ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพและจัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 18 สิงหาคม 2553
สรุปสาระสำคัญ ประกาศในนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 1. นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ เข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ หรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำตามกำหนดระยะเวลาดังนี้ - ก่อนให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ - ตรวจสุขภาพเป็นระยะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง - สำหรับลูกจ้างที่อายุตั้งแต่ 45 ปี ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง - เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทำงานประดาน้ำ หรือโรคอื่นที่แพทย์สั่งให้หยุดงานตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 2. ในการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปหากพบความผิดปกติให้นายจ้างปฏิบัติดังนี้ - ไม่ให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ - ให้ลูกจ้างรักษาพยาบาลทันที
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 3. นายจ้างต้องจัดให้มีการให้คำปรึกษาและการส่งต่อลูกจ้างผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการรักษาโดยมิชักข้าในกรณีเกิดอันตรายจากการทำงานประดาน้ำ 4. ให้นายจ้างจัดทำบัตรสุขภาพของลูกจ้าง โดยมีรายละเอียดตามแนบท้าย ประกาศนี้ และเก็บบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างไว้ในสถานประกอบกิจการพร้อมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา 5. ตัวอย่างบัตรตรวจสุขภาพที่ทำงานประดาน้ำ (การตรวจทางการแพทย์) /บัตรตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ (ประวัติทางการแพทย์)
จบการนำเสนอ