับ บุตรหลาน 7.พ่อแม่วัยรุ่นได้รับความช่วยเหลือในการจัดหาครอบครัวทดแทนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ วัตถุประสงค์ 3. วัยรุ่นในระบบการศึกษาที่ตั้งครรภ์ได้รับความช่วยเหลือจากสถานศึกษา และครอบครัวให้สามารถศึกษาต่อเนื่องได้ วัตถุประสงค์อันหนึ่งที่สำคัญ คือ ครอบครัวมีทัศนคติเชิงบวกและมีบทบาทในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลาน 6.พ่อแม่วัยรุ่นได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ 4. วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาทางเลือก สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 5. วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้รับบริการที่เป็นมิตรและถูกต้องตามหลักวิชาการ
24
ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต แก่วัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชนในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศ ของวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัย การเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ และการจัดสวัสดิการสังคมในกลุ่มวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการสื่อสารสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศ ในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนากลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในทุกระดับ ร่าง ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตแก่วัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชนในการเลี้ยงดูสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมในกลุ่มวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการสื่อสารสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนากลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในทุกระดับ ในยุทธศาสตร์ที่ 2 กรมอนามัย โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ดำเนินการที่สอดคล้องคือ การให้ความสำคัญในการสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในครอบครัวจึงได้จัดทำ “คู่มือการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว”ฉบับปีพ.ศ.2558 โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้มีการพูดคุย สื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์กับลูกหลานวัยรุ่น และลูกหลานวัยรุ่นกล้าพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง อีกทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศและกล้าที่จะเริ่มพูดคุยกับลูกหลาน เพื่อส่งผลให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมและปลอดภัย การจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัวเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญที่จะช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงมีหลายหน่วยงานและผู้ที่สนใจที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สถานประกอบการ และชุมชนให้ความสนใจนำคู่มือไปใช้ในการจัดอบรมฯนอกจากนี้ กรมอนามัย ยังมีการขยายการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องผ่านระบบการเยี่ยมประเมินตามเกณฑ์อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัย และ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ ว่าด้วย “การส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชนในการเลี้ยงดูสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น” และในปลายปีงบประมาณ 2558 – 2559 จึงได้มีพัฒนาคู่มือการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัวโดย กรมวิชาการที่เกี่ยวข้อง ให้เป็น“คู่มือการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว (ฉบับบูรณาการ)” มีการปรับปรุงเนื้อหาในคู่มือฯ ให้มีความครอบคลุมในประเด็นอนามัยการเจริญพันธุ์ พัฒนาการวัยรุ่น และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และมุ่งหวังที่จะเป็นเครื่องมือที่จะให้ 3 กรมวิชาการขยายผลในพื้นที่ต่อไป
25
กลไกระดับชาติ สนับสนุนและประสานการทำงานระหว่างทุกภาคส่วน
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น งบประมาณสำหรับงานประสานและริเริ่ม หนุนเสริมวิชาการ พัฒนาศักยภาพที่จำเป็น ผู้บริหารหน่วยงานระดับจังหวัด สนับสนุนการทำงาน ๙ ภารกิจในพื้นที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงสาธารณสุข กลไกประสานระหว่างทุกภาคส่วน ระบบข้อมูล ติดตาม และประเมินผล กระทรวงศึกษาธิการ การส่งเสริมทักษะชีวิตและเพศศึกษาในโรงเรียน กระทรวงมหาดไทย การพัฒนาทักษะพ่อแม่ในการสื่อสารกับลูก ลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นลงครึ่งหนึ่งใน ปี ๒๕๖๗ กระทรวงวัฒนธรรม การป้องกันในกลุ่ม เปราะบาง กระทรวงแรงงาน การสื่อสารรณรงค์ ในการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ต้องประกอบด้วยหลากหลายภาคส่วน กระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวง ICT และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีผู้บริหารหน่วยงานระดับจังหวัดสนับสนุนการทำงาน 9 ภารกิจในพื้นที่คือ 1.กลไกประสานระหว่างทุกภาคส่วน 2.การส่งเสริมทักษะชีวิตและเพศศึกษาในโรงเรียน 3.การป้องกันในกลุ่มเปราะบาง 4.การจัดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับวัยรุ่น 5.การจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น 6.บริการด้านสังคมทั้งการดูแลบุตร การได้ศึกษาต่อ และ/หรือส่งเสริมให้มีงานทำในรายได้ที่พอเพียง 7.การสื่อสารรณรงค์ 8.การพัฒนาทักษะพ่อแม่ในการสื่อสารกับลูก 9.ระบบข้อมูล ติดตาม และประเมินผล กระทรวง ICT การจัดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับวัยรุ่น บริการด้านสังคมทั้งการดูแลบุตร การได้ศึกษาต่อ และ/หรือส่งเสริมให้มีงานทำในรายได้ที่พอเพียง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น ภาควิชาการและภาคีอื่นๆ
26
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.