กิจกรรมเก็บตัวอย่าง และการวิเคราะห์คุณภาพดิน
การเก็บตัวอย่างดิน แบบแผ่นบาง ๆ (Slice) ซึ่งมีความสม่ำเสมอ ใช้ช้อนปลูกขุดหลุมเป็นรูป V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 5-15 ซม. หรือในระดับชั้น ไถพรวน แล้วแซะเอาดินด้านหนึ่ง เป็นแผ่นหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร จากปากหลุมถึงก้นหลุม แบบที่เป็นแท่ง (Core) ตามความลึก ใช้ Core เจาะลงไปในดินเป็นแนวดิ่งบริเวณจุดเก็บตัวอย่างที่กำหนดระดับความลึก 15 ซ.ม. 15 ซ. ม.
1. การทดลองการเก็บตัวอย่างดิน เพื่อวิเคราะห์ pH และธาตุอาหาร เก็บตัวอย่างดิน (แบบแผ่นบาง ๆ (Slice) / แบบที่เป็นแท่ง (Core)) โดยให้นักเรียนทุกกลุ่มทดลองเก็บดิน เพื่อนำมารวมกัน นำดินที่เก็บมา คลุกเคล้าให้เข้ากัน ดังรูป นำดินที่ผสมคลุกเค้าแล้วพูนเป็นกองดิน แบ่งดินเป็น 4 ส่วนเก็บ 1 ส่วนใส่ถุงที่เตรียมไว้ ดินที่เหลือเอาไว้ดูลักษณะทั่วไปของดินตัวอย่าง และสีของตัวอย่างดิน แล้วบันทึกผล
1. การทดลองการเก็บตัวอย่างดิน เพื่อวิเคราะห์ pH และธาตุอาหาร (ต่อ) เมื่อได้ดินแล้วต้องมีการเตรียมตัวอย่างดินให้เหมาะสมกับการศึกษา เพื่อลดความผิดพลาด (error) สำหรับทำการวิเคราะห์ตัวอย่าง ต้องมีการเตรียมตัวอย่างดินอย่างถูกต้อง โดยทำให้ดินที่เก็บมาแห้งเพื่อป้องกันเชื้อรา รวมถึงแยกส่วนที่เป็นก่อนหินและเศษรากไม้ออกจากดิน นำดินมาถึงห้องปฏิบัติการต้องทำการผึ่งดินให้แห้ง ดินแห้งแล้วการบดดินด้วยครกกระเบื้อง ร่อนดินผ่านตะแกรงร่อน 1000 ไมโครเมตร แยกเศษหิน/รากพืช เก็บดินไปวิเคราะห์pH และธาตุอาหาร
2. การทดลองวิเคราะห์ pH ในดิน ใส่ดินลงในจานหลุมพลาสติกประมาณ ½ ช้อน หยดน้ำยาเบอร์ 10 ลงไป จนดินอิ่มตัวด้วยน้ำยา แล้วเพิ่มน้ำยาอีก 2 หยด เอียงจานหลุมพลาสติกไปมา เพื่อทำให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับดินอย่างทั่วถึง (สำหรับดินเหนียวจะเกาะเป็นก้อน ให้ใช้ปลายช้อนเขี่ยเบาๆ ระวังอย่าให้น้ำยาขุ่น) ทิ้งไว้ 5 นาที เปรียบเทียบสีน้ำยาที่บริเวณขอบหลุมกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน