ปัญญาประดิษฐ์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence & Expert System) อ.วชิระ หล่อประดิษฐ์ ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
ลองพิจารณายกตัวอย่างปัญญาประดิษฐ์ที่ นศ. รู้จัก
ที่มาของปัญญาประดิษฐ์ ศึกษากระบวนการคิดของมนุษย์ เขียนโปรแกรมให้เครื่องจักรเลียนกระบวนการคิดของมนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์
ความหมายของปัญญาประดิษฐ์ ปัญญาประดิษฐ์ = Artificial Intelligence : AI หมายถึง ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยากรคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้เครื่องจักร สามารถ คิดและเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ หมายถึง ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการนำเสนอองค์ ความรู้ การประมวลผลสารสนเทศด้วยสัญลักษณ์ หรือวิธีการแบบมีวิจารณา ญาณและสามัญสำนึก โดยไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่นเดียวกับมนุษย์ สามารถทำได้
ขีดความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ มีความสามารถในการเรียนรู้และทำความเข้าใจประสบการณ์ที่ผ่านมา สามารถทำความเข้าใจกับข้อความที่มีความคลุมเครือหรือมีความขัดแย้งกันได้ สามารถตอบสนองรวดเร็ว ถูกต้อง และตรงประเด็นกับสถานการณ์ใหม่ๆ สามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาและให้คำแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่มีความยุ่งยาก และสลับซับซ้อนได้ สามารถทำความเข้าใจ และสรุปความอย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถประยุกต์องค์ความรู้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สามารถพิจารณาถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ได้
ข้อแตกต่างของปัญญาธรรมชาติกับปัญญาประดิษฐ์ อาจสูญหายไปได้ตามกาลเวลา หรือล้มหายตายจากไปของผู้เป็นเจ้าขององค์ความรู้ สามารถจัดเก็บองค์ความรู้ได้ คงทน ถาวร การคัดลอกข้อมูลทำได้ยาก ต้องเสียค่าใชจ่ายให้กับผู้เชี่ยวชาญสูง ทำได้ง่าย รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย เนื่องจากเป็นการทำงานกับเครื่องจักร การจัดทำเอกสารยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง จัดทำเอกสารง่าย และเสียค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก อาจมีความลำเอียงจากผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้ให้องค์ความรู้ มีความรอบคอบ และยุติธรรมเสมอ ตามที่ได้โปรแกรมไว้ นำประสบการณ์ออกมาใช้ได้เลย ต้องมีการแปลงสารสนเทศก่อน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาศัยประสบการณ์สูงในการให้เหตุผล ถ้าเป็นปัญหาเฉพาะด้าน จะให้เหตุผลได้ดี
เทคโนโลยีที่เกิดจาก AI หุ่นยนต์ (Robotic) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) คอมพิวเตอร์โครงข่ายใยประสาท (Neural Computing) ตรรกะคลุมเครือ (Fuzzy Logic) ตัวแทนปัญญา (Intelligent Agent) ระบบความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality Systems)
หุ่นยนต์ (Robotic) เป็นเครื่องจักรกลไฟฟ้า สร้างขึ้นมาเพื่อทำกิจกรรมบางอย่าง แทนมนุษย์ ส่วนมากใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อ ลดความเสี่ยงของมนุษย์ มีอุปกรณ์รับความรู้สึกต่างๆ เช่น กล้อง ที่ใช้รวบรวมสารสนเทศและ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการทำงาน ในปัจุบันหุ่นยนต์สามารถตอบสนองต่อ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ ดีขึ้น
Furby Sensor
คอมพิวเตอร์โครงข่ายใยประสาท (Neural Computing) เป็นการประยุกต์ใช้ศาสตร์แขนงต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ต้นแบบมาจากเซลล์ สมอง เป็นการนำเสนอและประมวลผลองค์ ความรู้มีลักษณะเป็น “การประมวลผล แบบขนาน (Parallel Processing)” คือการประมวลผลองค์ความรู้และ สารสนเทศได้คราวละมากๆ สามารถรับและจดจำสารสนเทศใน รูปแบบที่เป็นประสบการณ์ได้อย่าง มากมาย Input Weight Summation Function Transfer Function Output
