การเลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานทำได้ง่าย มีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามร้านค้าทั่วไป แต่ผู้ใช้งานควรพิจารณาว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อทำงานด้านใด เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ใช้ได้กับงานทุกประเภทหรืองานเฉพาะด้าน
แม้ว่าราคาเครื่องอุปกรณ์ต่างๆจะถูกลง แต่ผู้ใช้ควรเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้คุ้มค่ากับจำนวนเงิน ตัวอย่างของการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของงานแต่ละประเภท งานด้านเอกสาร รายงาน หรือสำนักงาน งานด้านกราฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ และสื่อมัลติมีเดีย เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามการใช้งาน งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Office เพื่อจัดทำเอกสาร รายงานเพื่อนำเสนอ หรือาจจะใช้โปรแกรม Photoshop แต่งภาพเล็กๆน้อยๆเป็นต้น
ส่วนผู้ใช้มือใหม่เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อจะดีกว่า เพราะ จะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหาได้บ่อยครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง
งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับจัดการด้านเอกสารรายงาน ตกแต่งภาพ ทำการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ดูภาพยนตร์หรือสื่อทางการศึกษา ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น ซอฟแวร์ประมวลคำ และซอฟแวร์ตารางทำงาน
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1 GHz ขึ้นไป แต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB และอาจเลือกใช้จอภาพแบบแอลซีดีขนาดใหญ่ 17 – 19 นิ้ว เพื่อถนอมสายตา เนื่องจากลักษณะงานต้องจ้องมองจอภาพตลอดเวลา
งานกราฟิก เป็นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ และมีการเรียกใช้งานโปรแกรมหราฟิกหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ใช้ซอฟแวร์กราฟิกในการสร้างชิ้นงาน เช่น งานสิ่งพิมพ์ งานนำเสนอแบบมัลติมีเดีย สร้างเว็บไซต์ ติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมากที่มีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไปใช้แรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิก (graphic user) งานด้านกราฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆตัว เช่น โปรแกรม Photoshop, IIIustrator, CorelDraw, PageMaker เป็นต้น
ซึ่งราคาคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ผู้ใช้ระดับนี้จึงควรจะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะจะทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟิก และทำให้ใช้งานโปรแกรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย
งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ สร้างการ์ตูน แอนิเมชัน (animation) ตัดต่อวีดีทัศน์ ตัดต่อเพลง เล่นเกมที่มีกราฟิกสูง งานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณและแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ดังนั้น ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB
การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงได้ดีควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟเนื่องจากการทำงานประเภทนี้คอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนานถ้าหากไฟดับหรือไฟกระตุกจะไม่สะดวกในการเริ่มทำงานใหม่
ระดับผู้เล่นเกม ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ แต่ในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากจนเกินไป
