ระเบียบวิธีวิจัยทางการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Dr.Smira Chittaladakorn
Advertisements

การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
สถิติ และ การวิเคราะห์ข้อมูล
เทคนิคการอ่านรายงานการวิจัย
กระบวนการวิจัย(Research Process)
อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การวิจัยเชิงทดลอง สมพงษ์ พันธุรัตน์.
กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
การเลือกตัวอย่าง อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
การวิจัย RESEARCH.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทดลองและการเขียนรายงานผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์
Thesis รุ่น 1.
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
Experimental Research
การวางแผนและการดำเนินงาน
การวิจัยสถาบัน ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร
การติดตาม และประเมินโครงการ.
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
ระเบียบวิธีวิจัย RESEARCH METHODOLOGY : ตัวแปรการวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
รศ. ดร. สุนีย์ เหมะประสิทธิ์
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
การจัดกระทำข้อมูล.
การออกแบบการวิจัย.
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การออกแบบการวิจัย(Research Design)
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
บทที่ 7 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและ การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ตัวแปรต้น 2. ตัวแปรตาม 3. ตัวแปรควบคุม การกำหนดและควบคุมตัวแปร.
สะท้อนประสบการณ์ / ถอดบทเรียน
การออกแบบการวิจัย (Research Design)
การพัฒนาระบบการเรียนการสอน
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
การเขียนรายงานการวิจัย
สุรพล เศรษฐบุตร Agri.Extension Dept. 1 กระบวนวิชา การประเมินผลโครงการ ส่งเสริมการเกษตร ( Assessment and Evaluation of Extension Program in Agriculture.
Quality of Research ทำวิจัย อย่างไรให้มีคุณภาพ
หน่วยที่ 1 ความหมายและความสำคัญของเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัยตามแนวทางการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA)
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
หน่วยที่ 5 การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การประเมินค่างาน ดร. สุจิตรา ธนานันท์.
มาตรฐานการให้รางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย
14. การเขียนโครงร่างการวิจัย (แบบ ว -๑) (Proposal)
การประเมินนวัตกรรม Dr.Kulthida Nugultham.
องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม
การวางเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียน
รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การวิจัยการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ดร. สุจิตรา ธนานันท์
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
การเขียนรายงานผลการวิจัย
15. การวิจัยเชิงสำรวจ Survey Research.
3. หลักการวิจัย หลักการวิจัย : สำราญ สาราบรรณ์.
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
ข้อมูล ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวเลข เช่น น้ำหนัก ความสูง ระยะทาง อายุ หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในรูปคุณลักษณะหรือคุณสมบัติ
CLASSROOM ACTION RESEARCH
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
ผู้วิจัย อาจารย์สมเกียรติ ขำสำราญ
1. การวิจัยคืออะไร 2. การวิจัยแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ระเบียบวิธีวิจัยทางการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม Research Methods in Industrial Administration and Development เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ ครั้งที่ 6-2 : 17 ก.พ. 58

ความหมาย การออกแบบการวิจัย - เป็นระบบ - ความละเอียดถี่ถ้วน - รอบคอบ หมายถึง การวางแผน/กลยุทธ์การดำเนินการวิจัยอย่าง : - เป็นระบบ - ความละเอียดถี่ถ้วน - รอบคอบ - พิถีพิถัน - ควบคุมรายละเอียดใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น/เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของการวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยที่ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย หมายถึง การจำกัดขอบเขต และวางรูปแบบวิจัยให้ได้มาซึ่ง คำตอบที่เหมาะสมกับปัญหาที่วิจัยผล ในการออกแบบวิจัยจะได้ตัวแบบ ซึ่งเรียกว่า แบบวิจัย เสมือนเป็นพิมพ์เขียวของการวิจัย

ความหมาย การออกแบบการวิจัย แบบวิจัย เป็นแผน โครงสร้างหรือยุทธวิธีสำหรับการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัย และควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้น แผน เป็นโครงร่างที่แสดงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยในภาพรวม โครงสร้าง เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือ กรอบแนวคิดการวิจัย ยุทธวิธี เป็นวิธีการที่เลือกใช้ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการวิเคราะห์ข้อมูล

