การขับเคลื่อนตำรายาของประเทศไทย ภญ.นันทนา สิทธิชัย ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ความเป็นมา ริเริ่มโดยท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2522 คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำตำรายาของประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ 14 ก.พ. พ.ศ. 2522 เป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี โดยมีอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง
วัตถุประสงค์ของการจัดทำตำรายาฯ เพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินคุณภาพยาที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ เพื่อปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับสภาวะของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นตำราที่เป็นที่เชื่อถือมีกฎหมายรับรองและเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นคู่มือสำหรับแพทย์ เภสัชกร ร้านขายยา ผู้ใช้กฎหมายตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยา
สถานะทางกฎหมาย ในปัจจุบันทั้ง TP และ THP เป็นตำรายาตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องระบุตำรายา พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นประกาศ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 76(1) แห่ง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการยาออกประกาศดังกล่าว
การดำเนินงาน คณะกรรมการจัดทำตำรายาของประเทศไทย คณะอนุกรรมการต่างๆเช่น - คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานและวิธีตรวจสอบคุณภาพยา -คณะอนุกรรมการจัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจต่างๆเช่น - คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านการใช้สถิติในการวิเคราะห์และทดสอบทางชีววิทยา
-คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรไทย กลุ่มจัดทำตำรายาของประเทศไทย สำนักยาและวัตถุเสพติดเป็นผู้รับผิดชอบ
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตำรายาของประเทศไทย (Thai Pharmacopoeia) -TP I, Volume I, Part 1 and 2 เป็นมาตรฐานยาวัตถุดิบ จำนวน 1073 โมโนกราฟ -TP I, Volume II, Part 1,2 and 3 เป็นมาตรฐานยาสำเร็จรูป จำนวน 823 โมโนกราฟ -TP II จัดพิมพ์ปลายปี พ.ศ. 2553
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) -THP,volume I ประกอบด้วยสมุนไพร 11 ชนิด และวิธีทดสอบ 76 เรื่อง - THP,volume II ประกอบด้วยสมุนไพร 10 ชนิด และวิธีทดสอบ 72 เรื่อง -Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2004 ประกอบด้วยสมุนไพร 2 ชนิด และ ยาเตรียม 3 ตำรับ และวิธีทดสอบ 40 เรื่อง - THP,volume III อยู่ระหว่างจัดพิมพ์
ปัญหาและอุปสรรค ความไม่ทันต่อเหตุการณ์ ออกช้า ทำให้มีมาตรฐานยาใหม่ๆออกมาช้า กรณีสมุนไพรที่เป็นที่ต้องการของตลาด ออกช้า การใช้อ้างอิงยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร
ขอบคุณ…