การพันผ้า (Bandaging)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ชุดเสื้อสูทน้ำเงิน ไม่มีปก
Advertisements

PINKLAO USES FOR HANGING THE ARM & LEG 2010
เงื่อนลูกเสือ -เนตรนารี
เรียนรู้บริหารจิตและกายให้เข้ากับโครงสร้างร่างกายของแต่ละบุคคล
เรียนรู้บริหารจิตและกายให้เข้ากับโครงสร้างร่างกายของแต่ละบุคคล
ด.ญ. มินตรา บุตระ เลขที่ 31 ม. 2/5 ด.ญ. ชลธิชา สุ่มลาย เลขที่ 36 ม.2/5
โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
นาวาโท สมบูรณ์ เจิมสุจริต E.T.
นาวาโท สมบูรณ์ เจิมสุจริต E.T.NURSE
PINKLAO MOBILE EXCERCISE 2010
การดูแลสุขภาพวิถีไทย(นวดตัวและกดจุดฝ่าเท้า)
การดูแลสุขภาพวิถีไทย(นวดตัวและกดจุดฝ่าเท้า)
ยืดน่องส่วนบน เริ่มจากท่ายืนหันหน้าหากำแพงเท้าทั้งสองข้างแยกจากกันเล็กน้อยก้าวเท้าซ้ายออกเข่าซ้ายงอ มือ ทั้งสองยันกำแพง งอขาซ้ายให้มากขึ้น พลางขยับเท้าขวาถอยไปด้านหลังยืดกล้ามเนื้อน่องขวาค้างไว้สักครู่
เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า
ปวดหลังส่วนล่าง LOW BACK PAIN
การบริหารร่างกายทั่วไป
การตบ (Spike) การตบ (Spike) เป็นทักษะที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจในการแข่งขัน เป็นทักษะที่จูงใจให้เด็กๆ อยากเล่นวอลเลย์บอลมากที่สุด สำหรับเนื้อหาในตอนนี้เป็นภาพรวมในด้านต่างๆ.
หลักสำคัญในการล้างมือ
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
แนวทางการใช้ยาปฎิชีวนะ
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่มือ
หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์เด็ก
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
การบริหารกล้ามเนื้อต้นคอ
และคุณสมบัติอุปกรณ์การสร้างฉาก โดย อาจารย์ ศิริมงคล นาฏยกุล
ขั้นตอนการประดิษฐ์ที่รองแก้ว
หลักการและเทคนิคการจัดท่า การเคลื่อนไหวและการฟื้นฟูร่างกาย
ตำแหน่งของลำตัวและศรีษะ
การละเล่นของไทย จัดทำโดย ด.ญ.พรหมพร แสงผึ้ง ด.ญ.พัชราภา มหาวิจิตร เสนอ
การสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะ
การสร้างบุคลิกภาพที่ดี
เลื่อยมือ hack saw.
การเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป
การแต่งกายด้วยผ้าไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ (สบก.)
ดอกไอริสจากใยบัว.
พับ...งูเล็ก.
สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชางานประดิษฐ์จากดินไทย
ฤาษีดัดตน ‘Hermit body-contorting exercise’.
นี่เป็นบริการสาธารณะ นำเสนอ นี่เป็นบริการสาธารณะ นำเสนอ ภายใต้การนำและนวตกรรมของท่านประธาน Miguel Martin N. Moreno II, M.D.
( Cardiopulmonary Resuscitation : CPR )
นวัตกรรม ถุงประคบมือถือ
การเป็นลมและช็อก.
การปฐมพยาบาลกรณีตกเลือด เกิดบาดแผล และการทำแผล
การช่วยเหลือผู้จมน้ำ
กรณีกดจุดระงับหอบหืด ให้ผู้อื่นกดให้
กำมือ เคาะเบาๆ ที่สันหลัง จากบนลงล่าง 6 เที่ยว
การสร้างแบบเสื้อและแขน
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
การเจริญเติบโตของร่างกาย
นอนคว่ำ ให้ผู้อื่นกดจุด นิ้วหัวแม่มือซ้ายขวา กดเบาๆ ไล่ตามแนวสันหลัง
นพ.ธีรวีร์ วีรวรรณ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์ฯ 56 ทับเจริญ สำนักอนามัย
บทที่ 7 หลักการเย็บประกอบตัวกระโปรง.
กำมือ ข้อนิ้วชี้คลึงหนักๆ ที่ด้านข้างกึ่งกลางศีรษะ 5 วินาที 5 ครั้ง
นิ้วกลางไขว้ทับนิ้วชี้ กดมุมกระดูกขากรรไกรล่างซ้ายขวา เบาๆ
นิ้วหัวแม่มือกดกลางฝ่ามือ กด นับ 3 ; คลาย นับ 3 ; 5 ครั้ง
การตรวจ มะเร็งเต้านมด้วยตนเอง.
ระบบน้ำเหลืองและเต้านม
พื้นฐานพิมพ์ดีด โดย นางสุริยา พรรณราย.
โดย รองศาสตราจารย์จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง คลิกเม้าส์เพื่อเปิดหน้า 2
การเจริญเติบโตของร่างกาย
ไดร์เป่าผม เป่าขอบก้นสองข้างให้ทั่ว 1 นาที
เพิ่มความยืดหยุ่นข้อต้นขา
ครูจรัสศรี พัฒน์ทอง และครูประไพ อิงคะวะระ รายการ “ ดอกไม้กับ ใบไม้ ”
ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา นวัตกรรมผ้ายืดมหัศจรรย์
พรพรรณ เจริญวัฒนวิญญู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
คลายกล้ามเนื้อแนวสันหลัง
5. การทาบกิ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การพันผ้า (Bandaging) โดย ... ครูนวพร โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา จังหวัดชัยภูมิ