ดังนั้นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่สำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน และยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียการเรียนแล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย
การรับประกันอุปกรณ์ที่ยาวนานที่สุดและมีระยะเวลา รับประกันแตกต่างจากชนิดอื่น ระยะเวลารับประกัน CPU 1-3 ปี ฮาร์ดดิสก์ 1 ปี , 3 ปี, 5 ปี ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต RAM ตลอดอายุการใช้งาน Mainboard 1 ปี VGA Card Power supply
การรับประกันสินค้า ระยะเวลาในการรับประกันสินค้าขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอุปกรณ์แต่ละชิ้น ซึ่งตามปกติแล้วคอมพิวเตอร์แบบประกอบเองมักมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องยี่ห้อ (Brand Name) ซึ่งมีราคาแพงกว่าอาจมีการรับประกันถึง 3 ปี ถ้าหากเรามีงบประมาณไม่เพียงพอ การเลือกซื้อแบบประกอบเองก็เป็นทางเลือกที่ดี
ทั้งนี้ ถ้ามีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้วจะพบว่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในชิ้นมีการรับประกันมากกว่านั้นอีก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเรามากโดยมีรายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์ดังนี้ คือ
- ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) ผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง คือ Seagate และ Quantum ซึ่งนำเข้าโดยบริษัทอินแกรมและดีคอมพิวเตอร์ ซึ่งฮาร์ดดิสก์ของทั้งสองบริษัทดังกล่าวเป็นที่นิยมใช้กันมากในบ้านเรา เนื่องจากมีราคาถูกและแข็งแรงทนทานประกอบกับการรับประกันนานถึง 3 ปี
ถ้าเสียหายใน 1 เดือนแรก บริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ให้ทันที การรับประกันโดยทั่วไปไม่ครอบคลุมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้ เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือเสียบเพราะทำหล่นหรือกระแทกอย่างแรง
-เมนบอร์ด (Main board) ส่วนใหญ่จะมีการรับประกันขั้นต่ำ 1 ปี แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่มีชื่อเสียงจะมีการรับประกันถึง 3 ปี ซึ่งมีราคาสูงกว่าเล็กน้อยแต่ก็คุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาในการรับประกัน ซึ่งจะรับประกันในกรณีที่เสียจากการใช้งานตามปกติเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดของเราเอง
เช่น ไหม้ เนื่องจากเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดลงไปอย่างแรงทำให้เมนบอร์ดหักหรือลายวงจรขาด เป็นต้น โดยทั่วไปถ้าเมนบอร์ดเสียภายในเวลา 1 เดือนร้านจะเปลี่ยนให้ใหม่ (Clamed) ถ้าเสียหายหลังจากนั้นทางร้านจะส่งซ่อมโรงงาน และให้เรามารับกลับเมื่อซ่อมเสร็จแล้ว
-ซีพียู (CPU) ซึ่งซีพียูที่มีชื่อเสียง คือ ค่ายของ Intel นำเข้าโดยบริษัทอินแกรมและดีคอมพิวเตอร์ส่วนซีพียูของค่าย AMD นำเข้าโดยบริษัท Power Highland และค่ายของ VIA ซึ่งซีพียูของทั้งสามบริษัทนี้มีการรับประกันสินค้า 3 ปี ส่วนซีพียูที่นำเข้าโดยผู้ค้ารายย่อยอื่นๆ มีการรับประกันเพียง 1 ปี ดังนั้นก่อนซื้อควรพิจารณาดูให้ดี แต่ตามปกติแล้วซีพียูมักจะเสียหายยากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ นอกจากเราจะทำการโอเวอร์คล็อกมาเกินไปจนทำให้เกิดความร้อนสูง หรือในกรณีที่เราเสียบขาซีพียูลงใน Slot หรือ Socket ผิดด้าน จะทำให้ซีพียูไหม้
ซึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันเช่นเดียวกับเมนบอร์ด โดยทั่วไปถ้าซีพียูเสียหายภายใน 1 เดือน ทางร้านจะเปลี่ยนให้ใหม่ แต่ถ้าเสียหายหลังจากนั้นทางร้านจะส่งคืนโรงงานรอการเคลมประกันต่อไป
-หน่วยความจำหรือแรม (RAM) จะแบ่งออกเป็น 2 เกรด คือ เกรดดีจะมีการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน (Livetime Warranty)ประเภทนี้จะมีราคาแพงกว่าแรมชนิดอื่น ซึ่งมักจะเป็นแรมเกรดทั่วไปที่รับประกันเพียง 1 ปี แต่แรมชนิดทั่วไปนี้จะมีราคาถูกกว่าแรมเกรดดีมาก
-ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ส่วนใหญ่มีการรับประกัน 1 ปี บางยี่ห้อซึ่งมีราคาถูกมากจะรับประกันเพียง 1 เดือนเท่านั้น ดังนั้นก่อนจะซื้อควรสอบถามทางผู้ขายให้แน่ใจเสียก่อน
-ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกัน 1 ปี แต่ถ้าหากเสียหาย หรือมีปัญหาก็ให้รีบส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าใหม่ ถ้าหลังจากนั้นคงต้องส่งเคลมประกันที่โรงงานและมารับกลับเองเมื่อซ่อมเสร็จ
-การ์ดจอ และการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนใหญ่อุปกรณ์ประเภทนี้มักไม่เสียง่าย แต่จะมีปัญหาในเรื่องของการเสียบการ์ดไม่แน่น ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอเท่านั้น
-แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ซึ่งแหล่งจ่ายไฟบางครั้งมีผลต่อการทำงานของเครื่องเช่นกัน
สินค้าประเภทอื่นมักมีใบรับประกันสินค้า แต่สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์มักใช้สติ๊กเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) เพื่อยืนยันว่าสินค้านี้มาจากร้านของตนจริง โดยมีการกำหนดวันที่จำหน่าย และระยะเวลาในการรับประกันไว้ โดยทั่วไปสติ๊กเกอร์รับประกันจะมี 2 รูปแบบ คือ
1.สติ๊กเกอร์ที่กำหนดเวลาเริ่มต้นการรับประกัน ซึ่งเป็นแบบที่นิยมกันมากกว่าเพราะง่ายต่อการบันทึกวันเริ่มต้นรับประกันไป เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีระยะเวลาในการรับประกันไม่เท่ากัน เช่น ซื้อสินค้าไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2002 เป็นต้น
2.สติ๊กเกอร์กำหนดเวลาสิ้นสุดการรับประกัน รับเป็นรูปแบบสติ๊กเกอร์ที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ซื้อ เนื่องจากจะทราบเวลาสิ้นสุดการรับประกันสินค้าได้ อย่างชัดเจนจากการเขียนลงบนสติ๊กเกอร์นั้นแต่ทางร้านไม่นิยมใช้แบบนี้ เนื่องจากต้องระบุวันที่สิ้นสุดการรับประกันลงไป ซึ่งมีโอกาสที่จะเขียนผิดพลาดได้ง่าย วันสิ้นสุดการรับประกันในสินค้ามักมีตัวอักษรภาษาอังกฤษเขียนไว้ว่า EXPIRE อยู่ด้วยเสมอ
สติ๊กเกอร์แบบนี้ที่บริเวณด้านล่างมักจะมีคำว่า Warranty Void If Remove หมายความว่า รับประกันจะสิ้นสุดลง เมื่อมีการแกะหรือฉีกสติ๊กเกอร์ออกจากตัวสินค้านั้น ดังนั้นเมื่อซื้อสินค้าควรจะตรวจดูสติ๊กเกอร์รับประกันด้วยว่า ยังอยู่หรือติดไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่
การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การเลือกซื้อเมนบอร์ด วิธีการเลือกเมนบอร์ดกันเลยครับ อย่างแรกลองดูเรื่องของทองแดงที่นำมาใช้เป็นสื่อไฟฟ้าว่ามีขนาดเหมาะสมไหม ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะใช้ขนาด 1ออนซ์เป็นมาตรฐาน แต่มีผู้ผลิตเมนบอร์ดบางรายใช้ทองแดงเพิ่มขึ้นเป็น 2 ออนซ์ ซึ่งส่งผลดีในแง่ของการระบายความร้อน และ สัญญาณไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพสูงด้วย ต่อมาในส่วนของตัวชุดจ่ายกระแสไฟฟ้าก็ต้องสังเกตว่าผู้ผลิตออกแบบมาด้วยจำนวนเฟรสกี่ตัว
ยิ่งมากก็ยิ่งส่งผลดีในแง่ของความเสถียรในการจ่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความร้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะการมีเฟรสหลายๆ ตัวทำให้เฟรสแต่ละตัวมีภาระในการจ่ายกระแสไฟฟ้าต่ำ ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสมเมื่อทำงานแบบต่อเนื่อง อีกตัวที่สำคัญเช่นกันและมักจะเสียหายก่อนใครเพื่อนเลยก็คือตัว capacitor หรือ ชุดประจุไฟฟ้าหน้าตาเหมือน ถังเก็บน้ำ ซึ่งตัวหุ้มของอุปกรณ์ดังกล่าวมักจะทำจากสังกะสีทำให้เมื่อสัมผัสกับอากาศที่มีความชื้นมักจะเกิดคราบสนิท และ ปริแตก
