โครงสร้างภายในของโลก แบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ
โครงสร้างภายในของโลก แบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ โครงสร้างภายในของโลก แบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลก ออกเป็น 5 ส่วน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทาง กายภาพ ดังนี้
ลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) คือ ส่วนชั้นนอกสุดของโลก ประกอบด้วย เปลือกโลกและ แมนเทิลชั้นบนสุด ดังนี้ เปลือกทวีป (Continental crust) ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตมีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร ความหนาแน่น 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) เปลือกสมุทร (Oceanic crust) เป็น หินบะซอลต์ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ความหนาแน่น 3 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (มากกว่าเปลือกทวีป)
ลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) แมนเทิลชั้นบนสุด (Uppermost mantle) เป็นวัตถุแข็งซึ่งรองรับเปลือกทวีปและเปลือกสมุทร อยู่ลึกลงมาถึงระดับลึก 100 กิโลเมตร
แอสทีโนสเฟียร์ (Asthenosphere) เป็นแมนเทิลชั้นบนซึ่งอยู่ใต้ลิโทสเฟียร์ลงมาจนถึง ระดับ 700 กิโลเมตร เป็นวัสดุเนื้ออ่อนอุณหภูมิ ประมาณ 600 – 1,000C เคลื่อนที่ด้วยกลไกการ พาความร้อน (Convection) มีความหนาแน่น ประมาณ 3.3 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
เมโซสเฟียร์ (Mesosphere) เป็นแมนเทิลชั้นล่างซึ่งอยู่ลึกลงไปจนถึงระดับ 2,900 กิโลเมตร มีสถานะเป็นของแข็งอุณหภูมิ ประมาณ 1,000 – 3,500C มีความหนาแน่น ประมาณ 5.5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
แก่นชั้นนอก (Outer core) อยู่ลึกลงไปถึงระดับ 5,150 กิโลเมตร เป็น เหล็กหลอมละลายมีอุณหภูมิสูง 1,000 – 3,500C เคลื่อนตัวด้วยกลไกการพาความร้อน ทำให้เกิด สนามแม่เหล็กโลก มีความหนาแน่น 10 กรัมต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร
แก่นชั้นใน (Inner core)