บทที่ ๒ ผลแห่งหนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สิทธิของเจ้าหนี้ สิทธิในการบังคับชำระหนี้ สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน สิทธิในการบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และ สิทธิในการควบคุมดูแลและสงวนไว้ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้
สิทธิในการบังคับชำระหนี้ มาตรา 194 ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2380/2542 โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยจะมีผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างโดยได้เงินกินเปล่าจากผู้เช่า ส่วนโจทก์มีรายได้เฉพาะการเก็บค่าเช่าเท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 2380/2542 (ต่อ) ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้นตราบใดที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังมิได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
ประเด็นสำคัญ ก. เงื่อนไขในการบังคับชำระหนี้ ข. วิธีการในการบังคับชำระหนี้ และ ค. ขอบเขตในการบังคับชำระหนี้
ก. เงื่อนไขในการบังคับชำระหนี้ (ก) หนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้ว (ข) ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ และ (ค) หนี้นั้นเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
(ก) หนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้ว หนี้ถึงกำหนดชำระเมื่อไหร่
มาตรา 203 วรรคหนึ่ง ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
= การถึงกำหนดชำระแห่งหนี้ เกิดขึ้นได้ 3 กรณี 1. ถึงกำหนดตามเวลาที่ได้กำหนดไว้ 2. อนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวง 3. ชำระหนี้โดยพลัน
1. ถึงกำหนดตามเวลาที่ได้กำหนดไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2165/2537 กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เฉพาะเดือนและปีคือเดือนเมษายน 2531 เช่นนี้จึงจะถือว่าวันที่กำหนดตามสัญญาเป็นวันที่ 29 เมษายน 2531 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 ไม่ได้
ปัญหา เจ้าหนี้จะสามารถเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดดังกล่าวได้หรือไม่ หรือ ลูกหนี้จะสามารถชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดดังกล่าวได้หรือไม่
มาตรา 203 วรรคสอง ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้
ปัญหา ทำความตกลงยกเว้นมาตรา 203 วรรคสอง ได้หรือไม่ = ทำความตกลงยกเว้นมาตรา 203 วรรคสอง ได้หรือไม่ = กำหนดเวลาไว้ แต่ตกลงกันว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้เมื่อไหร่ก็ได้ หรือ กำหนดเวลาไว้ แต่ตกลงกันว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นไม่ได้
2. อนุมานเอาจากพฤติการณ์ต่างๆ
คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2535 จำเลยยืมปุ๋ยและของอื่นไปจากโจทก์เพื่อใช้ในการทำใบยาสูบ
3. กรณีเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน 3. กรณีเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน
เมื่อหนี้ถึงกำหนดแล้ว เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1137/2540 หนี้เงินกู้ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ โจทก์จะบอกกล่าวเพื่อให้เวลาแก่จำเลยหรือไม่ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ แม้ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยให้ชำระหนี้
ข้อยกเว้น: เจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ได้ ก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ มาตรา 193 มาตรา 218 วรรคหนึ่ง มาตรา 663 มาตรา 1754 วรรคสาม
(ข) ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ มาตรา 213 วรรคหนึ่ง ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
“ละเลย”
(ค) เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ 1. ต้องเป็นหนี้ในแพ่ง และ 2. การชำระหนี้ไม่ตกเป็นพ้นวิสัย
1. ต้องเป็นหนี้ในแพ่ง หนี้ในแพ่ง (บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้) หนี้ในแพ่ง (บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้) หนี้ในธรรม (บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้)
2. การชำระหนี้ไม่ตกเป็นพ้นวิสัย impossibilium nulla est obligation
มาตรา 219 ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น
ข. วิธีการบังคับชำระหนี้ มาตรา 213 วรรค 1 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
มาตรา 213 วรรค 2 เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
มาตรา 213 วรรค 3 ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้ มาตรา 213 วรรค 4 อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่
ขั้นตอนการบังคับชำระหนี้ โจทก์ ศาล พิจารณาคดี พิพากษา ออกคำบังคับ จำเลย ออกหมายบังคับคดี ยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์
ค. ขอบเขตการบังคับชำระหนี้ มาตรา 214 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 733 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย
2. สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ก. เงื่อนไขในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ข. ประเภทของค่าสินไหมทดแทนที่เรียกได้ ค. ข้อจำกัดสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน และ ง. สิทธิในการเรียกดอกเบี้ย
ก. เงื่อนไขในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน (ก) ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ หรือการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย (ข) เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย (ค) เป็นความผิดของลูกหนี้หรือเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ (ดูมาตรา 213 มาตรา 215 และมาตรา 218)
มาตรา 213 “ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ ... อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่
มาตรา 215 เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้ มาตรา 218 ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น
“เป็นความผิดของลูกหนี้หรือเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ” จงใจ ประมาทเลินเล่อ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ถ้าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัย? = ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้หรือเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ ถ้าลูกหนี้ทำสัญญายอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย แม้ความเสียหายนั้นจะเกิดจากเหตุสุดวิสัย? = ข้อสัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย มีผลใช้บังคับได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 893/2492)
ทำสัญญายกเว้นความรับผิดที่เกิดจากกลฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของลูกหนี้ มาตรา 373 “ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ”
คำพิพากษาฎีกาที่ 2867/2541ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ว่า หากสินค้าที่ธนาคารโจทก์รับจำนำเกิดความชำรุด บุบสลาย เสียหาย สูญหายหรือเสื่อมโทรมไม่ว่าจะโดยเหตุใด ๆ โจทก์ย่อมไม่ต้องรับผิด ไม่มีข้อตกลงชัดเจนยกเว้นมิให้โจทก์รับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือขัดต่อกฎหมาย สามารถใช้บังคับได้
ความรับผิดของลูกหนี้ในการกระทำของตัวแทน มาตรา 220 ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนแห่งตนกับทั้งของบุคคลที่ตนใช้ในการชำระหนี้นั้นโดยขนาดเสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเองฉะนั้น แต่บทบัญญัติแห่งมาตรา 373 หาใช้บังคับแก่กรณีเช่นนี้ด้วยไม่
มาตรฐานความรับผิดที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ มาตรา 659 มาตรา 217
มาตรา 217 ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง
= ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด และ = ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัด
ปัญหา: ลูกหนี้ต้องรับผิดหรือไม่ หากเกิดความเสียหายเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัด หรือ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด
ข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 217 ความหมาย ใช้กับกรณีใด
The German Civil Code § 287: Extended Liability A debtor is responsible for any negligence during his default. He is also responsible for impossibility of performance arising accidentally during the default, unless the damage would have arisen even if he had performed in due time.