หุ่นยนต์ (Robot)
ความหมายของ "หุ่นยนต์" ความหมายของ "หุ่นยนต์" สถาบันหุ่นยนต์อเมริกา (The Robotics Institute of America) ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ "หุ่นยนต์ คือเครื่องจักรใช้งานแทนมนุษย์ ที่ออกแบบให้สามารถตั้งลำดับการทำงาน การใช้งานได้หลากหลายหน้าที่ ใช้เคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ เครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษ ตลอดจนการเคลื่อนที่ได้หลากหลาย ตามที่ตั้งลำดับการทำงาน เพื่อสำหรับใช้ในงานหลากหลายประเภท"
ประวัติหุ่นยนต์ ปี 1921 นักประพันธ์ชาวเชกส์ Karel Acpek ได้ทำละครล้อเลียน โดยมีคำว่า Robot หรือคำว่า Robota ซึ่งแปลว่า ทาส หรือผู้ใช้แรงงาน Robot ในความหมายของCapek หมายถึง หุ่นยนต์ที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ มีแขน มีขา สามารถทำงานได้มากกว่ามนุษย์ 2 เท่า มีพลังมากกว่ามนุษย์ 2 เท่า
ประวัติหุ่นยนต์ ให้หลังจากนั้น 21 ปี ก็มีนักประพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ชื่อ Isaac Asimov เป็นคนที่สร้างแรงดึงดูดให้กับเด็กรุ่นต่อมาสนใจเรื่องหุ่นยนต์ อย่างมาก 1.หุ่นยนต์ห้ามทำร้ายมนุษย์ 2.หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังมนุษย์ 3.หุ่นยนต์ต้องป้องกันตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงในยุคสมัยนั้นยังไม่มีหุ่นยนต์จริง เป็นเพียงแค่จินตนาการ และความช่างฝันเท่านั้น
ประวัติหุ่นยนต์ 10 ปีต่อมาในปี 1952 การ์ตูนเรื่อง Astro Boy ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการ์ตูน ที่คงอยู่ในความทรงจำของคนหลายคน และด้วยหุ่นยนต์ตัวเอกชื่อ Tetsuwan Atom หุ่นยนต์ที่สามารถบินได้ โดยเวลาบินจะมีไฟพ่นออกมาจากเท้า การ์ตูนเรื่องนี้ถือว่าทรงอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา เช่นเดียวกับตัวหุ่นยนต์ R2D2 เป็นหุ่นยนต์กระป๋อง และหุ่นยนต์ C3po ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ที่ทำให้ภาพของหุ่นยนต์อยู่ในความนึกฝันและจินตนาการของใครหลาย
ประวัติหุ่นยนต์ ปี 1954 โดย George Devol วิศวกร ชาวสหรัฐอเมริกา ที่สามารถค้นคิดประดิษฐ์แขนของหุ่นยนต์ อย่างง่ายที่สามารถเคลื่อนไหว ทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม จากจุดนี้เองที่ทำให้การพัฒนาหุ่นยนต์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หุ่นยนต์ในประเทศไทย ในประเทศไทยใช้เทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์เช่นเดียวกันกับนานาชาติ โดยเฉพาะการแข่งขันหุ่นยนต์ในบ้านเราที่ผ่านมามักเน้นไปในลักษณะ Edutainment คือเป็นความสนุกควบคู่ไปกับการเรียนรู้ ในเกมการแข่งขันมากกว่า ซึ่งก็สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับโลกไม่น้อยเลย และที่น่าสนใจตอนนี้มีโครงการการแข่งขันประกวดหุ่นยนต์กู้ภัย ในระดับนักศึกษา ในโครงการ Thailand Rescue Robot Championship 2004 ซึ่งถือว่าเป็นรายการแรกของประเทศไทย ที่มีการแข่งขันการสร้างหุ่นยนต์กู้ภัย เพื่อช่วยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในการเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันตราย เช่น เหตุเพลิงไหม้, ตึกถล่ม หรือภัยจากเหตุวินาศกรรม
ลักษณะของหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์
ตัวอย่างหุ่นยนต์ ASIMO หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของ Honda ความสามารถ งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต
ตัวอย่างหุ่นยนต์ Shakey หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตัวแรกด้วยเซนเซอร์
ตัวอย่างหุ่นยนต์ หุ่นยนต์กุ๊ก ญี่ปุ่นสามารถสร้างหุ่นยนต์ทำความสะอาด และหุ่นยนต์ รินน้ำพร้อมเสิร์ฟ
ตัวอย่างหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ซึ่งพัฒนาโดยนักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หลักการสำคัญของแนวความคิดของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ คือการเป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติ สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือตัวมันเอง และยังคงทำงานต่อเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ตัวอย่างหุ่นยนต์ Stickybot หุ่นยนต์ตุ๊กแก เจ้าหุ่นยนต์ตุ๊กแกตัวนี้สามารถไต่กระจก หรือผิวเรียบได้ด้วยความเร็ว 4 เซนติเมตรต่อนาที ค่อนข้างช้านะคะ
ตัวอย่างหุ่นยนต์ หุ่นยนต์สังหาร หุ่นยนต์ทำงานใต้น้ำขึ้นสร้างแผนที่ของตำแหน่งทุ่นระเบิดในระดับผิวน้ำที่ยากต่อการมองเห็นของเรือนาวิกโยธินตอนบุกเข้าฝั่ง
ตัวอย่างหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ดูแลเด็กๆ“พาเพโร่” หุ่นยนต์ “พาเพโร่” เอาไว้สำหรับให้ผู้ปกครองดูแลลูกหลาน ในโรงเรียนอนุบาล ผู้ปกครองจะมี “พา เพ โร่” ไว้เพื่อดูแลเด็กๆ ไม่ให้คลาดสายตา และจะส่งข้อความผ่านมือถือรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้า “พา เพ โร่” ตัวอวบอ้วนกะปุ๊กลุก มีความสูง 38.5 เซนติเมตร และสามารถเคลื่อนไหวได้ไกล 20 เซนติเมตร ต่อวินาที
ตัวอย่างหุ่นยนต์ ตะลึง ! อนาคตในปี 2050 มนุษย์จะมีเซ็กซ์กับหุ่นยนต์ได้