ทักษะการอ่าน
ความหมายของการอ่าน การออกเสียงตามหนังสือเพื่อให้ได้ความหรือความเข้าใจ หรือเพื่อสื่อ ความตามหนังสือนั้น หรือแม้ไม่ออกเสียงก็ทำความเข้าใจความหมาย ต่างๆ ตามหนังสือนั้น และยังมีความหมายถึงการสังเกตพิจารณาสิ่ง ต่างๆ ให้เข้าใจ ตลอดจนการคิดเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจนั้นอีก ประการหนึ่งด้วย
การอ่านประเภทต่างๆ อ่านเอาเรื่อง : การอ่านเพื่อให้ได้ความรู้และความเข้าใจในเนื้อหา อ่านเอารส : การอ่านแล้วได้รับความรู้สึกกระทบอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่จิตใจ แก่สภาวะอารมณ์ หรือแก่ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ อาจ เกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ อ่านแปลความ : การอ่านเรื่องราวจากรูปภาษาใดภาษาหนึ่งแล้วเป็น แปลความเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไป อ่านถอดความ : การอ่านเรื่องที่เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองหรือ กวีนิพนธ์ แล้วถ่ายทอดอธิบายหรือเรียบเรียงออกเป็นร้อยแก้วหรือภาษา ทั่วไป
อ่านตีความ : การอ่านที่ต้องใช้ความขบคิดวินิจฉัยหรือค้นหา ความหมายที่แท้จริงที่ผู้เขียนต้องการส่งถึงผู้อ่าน อ่านขยายความ : การอ่านทำความเข้าใจเนื้อหา สามารถศึกษาทำความ เข้าใจถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องได้อย่างกว้างขวาง สามารถอธิบายขยาย ความที่เกี่ยวข้องกันนั้นได้ทุกแง่มุม ผู้อ่านต้องมีความรู้ มีทักษะและ ประสบการณ์การอ่านที่สูงมาก
สรุปความจากการอ่าน อ่านเรื่องแล้วจับใจความให้ได้ว่าเป็นเรื่องอะไร ผู้เขียนต้องการบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร หรืออะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล เก็บเฉพาะใจความสำคัญ นำเฉพาะใจความสำคัญมาเรียบเรียงด้วยภาษาของตนเอง เลือกใช้คำที่มีความหมายครอบคลุม กระชับ ชัดเจน