ภูมิปัญญาทางภาษา ของท้องถิ่น ภูมิปัญญาทางภาษา ของท้องถิ่น
ภูมิปัญญาทางภาษาของคนไทย เกิดจากประสบการณ์ และสะท้อนวิถีชีวิตของกลุ่มชน ใช้ภาษาไพเราะ น่าจดจำ
การใช้ถ้อยคำ
การใช้ถ้อยคำ มีความหมาย 2 อย่าง การใช้ถ้อยคำ มีความหมาย 2 อย่าง ความหมายโดยตรง เช่น เสือ หมายถึงสัตว์สี่เท้า คล้ายแมว ความหมายโดยนัย เช่น มือชั้นเสือ เสือผู้หญิง เสือ เป็นความหมายโดยนัย
สำนวนและภาษิต
เอามือซุกหีบ ยื่นหมูยื่นแมว สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร เช่น คว่ำบาตร ปิดทองหลังพระ เอามือซุกหีบ ยื่นหมูยื่นแมว
ภาษิต เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวในเชิงสั่งสอน เช่น คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
ที่มา ของสำนวนภาษิต
1. มาจากสภาพเกษตรกรรม ขิงก็ราข่าก็แรง กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ 1. มาจากสภาพเกษตรกรรม ขิงก็ราข่าก็แรง กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ ถึงพริกถึงขิง ขมิ้นกับปูน
ปิดทองหลังพระ คว่ำบาตร ขนทรายเข้าวัด มือถือสากปากถือศีล 2. มาจากความคิดเชิงพุทธศาสนา ปิดทองหลังพระ คว่ำบาตร ขนทรายเข้าวัด มือถือสากปากถือศีล
3. มาจากจารีตประเพณี ฝังรกฝังราก สู้จนเย็บตา ก้นหม้อไม่ทันดำ ไกลปืนเที่ยง
4. มาจากสิ่งของเครื่องใช้ ขวาน -- หน้าสิ่วหน้าขวาน เจอไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น ตอ -- น้ำลดตอผุด หัวหลักหัวตอ จุดไต้ตำตอ เรือ -- ชักใบให้เรือเสีย หีบ -- เอามือซุกหีบ ปิดหีบไม่ลง
5. มาจากชีวิตสัตว์ ไก่ - ไก่แก่แม่ปลาช่อน หมา - หมาจนตรอก ไก่ - ไก่แก่แม่ปลาช่อน หมา - หมาจนตรอก แมว - แมวมาหลังคาเปิง ปลา - รู้งูๆปลาๆ
คำให้พร หมายถึงข้อความที่กล่าวแสดงความปรารถนาดี เพื่อให้ได้รับในสิ่งที่พึงประสงค์ คำให้พร เป็นวรรณกรรม มุขปาฐะ ได้แก่ คำให้พรปีใหม่ คำให้พรเด็ก คำให้พร คู่บ่าวสาว
คำให้พรเด็ก ให้มีปัญญาเหมือนพระมโหสถ ให้มีน้ำอดเหมือนพระเตมีย์ ให้มั่งมีเหมือนพระเจ้ากรุงสญชัย ให้เย็นเหมือนลูกฟัก ให้หนักเหมือนลูกแตง ให้มีเรี่ยวแรงเหมือนหนุมาน ให้อยู่เย็นเป็นสุข อยู่กับพ่อแม่จนแก่เฒ่า ให้มีความสุขสวัสดี แดดอย่ารู้ไหม้ ไข้อย่ารู้มี
คำให้พรบ่าวสาว เจ้าทั้งสองจงฟังคำจำไว้ สมบัติของเจ้าอย่าให้ขาดสายให้ไหลมาเทมาเหมือนน้ำคงคา บ่อทรายอย่ารู้สิ้นรู้สุด ถึงจะมีบุตรกับวิสุทธิ์สืบสาย จะมีลูกหญิงก็เลี้ยงง่าย ...........เดชาพระพรให้ได้กับเจ้าทั้งสอง
คำสู่ขวัญ หมายถึง ข้อความที่กล่าวแสดงการอัญเชิญให้ขวัญกลับมาอยู่ประจำกาย เช่น คำสู่ขวัญนาค คำสู่ขวัญข้าว ขวัญเป็นสิ่งที่อยู่ประจำกายมนุษย์ สัตว์ใหญ่ ต้นไม้ เมื่อขวัญออกจากกายจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ต้องเรียกขวัญให้กลับคืนมา เรียกว่า “การสู่ขวัญ”
คำสู่ขวัญนาค ขออัญเชิญขวัญเจ้านาคหนึ่งเชื้ออริยวงศ์ แต่ก่อนขวัญเจ้าเคยลุ่มหลงด้วยโลกีย์กำหนัด ย่อมอาลัยในสมบัติทุกสิ่งสรรพอันอุดม...................ขวัญเจ้าเอยอย่าหลงเล่นในแนวหนองคลองละหาน จะได้เป็นแก่นสารก็หามิได้ เชิญขวัญพ่อมาสู่พุทธศาสนาอันบริสุทธิ์ เป็นโยคาพจรกุลบุตรบวชแล้วย่อมยินดี