บทที่ ๖ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และ อินเตอร์เนต ( Computer Networks and the Internet ) ๑. ๑ อินเตอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสาย ตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงาน ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่ว โลก
มุมมองด้านองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ จะมีการทำงานร่วมกัน ๑. อุปกรณ์ที่มีความสามารถในการคำนวณ หรือ คอมพิวเตอร์ ( Computering Devices ) ๒. ลิงค์สื่อสาร ( Communication Link ) ๓. เร้าเตอร์ ( Router ) ๔. โปรโตคอล ( Protocol ) ๕. เครือข่ายของเครือข่าย ( Network of Network ) ๑. ๒ ส่วนขอบของเครือข่าย ( Network Edge ) ส่วน ขอบของเครือข่าย เป็นส่วนของโฮสต์ หรือ ระบบ ปลายทาง ( End System ) ที่ผู้ใช้ทั่วไปทำงานกับระบบ เครือข่ายนั่นเอง โดย บนโฮสต์ จะมีการทำงาน โปรแกรมแอพลิเคชั่น บนระบบเครือข่าย
๑. ๓ การเข้าถึงเครือข่าย และ สื่อ กายภาพ (Access Network and Physical Media) การเข้าถึงระบบเครือข่าย สามารถ แบ่งกลุ่มออกเป็น ๓ ลักษณะคือ การเข้าถึงผ่านที่อยู่อาศัย ( Residential Access ) การเข้าถึงผ่านที่ทำงานหรือหน่วยงาน ( Institutional Access ) การเข้าถึงแบบไร้สาย ( Wireless Access )
๑. ๔ แกนเครือข่าย (Network Core) แกนเครือข่าย คือ การเชื่อมโยงของกลุ่ม อุปกรณ์สวิทซ์ หรือเร้าเตอร์ และลิงค์ ที่ทำการ เชื่อมโยงระหว่างระบบปลายทาง ( End System ) โดยจะมี ลักษณะการทำงานแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ๑. เครือข่ายเซอร์กิตสวิทซ์ เครือข่ายแบบเซอร์กิตสวิทซ์ มีคุณสมบัติ ที่สำคัญคือ ทรัพยากรของระบบเครือข่าย เช่น บัฟเฟอร์ หรือ แบนด์วิทธ์ จะมีการจอง ไว้ สำหรับการติดต่อ (Call) ระหว่างระบบ ปลายทาง
๒. เครือข่ายแพ็คเก็ตสวิทซ์ เครือข่ายแพ็คเก็ตสวิทซ์ มีคุณสมบัติที่ สำคัญคือ การติดต่อสื่อสารไม่มีการสร้าง เส้นทางและไม่มีการจองทรัพยากรตลอด เส้นทาง หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าทรัพยากรบน เครือข่ายถูกใช้ร่วมกัน ๓. โครงสร้างของอินเตอร์เน็ต โครงสร้างของอินเตอร์เน็ต จะมี ลักษณะสำคัญคือ เป็นเครือข่าย ซ้อน เครือข่าย โดยมีระดับการทำงานของ เครือข่ายที่แตกต่างกัน ( Hierarchical )
๑. ๕ เวลาหน่วง การสูญหาย และ ทรู พุท ( Throughput ) บนเครือข่ายแพ็คเก็ต สวิทซ์ เวลาหน่วง ( Delay ) เวลาที่แพ็คเก็ตใช้ไปในการเดินทางจากต้นทาง ไปยังปลายทาง การสูญหาย ( Loss ) การสูญหายของข้อมูลบนเครือข่ายแพ็คเก็ต สวิทซ์ จะมาจากผลที่คิว ( บัฟเฟอร์ ) เต็มทำให้แพ็ค เก็ตที่เข้ามาใหม่ถูกเร้าเตอร์ทิ้ง ( Drop ) ไป ทรูพุท ( Throughput ) การวัดประสิทธิภาพการทำงานบนระบบ เครือข่ายนั้น จะใช้ตัววัดที่สำคัญคือ ทรูพุท ซึ่งจะ เป็นการบอกถึงอัตราการส่งข้อมูลในขณะนั้น ระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับ มีความเร็ว เท่าใด
๑. ๖ ชั้นโปรโตคอล ( Protocol Layer ) และโมเดลการบริการ ( Service Model ) การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย จะเกิดขึ้นได้มีขั้นตอนมากมาย เช่น วิธีการรับส่ง หรือการโต้ตอบระหว่าง เครื่องส่งและเครื่องรับ
๑. ๗ การโจมตีบนเครือข่าย หัวข้อนี้จะพูดถึงภาพรวมของการโจมตีที่ เกิดขึ้นบนระบบเครือข่าย โดยแบ่งเป็น ภาพ ๒ ด้านคือ ๑. การโจมตีโดยแพร่จากมัลแวร์ ( Malware ) เข้าไปที่โฮศต์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ๒. การโจมตีที่เซิฟเวอร์หรือโครงสร้าง ของระบบเครือข่าย