การออกแบบการวิจัย การออกแบบวิจัย หมายถึง การกำหนดแผน/โครงสร้าง และวิธีการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาการวิจัย แผนหรือโครงสร้าง จะระบุถึงตัวแปรต่างๆ ของการวิจัยว่ามีอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านั้นมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร

Kerlinger (1968:280) กล่าวไว้ว่า จุดมุ่งหมายมี 2 ประการ คือ 1. เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาการวิจัยหรือผลการวิจัยเชื่อถือได้ 2. เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรที่ศึกษา (ความแปรปรวนของ ตัวแปรที่ศึกษา(ตัวแปรตาม) ต้องเป็นผลมาจากตัวแปรต้นเท่านั้น) Max Min Con

จุดมุ่งหมาย Max ย่อมาจาก Maximization of independent variable variance หมายถึง การทำให้ตัวแปรอิสระหรือตัวแปร ทดลองแตกต่างกันมากที่สุด ซึ่งจะมีผลทำให้ตัวแปรตามแตกต่างกันมาก ที่สุดด้วย หรือถ้าต้องการให้ค่าของตัวแปรตามมีค่าแตกต่างกันมากที่สุด จะต้องทำให้ตัวแปรอิสระแตกต่างกันมากที่สุดด้วย Min ย่อมาจาก Minimization of error variance หมายถึง การทำให้ความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำสุดหรือน้อยที่สุด โดยการ ทำให้เครื่องมือวิจัยมีค่าความเที่ยงตรงและค่าความเชื่อมั่นสูงที่สุด 1. การทำเครื่องมือการวิจัยให้มีความเชื่อมั่นสูงขึ้น 2. การลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการดำเนินการ

จุดมุ่งหมาย Con ย่อมาจาก Control of extraneous variable หมายถึง การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน ไม่ให้มีผลต่อตัวแปรตาม ซึ่งมีวิธีการดังนี้ 1. การสุ่ม (Randomization) การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง การสุ่ม กลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม การสุ่มกลุ่มทดลอง 2. การจับคู่ (Matching) 3. การกำจัดตัวแปรแทรกซ้อน (Elimination) 4. การจัดให้เป็นตัวแปรอิสระตัวหนึ่ง

วิธีการศึกษาวิจัย - วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร จะระบุถึงรายละเอียด - วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร - แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากใคร/หน่วยงาน/องค์การใดบ้าง - วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร - การแปลผลอย่างไร บางนักวิชาการเห็นว่า แบบวิจัยคือ เค้าโครงของการวิจัยนั่นเอง แบบวิจัยเปรียบเสมือนแปลนบ้าน ก่อนที่จะสร้างบ้านเราจะต้องออกแบบบ้านก่อน

ความเข้าใจวิธีการวิจัย การออกแบบวิจัยผู้วิจัยควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัญหาการวิจัยให้ชัดเจนก่อน ดังนี้ 1. ปัญหาการวิจัยหรือการวิจัยเรื่องนี้ วิจัยกับใครหรือประชากรเป็น ใคร 2. ตัวแปรการวิจัยมีอะไรบ้าง และมีกี่ตัวแปร 3. ตัวแปรต่างๆ นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร หรือไม่ 3.1 การวิจัยตัวแปรเดียว จะบรรยายลักษณะของตัวแปรแต่ละตัว ว่าเป็นอย่างไร 3.2 การวิจัยตัวแปรมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกันใน ลักษณะเชิงเปรียบเทียบ หรือหาสัมพันธ์กัน หรือส่งผลต่อกัน

ความเข้าใจวิธีการวิจัย 4. ตัวแปรแต่ละตัวจะวัดค่าออกมาเป็นอย่างไรบ้าง เป็นเชิงปริมาณ หรือคุณภาพ 5. เป็นการวิจัยประเภทใด เชิงทดลองหรือเชิงบรรยาย 6. จะวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบแต่ละประเด็นปัญหาหรือวัตถุประสงค์ ของการวิจัยด้วยวิธีใดบ้าง การออกแบบวิจัยจากประเด็นต่างๆ ทั้ง 6 ข้อ ผู้วิจัยจะต้องมากำหนด แบบวิจัยที่ดีที่สุด ทำให้ได้ผลการวิจัยหรือคำตอบของปัญหาวิจัยที่ เชื่อถือได้ ซึ่งจะมีแบบวิจัยต่างๆ ในวิจัยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหา การวิจัย

