คุณค่าวรรณคดีด้านวรรณศิลป์
สมาชิกในกลุ่ม (ม.๕/๑) ๑.นางสาวรวิศร บุญเจริญ (๒) ๒.นางสาวณัฐวรา เข็มเพชรเจษฎา (๓) ๓.นางสาวรัชกมล พรบัณฑิตย์ปัทมา (๔) ๔.นางสาวดวงกมล ซ่อนขำ (๖) ๕.นางสาวพิราวรรณ์ จันทร์ศักดิ์รา (๗) ๖.นางสาวอรสุมา ตันศรีตรัง (๙) ๗.นางสาวธมนวรรณ ดิลกคุณานันท์ (๒๘)
วรรณศิลป์ วรรณศิลป์ มีความหมาย ตามพจนานุกรรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า “ศิลปะในการแต่งหนังสือ, ศิลปะทางวรรณกรรม,วรรณกรรมที่ถึงขั้นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี” โดยพิจารณาตั้งแต่การเลือกชนิดคำประพันธ์ให้เหมาะสมกับประเภทของงานเขียน ตกแต่งถ้อยคำให้ไพเราะสละสลวยอันเป็นลักษณะเฉพาะของภาษากวี ทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์
หลักเกณฑ์ ภาษากวีเพื่อสร้างความงดงามไพเราะแก่บทร้อยแก้ว หรือร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวข้องกัน ๓ ด้าน ดังนี้ ๑.การสรรคำ ๒.การเรียบเรียงคำ ๓.การใช้โวหาร
การสรรคำ การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์
การสรรคำสามารถทำได้ดังนี้ - การเลือกคำให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง - การใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย - การเลือกใช้คำพ้องเสียง คำซ้ำ - การเลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียงสัมผัส - การเลือกใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ - การเลือกใช้คำไวพจน์ได้ถูกต้องตรงตามความหมาย
ขอบคุณค่ะ