การพันผ้า (Bandaging)        เมื่อเกิดการบาดเจ็บจากกระดูกหัก หรือมีบาดแผลตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย การพันผ้าก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ใช้ในการปฐมพยาบาลเพื่อร่วมกับการดามอวัยวะที่หัก หรือ พันแผลก่อนนำส่งโรงพยาบาล      ผู้ช่วยเหลือจะต้องฝึกพันผ้าเสมอ ๆ จนกระทั่งสามารถพันได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว และควรเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคนิคการพันผ้าไว้ประมาณ 2-3 วิธี เพื่อจะได้ดัดแปลงพันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทุกส่วน      ชนิดของผ้าพันแผลที่ใช้ในการปฐมพยาบาลแบ่งกว้าง ๆ ได้ 2 ชนิด           1. ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วน แบ่งเป็นชนิดธรรมดา (Roll gauze bandage) และ ชนิดผ้ายืด (Elastic bandage) ซึ่งชนิดผ้ายืดจะมีความยืดหยุ่นได้ดีกว่า มีขนาดแตกต่างกัน โดยมีความกว้าง 1,2,3,4, หรือ 6 นิ้ว การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของอวัยวะที่บาดเจ็บ เช่น ที่นิ้วมือใช้ขนาด 1 นิ้ว ส่วนศีรษะใช้ขนาด 6 นิ้ว เป็นต้น ขนาดของผ้าที่พอเหมาะคือ เมื่อพันแล้วขอบของผ้าควรกว้างกว่าขอบบาดแผลอย่างน้อยหนึ่งนิ้ว           2. ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular bandage) เป็นผ้าสามเหลี่ยมมีฐานกว้าง และด้านประกอบสามเหลี่ยมยาว 36-40 นิ้ว ในบางโอกาสวัสดุดังกล่าวหาไม่ได้ ดังนั้นผู้ปฐมพยาบาลอาจต้องดัดแปลงวัสดุอื่นมาใช้แทน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หรือแม้แต่เข็มขัดผ้า แต่จะต้องเลือกเฉพาะที่สะอาด ๆ เท่านั้น ประโยชน์ของผ้าพันแผล      ใช้ห้ามเลือด, ป้องกันการติดเชื้อ, พันเฝือกในรายกระดูกหัก,ใ ช้ยึดผ้าปิดแผลให้อยู่กับที่

