หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทฤษฎีการผลิต และต้นทุนการผลิต
Advertisements

เศรษฐศาสตร์แรงงาน (ศ. 471) อุปสงค์แรงงาน
เศรษฐศาสตร์แรงงาน (ศ. 471) อุปสงค์แรงงาน (ต่อ)
ทฤษฎีบทลิมิต (Limit Theorem).
ความต่อเนื่อง (Continuity)
ลำดับทางเดียว (Monotonic Sequences)
ฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วง (Continuous Function on Intervals)
5.5 The Method of images เมื่อเราทราบว่าผิวตัวนำคือ ผิวสมศักย์ ดังนั้นถ้าอ้างอิงในผิวสมศักย์มีศักย์อ้างอิงเป็นศูนย์ จะสามารถหาศักย์ไฟฟ้าที่จุดใดๆ โดยใช้วิธีกระจก.
ทราบนิยามของ Flux และ Electric Flux Density
Heckscher-Ohlin (3) ดร.วิธาดา อนกูลวรรธกะ
คณิตศาสตร์สำหรับการคิดภาระภาษี
Lecture 8.
Ordering and Liveness Analysis ลำดับและการวิเคราะห์บอกความ เป็นอยู่หรือความตาย.
ดุลยภาพทั่วไป (General equilibrium)
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
ตลาดปัจจัยการผลิต (Markets for Factor Inputs)
ตัวอย่าง: ดุลยภาพในการแลกเปลี่ยนและการผลิต
โพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์         คือการเคลื่อนที่ในแนวโค้งพาราโบลา ซึ่งเกิดจากวัตถุได้รับความเร็วใน 2 แนวพร้อมกัน คือ ความเร็วในแนวราบและความเร็วในแนวดิ่ง.
บทที่ 9 การแข่งขันในตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร
บทที่ 9 ราคาระดับฟาร์มและราคาสินค้าเกษตรและอาหาร
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน.
อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความหมายของอุปทาน
บทที่ 6 อุปสงค์ (Demand)
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน.
ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ เป็นเซตของคู่อันดับ
ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ เป็นเซตของคู่อันดับ
ฟังก์ชัน ฟังก์ชันเป็นรูปแบบหนึ่งของความสัมพันธ์ แต่มีกฎเกณฑ์มากกว่า
อนุพันธ์อันดับหนึ่ง ( First Derivative )
หน่วยที่ 11 อินทิกรัลสามชั้น
บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต การศึกษาด้านอุปทาน ทฤษฏีการผลิต (บทที่ 5)
บทที่ 4 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค (Theory of Consumer Behavior)
บทที่ 7 การกำหนดราคาสินค้าในตลาด
สื่อการเรียนรู้ การตัดสินใจในการผลิต
บทที่ 6 ต้นทุนการผลิต (Cost of Production)
บทที่ 8 การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Price and Output Determination Under Perfect Competition) ความหมายของตลาด ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์
บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต (Production Theory)
บทที่ 9 การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Price and Output Determination Under Imperfect Competition) ตลาดผูกขาดที่แท้จริง ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง.
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน Elasticity of Demand and Supply
การผลิตและต้นทุนการผลิต
ความสัมพันธ์และความสัมพันธ์ทวิภาค
นิยาม, ทฤษฎี สับเซตและพาวเวอร์เซต
จำนวนเต็มกับการหารลงตัว
ค31212 คณิตศาสตร์สำหรับ คอมพิวเตอร์ 2
อินเวอร์สของความสัมพันธ์
การดำเนินการบนความสัมพันธ์
วิธีการตรวจสอบ Content Validity
บทที่ 3 การผลิตและการวางแผนฟาร์ม
สวัสดี...ครับ.
ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร
หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร
ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร
บทที่ 8 รายรับและกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
โครงสร้างของตลาดและการกำหนดราคา
การวางแผนการผลิต และการบริการ
ทฤษฎีเฮิคเชอร์และโอลิน
ต้นทุนการผลิต.
ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน
ผู้สอน อ.ศรีวรรณ ปานสง่า
ทฤษฎีนีโอคลาสสิค.
บทที่ 8 ผลิตภัณฑ์การบริหารการผลิต
บทที่ 8 ผลิตภัณฑ์การบริหารการผลิต
ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค
ตัวอย่าง : ประสิทธิภาพในการผลิต คำถาม : ให้การผลิตสินค้าชนิดหนึ่งมีผู้ผลิต 2 ราย ที่มี Production function เหมือนกันดังนี้ q = K 0.25 L 0.75 ราย A ใช้
ทฤษฎีการผลิต.
ค31212 คณิตศาสตร์สำหรับ คอมพิวเตอร์ 2
เงินเฟ้อ และการว่างงาน
อาการของมะเร็งเต้านม ที่กลับเป็นซ้ำ และ หรือ แพร่กระจาย
จงลุกขึ้น ... ฉายแสง ภารกิจที่ท้าทาย ผู้วินิจฉัย 6: 12.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Lecture 3: ขอบเขตเนื้อหา การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซต ฟังก์ชันการผลิต ฟังก์ชันต้นทุน ฟังก์ชันกำไร

การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซต ข้อดีของการใช้ตัวแทนเซตในการอธิบายโครงสร้างของเทคโนโลยีการผลิต คือ สามารถใช้ศึกษากระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยปัจจัยการผลิตและผลผลิตมากกว่าหนึ่งชนิด รวมทั้งสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ของการวัดประสิทธิภาพในการผลิตของหน่วยผลิตได้เป็นอย่างดี

การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซต พิจารณากระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยผลผลิตจำนวน M ชนิด และปัจจัยการผลิต K ชนิด ผลผลิตจำนวน M ชนิดถูกแทนด้วยเวคเตอร์ ราคาของผลผลิตถูกแทนด้วยเวคเตอร์ ปัจจัยการผลิต K ชนิดถูกแทนด้วยเวคเตอร์ ราคาของปัจจัยการผลิตถูกแทนด้วยเวคเตอร์

คำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการผลิต (production technology) คือ เซตของเวคเตอร์คู่ลำดับของปัจจัยการผลิตและผลผลิต (input-output vectors) ใดๆที่เป็นไปได้ในการกระบวนการผลิต

คำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิต เซตปัจจัยการผลิตของเทคโนโลยีการผลิต (input sets of production technology) คือ เซตของเวคเตอร์ปัจจัยการผลิตใดๆที่เป็นไปได้ที่ใช้ในการผลิตสินค้าซึ่งแสดงด้วยเวคเตอร์ของผลผลิต L(yA) คือ บริเวณใดๆที่อยู่เหนือเส้นโค้ง เส้นโค้งที่แสดงเขตแดนตอนล่างสุดของ L(yA) ถูกนิยามไว้คือ เส้นผลผลิตเท่ากัน (isoquant) ซึ่งแสดงถึงสัดส่วนหรือส่วนผสมต่างๆกันของปัจจัยการผลิต 2 ชนิดซึ่งให้ผลผลิตจำนวนที่เท่ากันแก่หน่วยผลิต

คำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิต เซตผลผลิตของเทคโนโลยีการผลิต (output sets of production technology) คือ เซตของเวคเตอร์ผลผลิตใดๆที่เป็นไปได้ที่สามารถผลิตได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งหมดซึ่งแสดงด้วยเวคเตอร์ของปัจจัยการผลิต P(xB) คือ บริเวณใดๆที่อยู่ต่ำกว่าเส้นโค้ง เส้นโค้งที่แสดงเขตแดนตอนบนสุดของ P(xB) ถูกนิยามไว้คือ เส้นความเป็นไปได้ในการผลิต (production possibilities curve) ซึ่งแสดงถึงสัดส่วนต่างๆกันของผลผลิตจำนวน 2 ชนิดที่ผลิตได้จากการใช้ปริมาณปัจจัยการผลิตที่เท่ากันในการผลิต