หลักการออกแบบ หน้าที่หลักทางเทคนิคของการออกแบบแผนการวิจัย คือ การควบคุมความแปรปรวน โดยอาศัยหลักการ Max Min Con (Kerlinger. 1968:284) ได้แก่ 1. การเพิ่มความแปรปรวนทดลองสูงสุด (Maximization of Experimental) 2. การลดความแปรปรวนคลาดเคลื่อนให้เหลือน้อยที่สุด (Minimization of Error Variance) 2.1 การลดความคลาดเคลื่อนของการวัด 2.2 การทำให้เครื่องมือวัดมีความเชื่อมั่น (Reliability)

หลักการออกแบบ 3. การควบคุมตัวแปรภายนอก (Control of Extraneous Variances) 3.1 การกำจัดตัวแปรออกไป (Elimination) 3.2 การใช้วิธีการสุ่ม(Randomization) 3.3 กำหนดเป็นตัวแปรในการศึกษา (Built into the Design) 3.4 การจับคู่ (Matching)

การออกแบบวิจัยที่ดี 1. ใช้หาคำตอบของปัญหาที่ต้องการวิจัยได้อย่างแท้จริง 2. ควบคุมตัวแปรอิสระที่เกี่ยวข้องได้ทั้งตัวแปรอิสระที่ต้อง การศึกษาและตัวแปรอิสระภายนอกที่ไม่ได้นำมาศึกษาด้วย 3. ต้องมีความเที่ยงตรงภายใน คือ ผลการวิจัยที่ได้นั้นเป็นผลเนื่องจากตัวแปรอิสระในการวิจัยโดยตรง และต้องมีความเที่ยงตรง ภายนอกด้วย คือ ผลการวิจัยต้องมีความเชื่อถือได้ สามารถอ้างไปสู่กลุ่มประชากรเป้าหมายได้

ข้อพึงระวัง 1. ขั้นตอนในการตรวจสอบความแม่นตรงภายใน (Internal Validity) ข้อมูลที่สามารถช่วยให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องที่เชื่อถือ เช่น ปัจจัยตามที่กำหนดให้เป็นตัวแปรอิสระจะสามารถนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงในตัวแปรตามได้ไม่ใช่เกิดจากปัจจัยนอกเหนือ ปัจจัยที่มีผล ต่อความแม่นตรงภายในได้แก่ การวัด การทดสอบ คำถาม การสร้าง แบบสอบถาม เครื่องมือ อุปกรณ์ เป็นต้น 2. ขั้นตอนในการตรวจสอบความแม่นตรงภายนอก (External Validity) ส่วนใหญ่เน้นที่การเป็นตัวแทน สามารถนำผลการวิจัยไปอ้างอิงกลุ่ม ประชากรได้ ปัจจัยที่มีผลต่อความแม่นตรงภายนอกได้แก่ วิธีการสุ่ม ตัวอย่าง

ลักษณะการออกแบบ การวิจัย 1. แบบการวิจัยที่ไม่เน้นการทดลอง (Non-Experimental Research) การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) จะมุ่งเน้นในการพิสูจน์ปัจจัย ค้นหาปัจจัย ที่เป็นเหตุ (Cause) ที่นำไปสู่ผล (Consequences) โดย ข้อมูลที่นิยมใช้ในการศึกษาจะได้แก่ ข้อมูลที่เป็นสถานะการณ์ปัจจุบัน เช่น การวิจัยในเชิงปริมาณจะใช้การสำรวจแบบภาพตัดขวาง (Cross- sectional survey) หากเป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพจะเน้นที่สถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ใน ปัจจุบัน การวิจัยเชิงปริมาณปัจจุบันจะนิยมใช้การศึกษาแบบข้อมูลต่อ เนื่องระยะยาว (Longitudinal Data Analysis) เพราะให้เห็นภาพของ ผลสะท้อนที่เกิดจากปัจจัยนั้นๆได้ชัดเจนกว่า แม่นตรงกว่า ตามหลักการ ของ Cause and Consequences

ลักษณะการออกแบบ การวิจัย 2. แบบการวิจัยที่เน้นการทดลอง (Experimental Research) มุ่งเพื่อการประเมินผลโครงการฯ กิจกรรม การตรวจสอบอิทธิพลของ ปัจจัยจากการทดลองปฏิบัติการ ที่ทำการทดลองตามแนวคิดที่กำหนดไว้ ในทฤษฎีการวัดและประเมินผล (Measure and Evaluation: M&E) การ ตรวจสอบ/การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) การพิสูจน์ ผลกระทบ/ตรวจสอบอิทธิพล (Effects, Consequences, Influences)

ประเภทการออกแบบ การวิจัย 1. การออกแบบการวัดค่าตัวแปร 1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการวัดค่าตัวแปร 1.2 กำหนดโครงสร้างและคำนิยามของค่าตัวแปร 1.3 กำหนดระดับการวัด สร้าง/พัฒนาเครื่องมือวัด 1.4 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 1.5 กำหนดวิธีการและขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.6 กำหนดรูปแบบวิธีการวัดตัวแปร ควบคุม 2. การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง 2.1 กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่าง 2.2 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมตัวแปรเกิน

ประเภทการออกแบบ การวิจัย 3. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย (ความเที่ยงตรงภายใน) 3.2 การเลือกใช้สถิติเชิงอ้างอิง (ความเที่ยงตรงภายนอก)

วิธีการออกแบบการวิจัย 1. การกำหนดปัญหาการวิจัย คำถามวิจัยและวัตถุประสงค์ ของการวิจัย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การกำหนดข้อมูลและแหล่งข้อมูล 4. การกำหนดเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การกำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย

ความเที่ยงตรง การออกแบบ 1. ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Consistency) จะเป็นลักษณะของการวิจัยที่จะสามารถตอบปัญหา/สรุปผลการวิจัย ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนและน่าเชื่อถือ เน้นดำเนินการที่มีความครอบคลุม 3 ประการ 1.1 การทดสอบสมมุติฐาน 1.2 การควบคุมตัวแปรภายนอก 1.3 ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของเครื่องมือ

ความเที่ยงตรง การออกแบบ องค์ประกอบที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายใน 1. ประวัติในอดีต (History) 2. วุฒิภาวะ (Maturation) 3. การทดสอบ (Testing) 4. เครื่องมือในการวิจัย (Instrument) 5. การถดถอยทางสถิติ (Statistical Regression) 6. การสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Random Assignment) 7. การสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง (Experimental Motality) 8. อิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยอื่นกับการสุ่มตัวอย่าง 9. ความคลุมเครือของความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปร 10. ความสับสนของสิ่งทดลอง 11. การตอบสนองของกลุ่มควบคุม 12. การตอบสนองของกลุ่มทดลอง

ความเที่ยงตรง การออกแบบ 2. ความเที่ยงตรงภายนอก (External Consistency) จะเป็นลักษณะของการวิจัยที่จะสามารถสรุปอ้างอิงผลการวิจัยจาก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาไปสู่ประชากรได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และน่าเชื่อถือ มี 2 ประเภท คือ 2.1 ความเที่ยงตรงเชิงประชากร 2.2 ความเที่ยงตรงเชิงสภาพการณ์

สัญลักษณ์ที่ใช้ในแต่ละแบบแผน R หมายถึง มีการสุ่มหน่วยทดลองเข้ากลุ่ม (Random assignment) C หมายถึง กลุ่มควบคุม (Control Group) E หมายถึง กลุ่มทดลอง (Experiment Group) O หมายถึง มีการสังเกต (Observation) X หมายถึง มีการให้สิ่งทดลอง (Treat) กลุ่มทดลอง (Experimental group) หมายถึง กลุ่มที่ผู้วิจัยกำหนดให้ได้รับตัวแปรอิสระ กลุ่มควบคุม (Control group) หมายถึง กลุ่มที่ผู้วิจัยควบคุมให้ไม่มีโอกาสเปิดรับตัวแปรอิสระ

1. รูปแบบการออกแบบการวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยเพื่อหาความรู้ความจริงที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ ตัวแปรในเชิงเหตุและผลที่ชัดเจนและสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากผู้วิจัยมีการจัดกระทำกับตัวแปรต้นและควบคุมตัวแปรอื่นๆ เพื่อให้ผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตามเป็นผลมาจากตัวแปรต้นอย่างแท้จริง การจำแนกแบบการวิจัยเชิงทดลองมี 3 ลักษณะ 1. แบบแผนก่อนแบบทดสอบ (Pre-Experimental Design) 2. แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ (True Experimental Design) 3. แบบแผนกึ่งการทดลอง (Quasi-Experimental Design)

1.1 แบบแผนก่อนแบบทดสอบ (One Group Posttest Only Design) แบบแผนที่ 1 แบบแผนกลุ่มเดียวทดสอบหลัง (One Group Posttest Only Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง - E X O ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่ง่าย สะดวกในการวิจัย และไม่ได้รับ ผลกระทบจากการสอบก่อน ข้อเสีย : ขาดความเที่ยงตรงภายในและภายนอก เพราะไม่มีการสุ่มและ ควบคุมตัวแปร ทำให้ผลที่สังเกตได้อาจไม่ใช่ผลจากตัวแปร อิสระและไม่สามารถสรุปอ้างไปยังกลุ่มอื่นๆได้

1.1 แบบแผนก่อนแบบทดสอบ สำหรับการศึกษาที่ผู้วิจัยแน่ใจว่า ก่อนการทดลอง ความรู้ ทักษะ หรือเจตคติที่จะทำการศึกษานั้นยังไม่เกิดขึ้นกับหน่วยทดลอง และไม่มีเหตุการณ์แทรกซ้อนเกิดขึ้นระหว่างการทดลอง เช่น การศึกษา เจตคติที่มีต่อการใช้นวัตกรรมหนึ่งๆ หรือการการทดลองใช้ (try out) นวัตกรรม

1.1 แบบแผนก่อนแบบทดสอบ แบบแผนที่ 2 แบบแผนกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง (One Group Pretest-Posttest Only Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง - E O X ข้อดี : เมื่อเปรียบเทียบกับแบบที่ 1 จะดีกว่าในด้านความเที่ยงตรงภายใน เพราะมีข้อมูลช่วยในการเปรียบเทียบคือ ใช้การวัดซ้ำก่อนหลัง เป็นข้อมูลเปรียบเทียบพัฒนาการของกลุ่ม

1.1 แบบแผนก่อนแบบทดสอบ ข้อเสีย : การทดสอบก่อนทำให้มีปัญหาอิทธิพลของการทดสอบทั้งใน ด้านความเที่ยงตรงภายในและภายนอก เพราะไม่มีการสุ่มและ ไม่สามารถควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนระหว่างการทดลองได้ ทำให้ผลที่สังเกตได้อาจไม่ใช่ผลจากตัวแปรอิสระและไม่ สามารถสรุปอ้างไปยังกลุ่มอื่นๆ ได้ (การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ก่อน-หลังการทดสอบใช้ t-test แบบ dependent/paired) จะเหมาะสำหรับการศึกษาที่ปัจจัยส่วนบุคคลของหน่วยทดลองไม่มีผลต่อตัวแปรที่ศึกษา หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

1.1 แบบแผนก่อนแบบทดสอบ แบบแผนที่ 3 แบบแผนกลุ่มเดียวทดสอบหลายช่วงเวลา (One Group Time Series Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง - E O1 O2 O3 X O4 O5 O6 ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่ง่ายและสะดวกในการวิจัย โดยสามารถ ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนโดยรวมได้ เพราะเป็นไปได้ว่าผลของ ตัวแปรแทรกซ้อนในการทดสอบแต่ละครั้งเท่าเทียมกัน

1.1 แบบแผนก่อนแบบทดสอบ ข้อเสีย : ไม่สามารถควบคุมประสบการณ์อื่นของหน่วยทดลองได้และ ขาดความเที่ยงตรงภายนอก เพราะไม่มีการสุ่ม จึงไม่สามารถ สรุปอ้างผลการวิจัยไปยังกลุ่มอื่นๆได้ จะเหมาะสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างทันทีทันใด เช่น การแปลงแปลงนโยบายหลักในการบริหารงาน หรือเจตคติของบุคคลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยใช้การวัดซ้ำก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ

1.2 แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ แบบแผนที่ 4 แบบแผนสุ่มกลุ่มควบคุมทดสอบหลังอย่างเดียว (Randomized Control Group Posttest Only Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง R E - X O C ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่มั่นใจได้ว่า ปัจจัย (ตัวแปร) แทรกซ้อน ต่างๆ ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจะถูกควบคุมให้เท่าเทียม กันก่อนที่จะให้สิ่งทดลอง เช่น ประสบการณ์ วุฒิภาวะ

1.2 แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ ข้อเสีย : ไม่สามารถศึกษาพัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงในตัวแปร ตามได้ เนื่องจากไม่มีการทดสอบก่อน จะเหมาะสำหรับการวิจัยเกี่ยวกับเจตคติ/ความคิดเห็น ซึ่งไม่จำเป็น ต้องมีการทดสอบก่อน เช่น การศึกษาวิจัยเจตคติของบุคคลต่อวิธีการ/แนวทาง/นโยบายตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป

1.2 แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ แบบแผนที่ 5 แบบแผนสุ่มกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนหลัง (Randomized Control Group Pretest-Posttest Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง R E O X C - ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่มั่นใจได้ว่า ปัจจัยแทรกซ้อนต่างๆ ของ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจะถูกควบคุมให้เท่าเทียมกันก่อนที่ จะให้สิ่งทดลอง เช่น ประสบการณ์ วุฒิภาวะและสามารถศึกษา พัฒนาการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ การทดสอบก่อนเป็นการ ตรวจสอบความเท่าเทียม

1.2 แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ ข้อเสีย : การทดสอบก่อนอาจส่งผลต่อการวัดตัวแปรตามได้ และเป็น เงื่อนไขที่ทำให้ผลการศึกษาไม่สามารถอ้างไปยังประชากร อื่นๆ ได้ เพราะปกติประชากรอื่นๆ จะไม่ได้รับประสบการณ์ใน การทดสอบเหมือนกลุ่มที่ใช้ในการทดลอง จะเป็นแบบแผนที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางทางการศึกษาวิจัย แม้จะมี อิทธิพลของการทดสอบก่อนกับปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลแทรกซ้อนในตัวแปรที่ศึกษาก็ตาม

1.2 แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ แบบแผนที่ 6 แบบแผนสุ่มกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนหลัง หลายช่วงเวลา (Randomized Control Group Time Series Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง R E O1 O2 O3 X O4 O5 O6 C - ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่มั่นใจได้ว่า ปัจจัยแทรกซ้อนต่างๆ ของ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจะถูกควบคุมให้เท่าเทียมกันก่อนที่ จะให้สิ่งทดลอง เช่น ประสบการณ์ วุฒิภาวะและสามารถศึกษา พัฒนาการเปลี่ยนแปลงได้ อ้างไปยังประชากรอื่นได้ และลด อิทธิพลก่อนสอบก่อน

1.2 แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ ข้อเสีย : การทดสอบบ่อยอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดหายไปของหน่วย ทดลอง จะเหมาะสำหรับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างทันทีทันใด เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายหลักในการบริหารงาน หรือเจตคติของบุคคลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการ/ นโยบาย/การดำเนินงาน โดยใช้การวัดซ้ำก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง นั้นๆ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างกลุ่มได้ด้วย

1.2 แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ แบบแผนที่ 7 แบบแผนสี่กลุ่มของโซโลมอน (Solomon Four Group Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง R E O X C1 - C2 C3 ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่มั่นใจได้ว่า ปัจจัยแทรกซ้อนต่างๆ ของ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจะถูกควบคุมให้เท่าเทียมกันก่อนที่ จะให้สิ่งทดลอง เช่น ประสบการณ์ วุฒิภาวะและสามารถศึกษา พัฒนาการเปลี่ยนแปลงได้

1.2 แบบแผนการทดลองเต็มรูปแบบ ข้อเสีย : ต้องใช้กลุ่มในการทดลองหลายกลุ่มที่เท่าเทียมกันซึ่งค่อนข้าง หาได้ยากและยุ่งยากในการวิเคราะห์ทางสถิติ

1.3 แบบแผนกึ่งการทดลอง แบบแผนที่ 8 แบบแผนกลุ่มไม่เท่าเทียมทดสอบหลังอย่างเดียว (Non-Equivalent Control Group Posttest Only Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง - E X O C ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่สามารถศึกษาเปรียบเทียบผลของสิ่งที่ทำ ทดลองในตัวแปรตามได้ และไม่มีอิทธิพลของการทดสอบก่อน รบกวนสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวแปรตาม

การใช้แบบแผนนี้ ผู้วิจัยต้องมั่นใจว่า ลักษณะส่วนบุคคลของหน่วย 1.3 แบบแผนกึ่งการทดลอง ข้อเสีย : จะไม่สามารถควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนเกี่ยวกับคุณลักษณะของ หน่วยทดลองได้ เนื่องจากไม่มีการสุ่มหน่วยทดลองเข้ากลุ่ม การใช้แบบแผนนี้ ผู้วิจัยต้องมั่นใจว่า ลักษณะส่วนบุคคลของหน่วย ทดลองจะไม่ส่งผลต่อตัวแปรที่ศึกษา เช่น การศึกษาเกี่ยวกับเจตคติของบุคคลต่อวิธีการ/นโยบาย/การดำเนินงาน เป็นต้น

1.3 แบบแผนกึ่งการทดลอง แบบแผนที่ 9 แบบแผนกลุ่มไม่เท่าเทียมทดสอบก่อนหลัง (Non-Equivalent Control Group Pretest- Posttest Only Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง - E O X C ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่สามารถศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการหรือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลของสิ่งที่ทดลองในตัวแปรตามได้

1.3 แบบแผนกึ่งการทดลอง ข้อเสีย : ไม่สามารถควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนเกี่ยวกับคุณลักษณะของ หน่วยทดลองได้ เนื่องจากไม่มีการสุ่มหน่วยทดลองเข้ากลุ่มและ การสอบก่อนอาจมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งทดลองด้วย จะเป็นแบบแผนที่ต้องการลดจุดอ่อนของแบบแผนกลุ่มไม่เท่าเทียมทดสอบหลังอย่างเดียว โดยใช้ทดสอบก่อนเพื่อตรวจสอบความเท่าเทียมของกลุ่มก่อนที่จะให้สิ่งทดลองกับแต่ละกลุ่ม การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมควรเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการเปรียบ เทียบคะแนน

1.3 แบบแผนกึ่งการทดลอง แบบแผนที่ 10 แบบแผนกลุ่มไม่เท่าเทียมทดสอบหลายช่วงเวลา (Non-Equivalent Control Group Time Series Only Design) การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง - E O1 O2 O3 X O4 O5 O6 C ข้อดี : เป็นแบบแผนการวิจัยที่สามารถศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการหรือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลของสิ่งที่ทดลองในตัวแปรตามได้ ลด อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ของการทดสอบก่อนกับสิ่งทดลองได้โดย ไม่เพิ่มกลุ่ม

1.3 แบบแผนกึ่งการทดลอง ข้อเสีย : ไม่สามารถควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนเกี่ยวกับคุณลักษณะของ หน่วยทดลองได้ เนื่องจากไม่มีการสุ่มหน่วยทดลองเข้ากลุ่ม จะเป็นแบบแผนที่ต้องการลดจุดอ่อนของแบบแผนกลุ่มไม่เท่าเทียม ทดสอบก่อนหลัง โดยใช้ทดสอบก่อนและหลังหลายๆ ครั้งเพื่อตรวจสอบ อิทธิพลของการทดสอบ ทำให้สามารถเปรียบเทียบอิทธิพลของสิ่งทดลอง ได้ดีขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนกลุ่มในการทดลอง

การวิจัยแบบไม่ทดลอง (Nonexperimental Designs) 2. รูปแบบการออกแบบการวิจัยแบบไม่ทดลอง การวิจัยแบบไม่ทดลอง (Nonexperimental Designs) 2.1 การวิจัยตัดขวาง (Cross – Sectional Studies) ภูมิลำเนา (เมือง/ชนบท) การศึกษา การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

2. รูปแบบการออกแบบการวิจัยแบบไม่ทดลอง 2.2. การวิจัยแบบระยะยาว (Longitudinal Design) ใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกันหลายครั้ง (Panel Studies) แบบของการวิจัยระยะยาว การเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 2 3 4 กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว กลุ่ม ก ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง (Successive Samples) แบบของการวิจัยระยะยาว การเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 2 3 4 กลุ่มตัวอย่างที่เปลี่ยนในแต่ละครั้ง กลุ่ม ก กลุ่ม ข กลุ่ม ค กลุ่ม ง แบบผสม แบบของการวิจัยระยะยาว การเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 2 3 4 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่ม ก กลุ่ม ข กลุ่ม ค กลุ่ม ง