ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้า
ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้า หน้าที่สำคัญของส่วนประกอบวงจรไฟฟ้าในงานวิทยาศาสตร์ 1. ใช้เป็นตัวรับรู้ 2. ใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ 3. ใช้ในการควบคุม
ตัวต้านทานไฟฟ้า (Resistors) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า นิยมนำมาประกอบในวงจรทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ตัวต้านทานที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้า ทำหน้าที่ลดแรงดัน และจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ตัวต้านทานมีรูปแบบและขนาดแตกต่างกันตามลักษณะของการใช้งาน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด แบบค่าคงที่ แบบปรับค่าได้และแบบเปลี่ยนค่าได้ ตัวอย่างเช่น วงจรเครื่องรับวิทยุ, โทรทัศน์,เครื่องขยายเสียง
ตัวต้านทานไฟฟ้า Resistors
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitors) หน่วยของตัวเก็บประจุคือ ฟารัด (Farad) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บประจุ (Charge) และสามารถคายประจุ (Discharge) ได้ นิยมนำมาประกอบในวงจรทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ตัวอย่างเช่น วงจรกรองกระแส (Filter), วงจรผ่านสัญญาณ (By-pass), วงจรสตาร์ทเตอร์ (Starter), วงจรถ่ายทอดสัญญาณ (Coupling) ฯลฯ ตัวเก็บประจุแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ แบบค่าคงที่ แบบเปลี่ยนแปลงค่าได้และแบบเลือกค่าได้
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า Capacitors
ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า (Inductor) ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า หรือ อินดักเตอร์ (L) หน่วยของการเหนี่ยวนำคือ เฮนรี่ (Henry) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเหนี่ยวนำไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการสนามแม่เหล็กตัดผ่านขดลวด จะทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าในขดลวด ซึ่งจะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำขึ้น ตัวเหนี่ยวนำแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ แบบค่าคงที่ และ แบบปรับค่าได้
ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า Inductor การประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ
ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า Inductor
Thank you for your kind attention