แมกนีเซียม (Magnesium)
เป็นส่วนประกอบสำคัญของ เซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมอง เนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ 60-70%พบในกระดูก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่อนและของเหลวในร่างกาย มักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ ประมาณ 35% ในเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน
ข้าวผลไม้เปลือกแข็ง ให้แมกนีเซียมสูงสุด แหล่งที่พบ พบในธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ปลาน้ำจืด นม โมลาสหรือกากน้ำตาล ข้าว ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด จมูกข้าวสาลี เมล็ดพืช ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ งา ข้าวผักสีเขียวจัด ข้าวผลไม้เปลือกแข็ง ให้แมกนีเซียมสูงสุด
หน้าที่และประโยชน์ มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับแคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม ป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ และการแข็งตัวของเลือด ช่วยในการควบคุมกรดด่างในร่างกาย อาจทำหน้าที่เป็นตัวสงบประสาทตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนและลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้าและช่วยในการหลับเพราะเป็นตัวที่ช่วยในการสร้าง เมลาโตนิน ป้องกันไม่ให้แคลเซียมจับตัวอยู่กับอวัยวะต่างๆ เช่นไต จำเป็นต่อการรวมตัวของ parathyroid hormone ซึ่งมีบทบาทในการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก
ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่วยโรคหัวใจ ป้องกันและรักษาโรคหอบหืด เกี่ยวข้องกับการคายตัวของกล้ามเนื้อ บรรเทาและป้องกันอาการ ปวดประจำเดือน ลดการเกิดตะคริวในหญิงมีครรภ์ที่มีระดับแมกนีเซียมต่ำ เปลี่ยนน้ำตาลในเลือด คือ กลูโคสให้เป็นพลังงาน เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ DNA และ RNA ในระหว่างที่เซลล์แบ่งตัว และการสังเคราะห์โปรตีน
อาหารโดยทั่วไป มีแมกนีเซียมประมาณ 300-800 มก. ขนาดรับประทาน อาหารโดยทั่วไป มีแมกนีเซียมประมาณ 300-800 มก. ต้องการวันละ เด็กทารก 50-70 มิลลิกรัม ต้องการวันละ เด็กโต 150-250 มิลลิกรัม ต้องการวันละ ผู้ใหญ่ 350-450 มิลลิกรัม หญิงมีครรภ์ และระยะให้นมบุตร ต้องการวันละ 450-600 มิลลิกรัม
การดูดซึม ถูกดูดซึมประมาณร้อยละ 50 ลำไส้เล็กตอนต้น บริโภคน้อย อัตรา การดูดซึมสูงถึง ร้อยละ75 บริโภคมาก อัตรา การดูดซึมต่ำ ร้อยละ 25 แข่งกับ ปริมาณ ไฟเตต แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในการจับตัวของโปรตีน ขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียม ปัสสาวะ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสีย แมกนีเซียมมากขึ้น ใช้ยาขับปัสสาวะ อันโดสเทอโรน ฮอร์โมน ขับแมกนีเซียมผ่านไต ให้เป็นไปตามปกติ ต่อมหมวกไต ปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสีย แมกนีเซียมมากขึ้น ใช้ยาขับปัสสาวะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ การอาเจียน(น้ำย่อย)
ผลของการขาดแมกนีเซียม การขาดแมกนีเซียมจะเกิดกับคนไข้ที่เป็น 1.โรคเบาหวาน 2.ตับอักเสบ(pancreatitis) 3.พิษสุราเรื้อรัง 4.ไตพิการ 5.ควาชิออร์กอร์ 6.การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง 7.การดูดซึมหรือการผิดปกติร้ายแรงเนื่องจากท้องเดินเรื้อรังหรืออาเจียน
เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจขาดเลือด(coronaryheard disease) กล้ามเนื้อบิด สั่น สับสน ไม่สามารถจดจำสถานที่หรือเพื่อนฝูงได้ (disorientation) เกิดความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อ ไต หัวใจ และหลอดเลือด ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง ระบบกล้ามเนื้อและระบบการย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ระบบประสาทถูกทำลายและประสาทรับรู้อาการเจ็บปวดจะไวขึ้น กระดูกอ่อนจนร่างกายรับน้ำหนักไม่ไหว และร่างกายสร้างโปรตีนทดแทนไม่ได้ ร่างกายสะสมพลังงานไว้ไม่ได้ เลือดแข็งตัวช้า สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศไม่ได้
ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2549 จัดทำโดย 1.นายกฤษณพงศ์ นาทิพย์ รหัสประจำตัวนักศึกษา 490210074 2.นายจิรศักดิ์ เอมละออ รหัสประจำตัวนักศึกษา 490210077 3.นางสาวยุพาพร แก้วดำ รหัสประจำตัวนักศึกษา 490210085 กระบวนวิชา 006223 ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2549