ชั้นม.1/4 เลขที่ 16 เสนอ อาจารย์ อรอุมา พงศ์ธัญญะดิลก โรงเรียน จักรคำคณาทร จังหวัด ลำพูน
เต่าหับ จระเข้น้ำ จืด ข้อมูล อ่างอิง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cuora amboinensis ลักษณะทั่วไป : เป็นเต่ามีขนาดค่อนข้างเล็ก กระดองบนสีดำ หรือมีสีน้ำตาล ปนบ้าง กระดองล่างสีขาวอมเหลือง หรืออมเขียว ผิวหนังเป็นสีขาวแต่แขน ขามีสีเทา หัวด้านบนเป็นสีดำและมีเส้นสีเหลืองผ่านจากจมูกไปที่คอ ผ่าน ตอนบนของนัยน์ตา และผ่านขอบปากบน ที่ปากล่าง คอ ตา หู มีสีนวล เหลือง ที่กระดองล่างแบ่งกลางออกเป็นสองส่วน ปิดได้ทั้งด้านหน้าและ หลัง เป็นเต่าชนิดเดียวที่เก็บหัวหาง แขนขา ไว้ในกระดองได้หมด โดยเมื่อ มองจากด้านท้องจะไม่เห็นส่วนอื่นใดยื่นออกมา ถิ่นอาศัย, อาหาร : พบในอินเดีย อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบมากแถวภาคกลางและภาคใต้ เต่าหับกินพืช ผัก ผลไม้ ปลา หอย ปู กุ้ง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : ชอบอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึงทั่วไป ชอบอยู่ บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ ชอบหมกตัวอยู่ตามกอหญ้า เต่าหับผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น สถานภาพปัจจุบัน : เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม : สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์เชียงใหม่
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Crocodylus siamensis ลักษณะทั่วไป : จระเข้น้ำจืดตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัว เมียมีขนาดยาวประมาณ 12 ฟุต แต่ตัวผู้มีหางยาวกว่าตัวเมีย และมักมีจำนวนเกล็ดที่ห่างมากกว่า จระเข้น้ำจืดหัวทู่ สั้นกว่าจระเข้น้ำเค็ม มีเกล็ดท้ายทอย 4 เกล็ดเรียงให้เห็นชัด เท้าหลังมีพังผืด เล็กน้อย หางจระเข้มีกำลังมากใช้โบกพัดไปมาช่วยในการว่ายน้ำ หรือเป็นอาวุธ สามารถฟาดหางทำให้คนหรือสัตว์ได้รับอันตรายได้ ปกติไม่ได้ใช้ขาในการว่ายน้ำ ถิ่นอาศัย, อาหาร : พบในเอเชียแถบประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย และประเทศไทย จระเข้น้ำจืดกินสัตว์ที่มีขนาดกลาง เช่น ปลา กบ นก รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ถ้าอาหารมีขนาดใหญ่มันจะคาบอาหารแล้วเหวี่ยงไปมาทำให้อาหารขาด ออกเป็นชิ้น ๆ อาหารจะถูกย่อยอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่ต้องกินอาหารประมาณ วัน หลังจากนั้นจึงกินอีกครั้งหนึ่ง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : ชอบอยู่ตัวเดียว ตามแหล่งน้ำนิ่งซึ่งมีความลึกไม่เกิน 5 ฟุต และมีที่ร่ม ในช่วงอากาศร้อนจะแช่ตัวในน้ำ ถ้าอากาศหนาวจะขึ้นมาผึ่งแดดบนบก ในตอนกลางวัน จระเข้น้ำจืดมักผสมพันธุ์กันในฤดูหนาวซึ่งในระยะนี้ตัวผู้จะต่อสู้กัน เพื่อ แย่งชิงเป็นเจ้าของตัวเมีย การผสมพันธุ์มีปีละครั้ง จระเข้น้ำจืดเริ่มวางไข่โดย ตัวเมียจะขุดดินที่อยู่ใกล้น้ำที่เป็นดินทราย กว้าง เซนติเมตร แล้วออกไข่ ประมาณ ฟอง เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว จระเข้จะกวาดใบไม้รอบ ๆ หลุมไข่มา รวมพูนกองบนรังไข่เพื่อป้องกันฝน จากระยะออกไข่จนฟักเป็นตัว ระยะนี้จระเข้จะดุ ร้ายมาก ศัตรูตามธรรมชาติของไข่จระเข้น้ำจืดนอกจากคนแล้วก็มี เหี้ย ตะกวด ชะมด อีเห็น ซึ่งมาลักไข่ของมันไปกิน เมื่อฟักไข่ครบกำหนดแล้วจระเข้ตัวอ่อน ๆ ก็ จะเจาะเปลือกไข่ออกมาเอง สถานภาพปัจจุบัน : เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม : สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์ เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา