ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง จากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 2 มิถุนายน 2553
สาระสำคัญ ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน หมายความว่า ระบบบำบัดน้ำเสียที่กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัตหรือพระราชกฤษฎีกา หรืผู้รับจ้างให้บริการจัดมีขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการบริการบำบัดน้ำเสียรวบรวมจากชุมชน บ่อปรับเสถียร(Stabilization pond) หรือบ่อผึ่ง (Oxidation Pond) หมายความว่า บ่อบำบัดน้ำเสียแบบชีววิทยาที่อาศัยการเติมออกซิเจนตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำเสียได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ทั้งกรณีบ่อเดียวและหลายบ่อต่อเนื่องกัน โดยให้คำนวณปริมาตรของบ่อที่ระดับความลึกไม่เกิน 2 เมตร ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ มาตรฐานควบคุมระบายน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน ต้องมีค่า ความเป็นกรดและด่าง pH ระหว่าง 5.5-9.0 บีโอดี ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร กรณีที่หน่วยเป็นบำบัดสุดท้ายเป็นบ่อปรับเสถียร หรือบ่อผึ่ง ให้ใช้ค่าบีโอดีของน้ำที่ผ่านการกรองแล้ว (Filtrate BOD) ของแขวนลอย ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อลิตร กรณีหน่วยบำบัดสุดท้ายเป็นบ่อปรับเสถียรหรือบ่อผึ่ง ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำมันและไขมัน ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนโตรเจนทั้งหมด ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อไนโตรเจนต่อลิตร ฟอสฟอรัสทั้งหมด ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อลิตร
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ การตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนให้เป็นไปตาม Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ฉบับล่าสุด ซึ่ง American Public Health Association, American Water Work Association และ Water Environment Federation ร่วมกันกำหนดไว้ หรือตามวิธีอื่นที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ตามความเหมาะสมกับลักษณะและสภาพตัวอย่างน้ำ การกรองน้ำเพื่อหาค่าบีโอดี ให้ใช้วิธีกรองผ่านกระดาษกรองใยแก้ว ที่ใช้ในกระบวนการการกรองเพื่อหาค่าของแขวนลอยก่อนทำการวิเคราะห์หาค่าบีโอดีที่กำหนดไว้ใน Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ฉบับล่าสุด
จบการนำเสนอ