ประโยคในภาษาไทย การเขียนประกอบด้วยประโยคต่าง ๆ หลายรูปแบบ หากเข้าใจโครงสร้างของประโยค จะทำให้สื่อความหมายได้ชัดเจน ไม่สับสน ไม่คลุมเครือ และไม่ขาดตกบกพร่อง
ประโยค หมายถึง ข้อความที่มีใจความสมบูรณ์ และสามารถตอบได้ว่า ใคร ทำอะไรหรืออย่างไร ประโยคประกอบด้วย ๒ ภาคใหญ่ ๆ คือ ภาคประธาน กับภาคแสดง
ส่วนประกอบของประโยค ภาคแสดง ภาคประธาน ประธาน กริยา กรรม ขยายประธาน ขยายกริยา ขยายกรรม
ประโยคแบ่งตามส่วนประกอบเป็น ๓ ชนิด เอกรรถประโยค หรือ ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีเพียงใจความเดียวหรือมีภาคประธานและภาคแสดงเพียงชุดเดียว เช่น นักเรียนทำการบ้านมาทุกคน นักเรียนทุกคนตั้งใจเรียน เขาช่วยพ่อแม่ทำงาน
๒. สังกรประโยค หรือประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่เกิดจากประโยคความเดียว ๒ ประโยคมาซ้อนกัน โดยใช้คำเชื่อม คำว่า ที่ ซึ่ง อัน หรือคำอื่น ๆ เช่น ว่า ให้ เมื่อ ตั้งแต่ จนกระทั้ง เหมือน อย่าง เท่า กว่า
เหนื่อยหรือยังดูต่อนะค่ะ
ประโยคหลัก เรียกว่า มุขยประโยค ประโยคย่อย เรียกว่า อนุประโยค เช่น เด็กๆ ที่อยู่ในวัยเรียนควรรับผิดชอบงานเล็กๆน้อยๆ โดยใช้คำเชื่อมคำว่า ที่
อนุประโยคแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด นามานุประโยค คือประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนคำนาม สรรพนามซึ่งจะเชื่อมด้วยคำว่า “ว่า ให้” หรือบางทีอาจจะไม่มีตัวเชื่อม เช่น เขาดูสร้อยข้อมือที่เธอใส่
๒. คุณานุประโยคคือ ประโยคที่ทำหน้าที่แทนคำวิเศษณ์ขยายคำนามและสรรพนามที่อยู่ในประโยคใหญ่ และเชื่อมด้วยคำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น ลูกที่ไม่เคารพพ่อแม่เป็นคนไม่ดี ประโยคหลักคือ ลูกเป็นคนไม่ดี ประโยคย่อยคือ ลูกไม่เคารพพ่อแม่
๓.