ส่งผลให้เมนบอร์ดชำรุดเสียหาย แต่ปัจจุบันผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายรายได้เปลี่ยนมาใช้เป็น Solid Capacitor บนเมนบอร์ดทั้งหมดเหมือนกันเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งแรกที่เราต้องศึกษาเมนบอร์ดให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจเลือกความสำคัญของชิ้นส่วนอื่น ที่จะมาเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด ปัจจัยการเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณต้องการนำมาใช้งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ เลือก Mainboard (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียูนั่นเอง
ยกตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ Socket A หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน DDR-SDRAMหรือ SDRAM ( DDR SDRAM เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า)หรืออาจจะใช้ทั้ง DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว
การเลือกซื้อหน่วยความจำแรม ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงซ็อกเก็ตใส่หน่วยความจำของบอร์ดว่า มีอยู่เท่าใด โดยปกติบอร์ดในปัจจุบันจะมีซ็อกเก็ตใส่แรม 4 ซ็อกเก็ต โดยเวลาใส่จะต้องใส่ เป็นคู่จึงจะสามารถใช้งานได้ ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มหน่วยความจำจึงต้องซื้อหน่วย ความจำที่มีขนาดความจุเท่ากัน 2 แผง ตัวอย่างเช่น หากแรมในเครื่องผู้ใช้เป็นแบบแผงละ 8 MB 2 แผงแล้วต้องการจะเพิ่มขึ้นไปอีก ผู้ใช้ที่มีซ็อกเก็ตแรมเพียง 4 ซ็อกเก็ตจะมีโอกาสเพิ่มได้เพียงครั้งเดียว
ทั้งนี้เพราะช่องแรม ที่เหลืออยู่มีเพียงคู่เดียว ปัญหาก็คือหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มหน่วยความจำให้สูง ๆ เช่น ต้องการแรมมากกว่า 32 MB ก็ต้องซื้อแรมแบบ 16 MB 2 แผงซึ่งเป็นการจ่ายเงินจำนวนมาก ในครั้งเดียว แต่ถ้าผู้ใช้มีซ็อกเก็ตแรม 6 ซ็อกเก็ตก็ยังมีโอกาสที่จะเพิ่มได้อีกในภายหลังทำให้ ไม่จำเป็นต้องซื้อแรมแบบ 16 MB ในครั้งแรกนี้ก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ เพิ่มแรมมากนัก
ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มแรมก็จะมีโอกาส เพียงครั้งเดียวเช่นกัน จะมีเพียงบอร์ดบางรุ่นเท่านั้นที่มีซ็อกเก็ตแร มแบบ SDRAM มากกว่า 1 ช่อง ซึ่งที่พบในปัจจุบันนั้นก็จะเป็นแบบ 2 ซ็อกเก็ตสำหรับบอร์ดเพนเทียม และสูงสุดที่พบคือ 4 ซ็อกเก็ตสำหรับเพนเทียมโปร (มีเฉพาะซ็อกเก็ตแรมแบบ SDRAM เท่านั้น) ผู้ใช้จึงควรตรวจดูในคู่มือให้แน่ชัดก่อนว่าบอร์ดรุ่นนั้น ๆ สนับสนุนการ ใส่แรมในลักษณะใด ส่วนขนาดของแรมที่เหมาะสมในปัจจุบันนั้น ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 32 MB จึงจะ ใช้งานได้อย่างสะดวก แต่แนะนำว่าควรเป็น 64 MB หรือสูงกว่าเพื่อประสิทธิภาพในการ ใช้งานที่สูงขึ้น
การเลือกซื้อหน่วยประมวลผลกลาง 1 การเลือกซื้อหน่วยประมวลผลกลาง 1.ควรเลือกความเร็วของซีพียูที่เหมาะสมกับงานต่างๆ ดังนี้ ลักษณะการใช้งาน ความเร็วของซีพียู พิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต 700 - 1300 MHz กราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง 1.3 -2.0 GHz สร้างมัลติเดีย ตัดต่อเสียง และวิดีโอ 2.0 GHz ขึ้นไป 2.ควรเลือกซีพียูที่มีการรับประกัน
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ ในส่วนของ ฮาร์ดดิสก์ ก็คงจะไม่มีอะไรให้เลือกมากนัก หากเป็นการ Upgrade เครื่องเก่า ก็ลองมองดูว่า ฮาร์ดดิสก์ ตัวเดิมของคุณยังมีขนาดเพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่ สิ่งแรกที่ผมมองว่าควรจะพิจารณา คือขนาดความจุ หากเป็นการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ เลือกขนาดที่ใหญ่ ๆ ไว้ก่อนก็ดี (ถ้าคุณมีเงินมากพอ) เพราะว่าในอนาคต ความต้องการใช้งานฮาร์ดดิสก์จะต้องการขนาดความจะที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ผมขอสรุปปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือก ฮาร์ดดิสก์ ดังนี้
-ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ พิจารณาและคำนวณราคาต่อหน่วยความจำให้ดี -ความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล จะมีแบบ UDMA-33 และ UDMA-66/100 ก็เลือกแบบ UDMA-66/100 เพราะการส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้เร็วกว่า (โดยที่หลาย ๆ ท่านบอกว่า ไม่มากนัก) และหากใครคิดจะใช้ -ความสามารถแบบ UDMA-66/100 ให้เต็มที่ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด ที่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ UDMA-66/100 ด้วย -ขนาดของ Buffer ที่เห็นมีอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็น 512K,1M และ 2M ยิ่งขนาดมากก็ยิ่งดี (แต่จะแพงขึ้น)
-ความเร็วรอบ จะเห็นมีอยู่ 2 แบบคือ 5,400 และ 7,200 รอบต่อนาที ถ้าความเร็วรอบสูง การเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ก็จะเร็วกว่า แน่นอนราคาก็ย่อมแพงกว่าด้วย -ความทนทานและการรับประกัน อันนี้สำคัญมาก ขอแนะนำให้สอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมานาน ๆ ครับ ฮาร์ดดิสก์บางยี่ห้อจะค่อนข้างบอบบางมาก ใช้งานได้ไม่นานก็เริ่มออกอาการไม่ดีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ราคาถูก ๆ ผมไม่ขอแนะนำให้ใช้นะครับถึงแม้ว่าจะมีการรับประกันที่นานกว่าก็ตาม เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์มีค่ามากกว่าการเสียเวลานำฮาร์ดดิสก์ไปเปลี่ยนหรือซ่อม
เสียง ก็เป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่ง แต่คงจะไม่สำคัญมากนัก ฮาร์ดดิสก์บางรุ่นเสียงจะค่อนข้างดังมาก ก็ต้องเลือกให้ดี
การเลือกซื้อจอภาพ สำหรับ จอภาพ ของคอมพิวเตอร์ ก็คงเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งครับที่ไม่มีให้เลือกมากนัก ส่วนใหญ่ก็จะเลือกกันที่ขนาดของจอ เช่น 14, 15 หรือ 17 นิ้ว เป็นจอแบบธรรมดา หรือ Flat Screen ราคาก็จะถูกแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของจอนั้น ๆ ครับ สิ่งที่ผมขอแนะนำให้พิจารณาดูด้วยก็คือ การตั้งค่าความละเอียดของการแสดงผลสูงสุดได้เท่าไร และการตั้งค่า Refresh Rate ตั้งได้สูงสุดเท่าไร และอย่าลืมว่า จอภาพคือส่วนที่เราต้องมองอยู่เกือบตลอดเวลาที่เราใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้อ Case สำหรับคอมพิวเตอร์ Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งครับที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX นะครับ ข้อดีของ Case และ Power Supply แบบ ATX คือ การออกแบบให้มีการระบายความร้อนได้ดีกว่า และการใช้ Power Supply แบบใหม่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานระบบ Power Management ต่าง ๆ ได้เช่นการตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่อง เป็นต้น และนอกจากนี้อย่าลืมว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะใช้กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่
สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ ATแต่หาเมนบอร์ดได้ยาก ก็ลองมองดูส่วนของ Case นี้ด้วยนะครับหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่ไปเลย ราคาก็คงอยู่หลักพันต้น ๆ เท่านั้นขนาดของ Power Supply รุ่นเก่า ๆ จะเป็น 200 วัตต์ หากเป็น Power Supply รุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะเป็น 230-300 วัตต์ หรือสูงกว่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกขนาดของ Power Supply ขนาดวัตต์สูง ๆ ไว้ก็ดี