ภาพที่ 19 Elastic bandage หลักทั่วไปในการพันผ้า      1. ก่อนพันผ้าทุกครั้ง ผ้าที่พันต้องม้วนให้เรียบร้อย ไม่หลุดลุ่ย      2. จับผ้าด้วยมือข้างที่ถนัด โดยหงายม้วนผ้าขึ้น      3. วางผ้าลงบริเวณที่ต้องการพัน พันรอบสัก 2-3 รอบ เมื่อเริ่มต้น และสิ้นสุดการพัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าคลายตัวหลุดออก      4. พันจากส่วนปลายไปหาส่วนโคน หรือ พันจากข้างล่างขึ้นข้างบน หรือ พันจากส่วนเล็กไปหาส่วนใหญ่      5. เมื่อสิ้นสุดการพัน ควรผูกหรือใช้เข็มกลัดหรือติดลาสเตอร์ให้เรียบร้อย แต่ไม่ให้ทับบริเวณแผล      6. การใช้ผ้ายืดต้องระวังการรัดแน่นจนเกินไป จนเลือดเดินไม่สะดวกและกดทับเส้นประสาท สังเกตได้จากการบวม สีผิวซีด ขาว และเย็น พร้อมทั้งผู้บาดเจ็บจะบอกถึงอาการปวดและชา      7. ถ้ามีอาการปวดและชา บริเวณที่พันผ้า ให้รีบคลายผ้าที่พันไว้ออกแล้ว จึงพันใหม่ ภาพที่ 19 Elastic bandage

ภาพที่ 20 Triangular bandage ลักษณะต่างๆ ของการพันผ้าพันแผลชนิดม้วนและวิธีทำ      1. การพันรอบหรือพันเป็นวงกลม (Circular turns) เป็นการพันรอบที่ใช้กับส่วนที่เป็นวงกลม และมักใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดจบของการพันผ้าพันแผลชนิดม้วนลักษณะอื่น ๆ อวัยวะที่เหมาะสำหรับการพันรอบ เช่น รอบศีรษะ รอบนิ้วมือ รอบข้อมือ เป็นต้น ซึ่งมีวิธีการพันตามลำดับดังนี้           1.1 ใช้มือขวาจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง           1.2 พันรอบบริเวณที่ต้องการพันหลาย ๆ รอบ           1.3 ติดเข็มกลัด หรือ ผูกชายผ้าให้เรียบร้อย ภาพที่ 21 วิธีการพันเป็นวงกลม

ภาพที่ 22 วิธีการพันเป็นเกลียว 2. การพันเป็นเกลียว (Spiral turns) เป็นการพันกับอวัยวะที่ยาว เช่น ต้นแขน ต้นขา หน้าแข้ง ลำตัว เป็นต้น ซึ่งมีวิธีการพันตามลำดับดังนี้           2.1 ใช้มือขวาหรือซ้ายจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง           2.2 พันรอบ 2-3 รอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าคลายตัว           2.3 พันเฉียงขึ้นไปเป็นเกลียวโดยให้เหลื่อมกันประมาณ 2 ใน 3 ของผ้า           2.4 เมื่อสิ้นสุดการพันให้พันรอบ อีก 2-3 รอบ ติดเข็มกลัดหรือผูกชายผ้าให้เรียบร้อย ภาพที่ 22 วิธีการพันเป็นเกลียว    3. การพันรูปเลขแปด (Figure of eight turns) เป็นการพันอวัยวะที่เป็นส่วนของข้อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อสะโพก ข้อศอก และหัวไหล่ เป็นต้น มีวิธีการพันตามลำดับดังนี้           3.1 ใช้มือขวาหรือซ้ายจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง พันรอบ 2-3 รอบ           3.2 พันขึ้นไปเป็นเกลียวแล้วอ้อมกลับเป็นรูปเลขแปด           3.3 พันขึ้นไปโดยให้ผ้าเหลื่อมกันให้ลายขนานกัน           3.4 ระวังไม่ให้เกิดรอยย่น ไม่พันผ้าแน่นจนเกินไป โดยระวังไม่ให้ดึงผ้าในขณะที่พันผ้า           3.5 เมื่อสิ้นสุดการพัน พันรอบประมาณ 2-3 รอบ ติดเข็มกลัดหรือผูกชายผ้าให้เรียบร้อย ภาพที่ 23 วิธีการพันผ้ารูปเลขแปด