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) ในการตัดสินใจ ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ แต่การจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ต่างๆ ต้องใช้เวลามากมายหลายปี จึดงต้องนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาเก็บลงฐานข้อมูล เพื่อใช้แก้ปัญหาที่ซับซ้อน โดยเข้ามาทำงานแทนที่ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ ตัวอย่าง Expert System แบบง่าย
โครงสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เก็บองค์ความรู้ต่างๆ Knowledge Based Facts User Inference Engine Expertise ดึงองค์ความรู้มาสรุปและอธิบาย
การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing : NLP) Keyboard Microphone เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับ Computer โดยใช้เสียงพูด เป็น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ก็ได้ ประเภทของการประมวลผล ภาษาธรรมชาติ การทำความเข้าใจภาษาธรรมชาติ (Natural Language Understanding) คำพูด คำสั่ง การสร้างภาษาธรรมชาติ (Natural Language Generation) คำพูด คำสั่ง คำพูดโต้ตอบ ตัวอย่าง NLP : Bot Colony
ตรรกะคลุมเครือ (Fuzzy Logic) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตรรกะ ที่แตกต่างไปจากตรรกะแบบเดิมๆ ซึ่ง มักจะมีเพียง ใช่หรือไม่ใช่ แต่ก็มีเหตุการณ์หลายอย่างที่ในความเป็นจริงแล้ว สร้างความยุ่งยากใจให้แก่ผู้ วิเคราะห์ว่า ตรรกะควรเป็นอย่างไร เช่น สีดำ และขาว สีดำ สีเทาอ่อน สีเทาเข้ม สีขาว สร้างกฎเพื่อการตัดสินใจให้กับเครื่องจักร นิยมใช้ใน การปรับอุณหภูมิของ Air ระบบเบรก ABS
ตรรกะคลุมเครือ (Fuzzy Logic) แนวทางการสร้างกฎ กฎเกณฑ์: IF(ถ้า) <เงื่อนไข> THEN(แล้ว) <ผลที่ตามมา> ตัวอย่างกฎ IF อุณหภูมิ เย็นมาก THEN หยุดพัดลม IF อุณหภูมิ เย็น THEN ปรับพัดลมให้ช้าลง IF อุณหภูมิ ปานกลาง THEN รักษาระดับความเร็ว IF อุณหภูมิ ร้อน THEN ปรับพัดลมให้เร็วขึ้น Fuzzy Logic Example
ตัวแทนปัญญา (Intelligent Agent) เป็น AI ล่าสุดที่ได้ถูกพัฒนาขึ้น เป็น AI ที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ จากการใช้งานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะสามารถเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น เพื่อหาข้อมูลและสารสนเทศที่ผู้ใช้ ต้องการ ลักษณะของตัวแทนปัญญา มีความเป็นอิสระ (Autonomous) ทำงานได้ด้วยตัวเอง มีการทำงานเป็นโมดูล (Module) สามารถนำไปใช้ต่างระบบได้ มีการทำงานเฉพาะด้านและทำงานอย่างอัตโนมัติ (Dedicated and Automated) ทำงานเฉพาะด้าน ใช้งานง่าย (Friendly) ใช้งานง่าย มีความน่าเชื่อถือ สามารถเรียนรู้ได้ (Able to Learn) เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้ และทำนายอนาคตได้ สามารถโต้ตอบได้ (Interactive) โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ Example : AI Agent
ระบบความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality Systems) เป็นระบที่ชว่ยให้ผู้ใช้สามารถเคลื่อนไหว และมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมที่ ถูกจำลองขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะสามารถทำงานได้ โดยการสั่งการผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แว่นตา ถุงมือ หมวก เป็นต้น โดยอาศัยหลักการของ ตำแหน่ง มุม และรูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆ ให้เหมือนกับ สายตามนุษย์ในการมองในโลกแห่งความจริง VR Example
Questions & Answers