การเลือกซื้อ VGA Card สำหรับคอมพิวเตอร์ สำหรับ VGA Card ปัจจุบันนี้ ก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือการ์ดแสดงผลแบบ 2D และแบบ 3D ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ ก็จะเป็นแบบ 3D กันหมดแล้วครับ เพียงแต่อาจจะแตกต่างกันทางด้านความเร็ว จำนวนของ RAM บนการ์ดและคุณภาพ ตามราคาเท่านั้น ในที่นี้ขอแบ่งวิธีการเลือกการ์ดแสดงผล ดังนี้
ชนิดของ Interface การ์ดจอ คือเป็นแบบ PCI หรือเป็นแบบ AGP ต้องเลือกให้ตรงกับเมนบอร์ดด้วยนะครับ (สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ จะมีแค่เพียงสล็อตแบบ PCI เท่านั้น หากเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ก็จะมีสล็อต AGP มาให้ด้วย) การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดา เช่นการพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือกการ์ดแสดงผลที่มี RAM ประมาณซัก 8M. ก็เพียงพอแล้วครับ เพราะราคาจะค่อนข้างถูกกว่ามาก
หากเน้นที่การเล่นเกมส์ ก็ต้องเลือกการ์ดแสดงผลแบบที่เป็น 3D โดยเฉพาะ และควรจะมีจำนวนของ RAM บนการ์ดค่อนข้างมากหน่อย เช่น 16M. หรือ 32M. หากเลือกการ์ดที่มี RAM มาก ๆ จะทำให้เล่นเกมส์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้นครับโดยที่ราคาก็จะแพงมากขึ้นตามไปด้วย เลือกชนิดของ Chip Set ของการ์ดจอด้วย เนื่องจากการ์ดจอแต่ละแบบ จะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้ว ที่นิยมเลือกใช้งานกันก็จะมี Voodoo, TNT, Savage, SiS และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้จาก เวปบอร์ดต่าง ๆ ประกอบด้วย
ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูล เช่นเป็น AGP 1X, 2X หรือ 4X ความสามารถในการ Over Clock ซึ่งรวมทั้งการ Over Clock CPU และการ Over Clock การ์ดจอด้วย สำหรับผู้ที่คิดจะทำ Over Clock โดยเฉพาะ Option Video in, Video Out ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งถ้าหากมี Option พวกนี้มาด้วย ราคาก็จะสูงขึ้นอีกนิด
สรุปในส่วนของการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลนะ ว่าซื้อตามจุดประสงค์ที่ต้องการใช้งาน และตามงบประมาณที่มีอยู่ แถมท้ายให้อีกนิดนึงนะ หากใครคิดจะเล่นเกมส์แต่งบน้อย เลือก CPU ที่ราคาถูก ๆ หน่อยเช่น Celeron แต่ไปเพิ่มงบให้กับการ์ดจอมากขึ้น ก็อาจจะได้คุณภาพโดยรวมดีกว่าการเลือก CPUราคาแพงแต่ใช้การ์ดจอราคาถูก
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การดูแลรักษาซีพียู (CPU) 1.หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆเช่น พัดลมระบายอากาศ เพื่อไม่ให้ซีพียูร้อนจนเกินไป อาจจะทำให้ซีพียูหยุดทำงานและเสียได้
การดูแลรักษาเมนบอร์ด (Main board or Motherboard) 1.ทำความสะอาดเมนบอร์ดด้วยการดูดฝุ่นออกประมาณเดือนละ 1 ครั้ง
การดูแลรักษาจอภาพ (Monitor) 1
การดูแลรักษาการ์ดแสดงผล (Display Card) 1. ตรวจสอบการหมุนของพัดลม 2
การดูแลรักษาเมาส์ (Mouse) 1
การดูแลรักษาแป้นพิมพ์ (Keyboard) 1. ปัดฝุ่นและทำความสะอาดเป็นประจำ 2
การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) 1 การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) 1.ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่สามารถระบายอากาศ ไม่ทำให้เครื่องร้อน 2.ตรวจสอบสถานภาพด้วยโปรแกรม Utility ต่างๆ ว่ามีส่วนใดมีปัญหา
การดูแลรักษาซีดีรอมไดรฟ์ (CD-ROM/ DVD ROM Drive) 1.ไม่นำแผ่นที่เสียหรือมีรอยขีดข่วนมาใช้ เพราะอาจทำให้หัวอ่านชำรุดได้ 2.ทำความสะอาดด้วยน้ำยาเฉพาะของซีดีรอมไดรฟ์
การดูแลรักษาพัดลมระบายความร้อน (Fan) 1.ติดพัดลมระบายความร้อนให้พอเพียงและเหมาะสมที่จะระบายความร้อน ทั้งขนาด ความเร็วรอบ และจำนวนพัดลม 2.ทำความสะอาดด้วยแปรง หรือที่เป่าฝุ่น
สมาชิก 1.นายธาราพงศ์ เขม้นการไถ ม.6/6 เลขที่ 1 2.นาย 3.นายอนุพัทธ์ สนิทราษฎร์ ม.6/6 เลขที่ 12 4.นางสาวนฤมล กอนอยู่ ม.6/6 เลขที่ 24 5.นางสาวอัญชิสา หนึ่งฤทัยกุล ม.6/6 เลขที่ 27