งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือตัดชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะ วิชางานฝึกฝีมือ 1 ของนักเรียนช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ ชั้นปีที่ 1 คณะช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือตัดชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะ วิชางานฝึกฝีมือ 1 ของนักเรียนช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ ชั้นปีที่ 1 คณะช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือตัดชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะ วิชางานฝึกฝีมือ 1 ของนักเรียนช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ ชั้นปีที่ 1 คณะช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี กมล ศรีวัฒนะ

2 วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชางานฝึกฝีมือ ด้วยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนแก้ปัญหาที่กำหนดให้และหา ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการใช้เลื่อยมือ ตัดชิ้นงาน ที่พัฒนาขึ้น ตามเกณฑ์ E 1 /E 2 ไม่ต่ำกว่า 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนเรื่องการพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือ ตัด ชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะ และแบบทดสอบที่กำหนดให้ 3. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการสอนโดยวิธีการให้ นักเรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติงานเลื่อยมือ ตัดชิ้นงานที่กำหนดให้

3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนสาขาช่างยนต์ สาขา งานยานยนต์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การใช้เลื่อยมือ ตัดชิ้นงาน ร้อยละ 50 โดยแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งหมด 24 คน

4 ผลวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือตัดชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะ วิชางานฝึกฝีมือ ของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดย แบ่งผลการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ตอน มีรายละเอียดดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ ตามเกณฑ์ 80/80 ชุดฝึกทักษะกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ดังตารางที่ 1 ถึง 3

5 ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และประสิทธิภาพของชุดฝึก ทักษะ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาช่างยนต์ สาขา งานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียน 24 คน ได้คะแนนเฉลี่ยของการทำชุดฝึกทักษะเท่ากับ 24.05 คิดเป็นร้อยละ 80.17 ของคะแนนเต็ม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.81 แสดงว่า ชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ (E 1 ) เท่ากับ 80.17

6 จากตารางที่ 2 พบว่า นักเรียน 24 คนได้คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบ หลังเรียนเท่ากับ 24.77 คิดเป็นร้อยละ 83.38 ของคะแนนเต็ม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.67 แสดงว่า แบบทดสอบหลังเรียน มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E 2 ) เท่ากับ 83.38

7 ตารางที่ 3 สรุปการหาค่าประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จากตารางที่ 3 พบว่า ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ (E 1 ) เท่ากับ 80.17 และ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E 2 ) เท่ากับ 83.38 ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้ ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.17 / 83.38 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

8 ตอนที่ 2 หาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตารางที่ 4 ผลการคำนวณดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จากตารางที่ 4 พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย วิธีการให้นักเรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติงานเลื่อยมือ ตัดชิ้นงานที่กำหนดให้ มี ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.72 แสดงว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้าง ขึ้น ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 72

9 สรุปผลการวิจัย 1. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ วิทยาลัย เทคโนโลยีชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 พบว่า ผลการทดสอบระหว่าง เรียน คิดเป็นร้อยละ 80.17 (E 1 ) และผลการทดสอบหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 83.38 (E 2 ) แสดงว่าชุดฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.17/83.38 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนด 80/80 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนก่อนและหลังการใช้ ชุดฝึกทักษะของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาช่างยนต์ สาขา งานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 24 คน ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 50 พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 59.36 และเมื่อใช้ชุดฝึกทักษะมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 83.38 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น 24.02 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะเพิ่มมากขึ้น

10 3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่อชุดฝึกทักษะการใช้เลื่อยมือ ตัดชิ้นงาน ผู้เรียนที่ได้ทำการเรียนรู้โดยใช้การจัดการสอนด้วยวิธีจัดการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติ มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกระบวนการเรียนการสอนตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ สามารถที่จะช่วยครูผู้สอนได้ทำการพัฒนาผู้เรียนพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการ เรียนรู้ สามารถเพิ่มทักษะสำหรับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือ ตัดชิ้นงาน โดย ใช้ชุดฝึกทักษะ วิชางานฝึกฝีมือของนักเรียนสาขาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ ชั้นปีที่ 1 คณะช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.72 หรือคิดเป็นร้อยละ 72

11 อภิปรายผล 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชางานฝึกฝีมือ เรื่อง การพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือ ตัดชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะโดยวิธีการให้นักเรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติงานเลื่อยตัด ชิ้นงาน ได้ตรงตามแบบที่กำหนดให้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.17/83.38 เนื่องจากพัฒนาการ ฝึกทักษะที่นักเรียนได้ทดลองแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยนำความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่มา ประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมฝึกสังเกต เมื่อไม่เข้าใจเนื้อหาส่วนใดหรือแก้ปัญหาข้อใดไม่ได้ ก็จะมีการค้นหาวิธีการด้วยตนเอง รู้จักคิด ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และจดจำวิธีการ แก้ปัญหานี้ไว้ตลอด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชางานฝึกฝีมือเรื่อง การพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือ ตัดชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะ โดยวิธีการให้นักเรียนสร้าง ผลงานจากการปฏิบัติงานเลื่อยตัดชิ้นงาน ได้ตรงตามแบบที่กำหนดให้ มีค่าสูงกว่าการเรียน ตามปกติ เนื่องจากการเรียนโดยชุดฝึกทักษะ ซึ่งประกอบด้วยรูปภาพ ข้อความ หรือคำสั่ง เกี่ยวกับงานเลื่อยมืออย่างละเอียดเป็นการเรียนรู้แบบรูปธรรมโดยการมองเห็น ในขณะฝึก ปฏิบัติที่การเรียนชุดฝึกทักษะนักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้จากสื่อต่างๆ ทำให้ เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ

12 3. ค่าดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชางานฝึก ฝีมือ เรื่อง การพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือ ตัดชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะโดยวิธีการให้ นักเรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติงานเลื่อยตัดชิ้นงาน ได้ตรงตามแบบที่กำหนดให้ มี ค่าเท่ากับ 0.72 หรือคิดเป็นร้อยละ 72 ทั้งนี้เนื่องจากแบบฝึกทักษะจะมีใบงานต่างๆให้ นักเรียนทำตามลำดับขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ปัญหา,กำหนดวิธีการแก้ปัญหา,เลือก วิธีการแก้ปัญหาลงมีปฏิบัติและปรับปรุงแก้ไขทั้งนี้เพื่อฝึกให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบ สามารถทำการแก้ปัญหาและเกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้นและนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์

13 ภาพหลักฐานประกอบ

14 ข้อเสนอแนะ จากการทำวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีแนวคิดในการทำวิจัยครั้งต่อไปว่า 1. ควรมีการพัฒนาเรื่องการใช้เทคโนโลยีมาช่วยจัดกระบวนการ เรียนการสอน เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อนักเรียน และ เพื่อนำผลการวิจัยมาจัดทำแผนการเรียนรู้ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพต่อไป 2. ควรศึกษาเชิงสำรวจหาข้อมูลจากหลาย ๆ ฝ่าย เช่น ผู้สอนท่านอื่น ผู้เรียน หรือ ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อจะได้สร้างและพัฒนาการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน 3. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะสามารถมีผล ต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นได้ ดังนั้นควรส่งเสริม และสนับสนุนการนำชุดการสอนมาใช้ในวิทยาลัย


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาทักษะการใช้เลื่อยมือตัดชิ้นงาน โดยใช้ชุดฝึกทักษะ วิชางานฝึกฝีมือ 1 ของนักเรียนช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ ชั้นปีที่ 1 คณะช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google