ภาพที่ 24 การพับผ้าสามเหลี่ยม วิธีการเก็บปลายผ้าพันแผล การใช้ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular bandages)      การใช้ผ้าสามเหลี่ยม เมื่อมีบาดแผลต้องใช้ผ้าพันแผล ซึ่งขณะนั้นมีผ้าสามเหลี่ยม สามารถใช้ผ้าสามเหลี่ยมแทนผ้าพันแผลได้ โดยพับเก็บมุมให้เรียบร้อย และก่อนพันแผลต้องพับผ้าสามเหลี่ยมให้มีขนาดเหมาะสมกับบาดแผลและอวัยวะที่ใช้พัน ภาพที่ 24 การพับผ้าสามเหลี่ยม

ภาพที่ 25 การใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน 1. การคล้องแขน (Arm sling) ในกรณีที่มีกระดูกต้นแขนหัก หรือกระดูกปลายแขนหัก เมื่อตกแต่งบาดแผลและเข้าเฝือกชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว จะคล้องด้วยผ้าสามเหลี่ยมตามลำดับดังนี้           1.1 วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดของสามเหลี่ยมอยู่ใต้ข้อศอกข้างที่เจ็บ ให้ชายผ้าด้านพบพาดไปที่ไหล่อีกข้างหนึ่ง           1.2 จับชายผ้าด้านล่างตลบกลับขึ้นข้างบน ให้ชายผ้าพาดไปที่ไหล่ข้างเดียวกับแขนข้างที่เจ็บ           1.3 ผูกชายทั้งสองให้ปมอยู่ตรงร่องเหนือกระดูกไหปลาร้า           1.4 เก็บมุมสามเหลี่ยมโดยใช้เข็มกลัดติดให้เรียบร้อย ภาพที่ 25 การใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน

ภาพที่ 26 การใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันศีรษะ      2. การพันศีรษะ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าใช้ผ้าพันแผลชนิดม้วน           2.1 วิธีใช้ผู้ปฐมพยาบาลต้องเริ่มต้นด้วยการพับด้านฐานสองทบกว้างประมาณ 2 นิ้ว           2.2 จากนั้นวางผ้าบนศีรษะผู้ป่วยโดยให้ด้านฐานอยู่เหนือหน้าผาก จับชายผ้าด้านข้างทั้งสองข้างสลับกันที่ด้านหลังศีรษะแล้วอ้อมผ่านบริเวณเหนือหูมาผูกตรงจุดกึ่งกลางหน้าผาก           2.3 ชายผ้าที่เหลืออยู่ด้านหลังศีรษะจับม้วนขึ้นและพับเหน็บให้เรียบร้อย ภาพที่ 26 การใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันศีรษะ

ภาพที่ 27 การใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันมือ  3. การพันมือ ใช้กรณีที่มีบาดแผลที่มือ ทำตามลำดับดังนี้           3.1 วางมือที่บาดเจ็บลงบนผ้าสามเหลี่ยม จับมุมยอดของผ้าสามเหลี่ยมลงมาด้านฐานจรดบริเวณข้อมือ           3.2 ห่อมือโดยจับชายผ้าทั้งด้านซ้ายและขวาไขว้กัน           3.3 ผูกเงื่อนพิรอดบริเวณข้อมือ ภาพที่ 27 การใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันมือ

ขอบคุณที่มาข้อมูล: http://www.nurse.nu.ac.th ครูนวพร ศรีวงษ์ชัย โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2 WWW.nawaporn@bantan.ac.th ขอบคุณที่มาข้อมูล: http://www.nurse.nu.ac.th