เส้นพรมแดนการผลิต (Production Frontier) พิจารณากระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยการผลผลิตจำนวน 1 ชนิด เส้นพรมแดนการผลิต f(x) คือ ฟังก์ชันที่ใช้แสดงจำนวนผลผลิตสูงสุดที่สามารถผลิตได้จากการใช้เวคเตอร์ปัจจัยการผลิตที่กำหนดให้ใดๆ ในกระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยผลผลิต 1 ชนิด เส้นพรมแดนการผลิต f(x) สามารถนิยามได้โดยการใช้เซตปัจจัยการผลิตหรือเซตผลผลิตของเทคโนโลยีการผลิต ดังนี้

คุณสมบัติของเส้นพรมแดนการผลิต (i) f(0) = 0 (ii) f(x) คือ ฟังก์ชันกึ่งต่อเนื่องตอนบน (upper semicontinuous) บน R+K (iii) ถ้า f(x) > 0 แล้ว f(λx) → α ก็ต่อเมื่อ λ → α (iv) ถ้า x’ ≥ x แล้ว f(x’) ≥ f(x) Note ถ้าฟังก์ชัน f(a) ใดๆ เมื่อ ค่า a ถูกเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยโดยที่ f(a) ไม่ได้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างทันที ฟังก์ชัน f(a) ถูกเรียกว่า ฟังก์ชันกึ่งต่อเนื่องตอนบน (upper semicontinuous) บน a

ฟังก์ชันระยะทาง (distance function) สำหรับกระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตและผลผลิตมากกว่า 1 ชนิด (multiple inputs and outputs) เส้นพรมแดนการผลิตไม่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์กระบวนการผลิตที่ว่านี้ Shephard (1953, 1970) ได้เสนอฟังก์ชันระยะทาง (distance function) เพื่ออธิบายกระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตและผลผลิตมากกว่า 1 ชนิด ฟังก์ชันระยะทางมี 2 รูปแบบ 1. ฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต (input distance function, DI) ซึ่งใช้อธิบายลักษณะของเซตปัจจัยการผลิต L(y) 2. ฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต (output distance function, Do) ซึ่งใช้อธิบายลักษณะของเซตผลผลิต P(x)

ฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต (DI) กำหนดได้โดยอาศัยหลักการของการลดปริมาณการใช้ของปัจจัยการผลิตในกระบวนการผลิต โดยวัดระยะทางจากปริมาณปัจจัยการผลิตที่ใช้โดยหน่วยผลิตถึงเขตแดนของเส้นผลผลิตเท่ากัน (isoquant) ซึ่งระยะทางที่วัดได้นี้จะใช้แสดงปริมาณที่เวคเตอร์ปัจจัยการผลิตของหน่วยผลิตสามารถถูกหดลงในแนวรัศมี (radially contracted) อย่างมากที่สุดและยังคงสามารถรักษาการผลิตให้อยู่ในปริมาณเท่าเดิม ฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต DI (y,x) ถูกนิยามไว้ดังนี้ รูปภาพแสดงปริมาณปัจจัยการผลิต x ที่เป็นไปได้ที่ใช้ในการผลิต y แต่ผลผลิต y สามารถผลิตได้โดยการใช้ปริมาณของปัจจัยการผลิตที่ลดลง (x/λ*) ดังนั้น DI(y,x) = λ* ≥ 1

คุณสมบัติของฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต (i) DI(0, x) = α และ DI(y, 0) = 0 (ii) DI(y, λx) = λDI(y, x) สำหรับ λ > 0 (iii) DI(y, λx) ≥ DI(y, x) สำหรับ λ ≥ 1 (iv) DI(λy, x) <= DI(y, x) สำหรับ λ ≥ 1 (v) DI(y, x) คือ ฟังก์ชันกึ่งต่อเนื่องตอนบน (upper semicontinuous) (vi) DI(y, x) คือ ฟังก์ชันเว้าออก (concave) ใน x Note ถ้าฟังก์ชัน f(a) ใดๆ เมื่อ ค่า a ถูกเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยโดยที่ f(a) ไม่ได้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างทันที ฟังก์ชัน f(a) ถูกเรียกว่า ฟังก์ชันกึ่งต่อเนื่องตอนบน (upper semicontinuous) บน a

ฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต (Do) กำหนดขึ้นโดยอาศัยหลักการของการเพิ่มปริมาณของผลผลิตที่ได้ในกระบวนการผลิต โดยการวัดระยะทางจากปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้โดยหน่วยผลิตถึงเขตแดนของเส้นความเป็นไปได้ในการผลิต (production possibility curve) ซึ่งระยะทางที่วัดได้นี้จะแสดงปริมาณที่เวคเตอร์ของผลผลิตสามารถถูกขยายได้อย่างน้อยที่สุดโดยที่ยังคงสามารถผลิตได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณเท่าเดิม ฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต Do(x,y) สามารถนิยามไว้ดังนี้ รูปภาพแสดงถึงผลผลิตในกระบวนการผลิตที่สามารถผลิตได้โดยการใช้ปัจจัยการผลิต x แต่ภายใต้ปัจจัยการผลิต x ที่กำหนดให้หน่วยผลิตสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นเท่ากับ (y/μ*) ดังนั้น D0(x,y) = μ * <= 1

คุณสมบัติของฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต (i) Do(x, 0) = 0 และ Do (0, y) = α (ii) Do (x, λy) = λDo (x, y) สำหรับ λ > 0 (iii) Do (λx, y) <= Do (x, y) สำหรับ λ ≥ 1 (iv) Do (x, λy) <= Do (x, y) สำหรับ 0 <= λ <= 1 (v) Do (x, y) คือ ฟังก์ชันกึ่งต่อเนื่องตอนล่าง (lower semicontinuous) (vi) Do (x, y) คือ ฟังก์ชันเว้าเข้า (convex) ใน y Note ถ้าฟังก์ชัน f(a) ใดๆ เมื่อ ค่า a ถูกเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยโดยที่ f(a) ไม่ได้มีค่าลดลงอย่างทันที ฟังก์ชัน f(a) ถูกเรียกว่า ฟังก์ชันกึ่งต่อเนื่องตอนล่าง (lower semicontinuous) บน a

เส้นพรมแดนต้นทุน (Cost Frontier) เส้นพรมแดนต้นทุน c(y,w) สามารถกำหนดได้จากการใช้เซตของปัจจัยการผลิตหรือฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต ดังนี้ เส้นพรมแดนต้นทุน c(y,w) ใช้อธิบายถึงค่าใช้จ่าย (expenditures) ต่ำสุดที่ต้องการเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า y ณ ระดับใดๆจากราคาของปัจจัยการผลิต x ที่กำหนดให้ ค่าใช้จ่ายของหน่วยผลิตแต่ละรายจะมีค่าอยู่บนหรือเหนือเส้นพรมแดนต้นทุน c(y,w)

คุณสมบัติของเส้นพรมแดนต้นทุน 1. มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0 สำหรับ w > 0 และ y ≥ 0 2. เป็นฟังก์ชันเอกพันธุ์เชิงเส้นตรงหรือลำดับที่ 1 ใน w 3. เป็นฟังก์ชันที่มีค่าเพิ่มขึ้นใน w 4. เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous) และฟังก์ชันเว้าออก (concave) ใน w 5. เป็นฟังก์ชันเว้าเข้า (convex function) ใน y พิจารณาฟังก์ชันในรูป y=f(x1,…,xn) เมื่อนำค่าคงที่ t คูณกับตัวแปรอิสระทุกตัวแล้ว ฟังก์ชัน y=f(x1,…,xn) จะเป็นฟังก์ชันเอกพันธ์ (homogenous function) ลำดับที่ r เมื่อ f(tx1,…,txn) = trf(x1,…,xn)

เส้นพรมแดนกำไร (Profit Frontier) เส้นพรมแดนกำไร π(p,w) สามารถนิยามได้ดังนี้ ถ้าพฤติกรรมของหน่วยผลิตที่ต้องการต้นทุนต่ำสุดประสพผลสำเร็จ ดังนั้น เนื่องจาก แนวทางเลือกอื่นๆ ถ้าพฤติกรรมของหน่วยผลิตที่ต้องการรายรับสูงสุดประสพผลสำเร็จ ดังนั้น

คุณสมบัติของเส้นพรมแดนกำไร (i) π(p’,w) ≥ π(p,w) สำหรับ p’ > p (ii) π(p,w’) <= π(p,w) สำหรับ w’ > w (iii) π(λp, λw) <= λπ(p,w) สำหรับ λ >= 0 (iv) เป็นฟังก์ชันเว้าเข้า (convex function) ใน p และ w

การวัดประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคโดยการใช้ปัจจัยการผลิต (TEI) ฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต DI (y,x) ถูกนิยามไว้ดังนี้ รูปภาพแสดงปริมาณปัจจัยการผลิต x ที่เป็นไปได้ที่ใช้ในการผลิต y แต่ผลผลิต y สามารถผลิตได้โดยการใช้ปริมาณของปัจจัยการผลิตที่ลดลง (x/λ*) ดังนั้น DI(y,x) = λ* ≥ 1 TEi(y,x) = 1/Di (y,x) 0 <= TEi(y,x) <= 1

ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคโดยการใช้ผลผลิต (TEo) ฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต Do(y,x) สามารถนิยามไว้ดังนี้ รูปภาพแสดงถึงผลผลิตในกระบวนการผลิตที่สามารถผลิตได้โดยการใช้ปัจจัยการผลิต x แต่ภายใต้ปัจจัยการผลิต x ที่กำหนดให้หน่วยผลิตสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นเท่ากับ (y/μ*) ดังนั้น D0(x,y) = μ * <= 1 TEo(x,y) = Do(x,y) 0 <= TEo(x,y) <= 1

การวัดประสิทธิภาพต้นทุน พิจารณาหน่วยผลิตเผชิญราคาของปัจจัยการผลิต w ε R++K โดยที่หน่วยผลิตต้องการต้นทุนต่ำสุดในการผลิตสินค้า y ε R+M การวัดประสิทธิภาพต้นทุน (cost efficiency) หรือ ประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ (economic efficiency) สามารถกำหนดได้จากอัตราส่วนของต้นทุนต่ำสุด (minimum cost) ต่อต้นทุนแท้จริง (actual cost) ดังความสัมพันธ์ CE(y,x,w) = C(y,w)/w’x โดยที่ 0 <= CE(y,x,w) <= 1

การแยกค่าประสิทธิภาพต้นทุน ประสิทธิภาพต้นทุนสามารถแยกค่าออกได้เป็นประสิทธิภาพเชิงเทคนิคโดยการใช้ปัจจัยการผลิต และประสิทธิภาพเชิงแบ่งสรรของปัจจัยการผลิต ดังความสัมพันธ์ CE(y,x,w)= TEI(y,x)*AEI(y,x,w)

การวัดประสิทธิภาพกำไร พิจารณาหน่วยผลิตเผชิญราคาของผลผลิต p ε R++M และ ราคาของปัจจัยการผลิต w ε R++K โดยที่หน่วยผลิตต้องการกำไรสูงสุดในการผลิต (p’y-w’x) จากการใช้ปัจจัยการผลิต x ε R+K ที่กำหนด เพื่อผลิต y ε R+M การวัดประสิทธิภาพกำไร (profit efficiency) หรือ ประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ (economic efficiency) สามารถกำหนดได้จากอัตราส่วนของกำไรแท้จริง (actual profit) ต่อกำไรสูงสุด (maximum profit) ดังความสัมพันธ์ PE(y,x,p,w) = (p’y-w’x)/π(p,w) การแยกค่าประสิทธิภาพกำไรออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ สามารถทำได้โดยการใช้ปัจจัยการผลิต (input‑oriented) หรือ การใช้ผลผลิต (output‑oriented)

การแยกค่าประสิทธิภาพกำไร การแยกค่าประสิทธิภาพกำไรโดยการใช้ผลผลิต (output‑oriented) ประสิทธิภาพกำไรสามารถแยกค่าออกได้เป็นประสิทธิภาพเชิงเทคนิคโดยการใช้ผลผลิต ประสิทธิภาพเชิงแบ่งสรรของผลผลิต (ประสิทธิภาพรายรับ) และประสิทธิภาพเชิงแบ่งสรรของปัจจัยการผลิต (ประสิทธิภาพต้นทุน) ดังความสัมพันธ์ PE(y,x,p,w)= TE0(y,x)*RE (y,x,p)*CE (y,x,w)