“การพูดแบบไม่เตรียมตัวล่วงหน้า” (Impromptu Speaking)
การพูดแบบไม่เตรียมตัวล่วงหน้า หรือการพูดแบบกะทันหัน แต่เป็นการพูดแบบไม่รู้ตัวมาก่อนว่าจะต้องพูดเรื่องอะไร หัวข้ออะไร หรือต้องพูดในสถานการณ์ใด วัตถุประสงค์ของการฝึกพูดแบบนี้คือ เพื่อให้เราได้ฝึกการใช้ความคิด ให้เป็นระบบ ฝึกไหวพริบปฏิภาณ ฝึกสมาธิ หากมีคนอื่นๆ ช่วยตั้งคำถาม ก็จะช่วยฝึกในการเป็นผู้ฟังได้อีกทางหนึ่ง เพราะหากไม่ตั้งใจฟัง ก็ไม่สามารถจับประเด็นในการตอบคำถามได้
หลักคิดเบื้องต้นของการพูดแบบไม่เตรียมตัวล่วงหน้า นึกถึงเรื่องที่เราจำได้แม่นที่สุด หรือชำนาญที่สุด สิ่งที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้กับชีวิตของเราได้ดีที่สุดก็คือ เรื่องที่เราจำได้แม่นที่สุดหรือชำนาญที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่เราคุ้น สามารถถ่ายทอดออกมาได้โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลานึกและย่อมมีการเรียบเรียบได้ดีในระดับหนึ่ง นับว่าเป็นวัตถุดิบที่ดีที่สุดสำหรับเรา
พยายามนึกถึงถ้อยคำคม ๆ ที่คุ้นเคยที่สุด พยายามนึกถึงและนำคำเหล่านั้นมาถ่ายทอดให้กับผู้มุ่งหวังที่เราพบแบบไม่รู้ตัว ซึ่งคำเหล่านี้คนพูดพยายามขัดเกลามาให้มีความไพเราะและมีคุณค่าในตัวอยู่แล้ว เมื่อเรานำมาถ่ายทอดต่อ ย่อมจะทำให้เกิดความรู้สึกคล้ายคลึงกับเรา แต่ต้องเข้ากับสถานการณ์ที่พูดด้วย
พูดให้ตรงประเด็นมากที่สุด การพูดให้ตรงประเด็นจะทำให้เราสามารถควบคุมการพูด อารมณ์ และความรู้สึกได้อย่างง่าย ที่สำคัญก็คือ จะทำให้การพูดของเราไม่สับสน ซึ่งเราเองก็ไม่สับสน วกไปวนมา คนพูดก็ไม่สับสน เข้าใจง่ายอีกด้วย
หาจังหวะเพื่อจะจบการพูดให้เร็วที่สุด พยายามจบการพูดของเราให้เร็วที่สุด เนื่องจากว่าเราไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า การเรียงลำดับเรื่องของเราย่อมไม่ดีพร้อมเท่ากับการเตรียมตัวมาก่อน และผู้ฟังต้องได้รับสาระจากการพูดด้วย
ศิลปะการพูดแบบไม่เตรียมตัวล่วงหน้าให้สำเร็จ ให้คิดถึงประโยคแรกๆ ที่จะพูด ในระหว่างที่ต้องเดินขึ้นมาพูดบนเวที เมื่อพูดประโยคแรกๆ ได้ ประโยคต่อไปมันจะค่อยๆ คิดได้เอง ให้พูดให้ตรงกับงานหรือสถานการณ์ที่จัดงาน เช่น พูดในงานมงคลสมรสก็ควรพูดถึงเจ้าภาพ คู่บ่าวสาว หรือ พูดในสถานการณ์งานศพก็ควรพูดถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับ สรุปจบหรือตอนจบ ท่านควรพูดให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ อาจฝากแง่คิด คำคม บทประพันธ์ต่างๆให้เหมาะสมกับงาน
การบ้าน สัปดาห์หน้าสอบพูดแบบไม่เตรียมตัวล่วงหน้า จับสลากในห้องเพื่อเลือกหัวข้อ แล้วพูดหน้าชั้นทันที เวลาคนละไม่เกิน 3 นาที