ฤาษีดัดตน ‘Hermit body-contorting exercise’
คำจำกัดความ ฤาษี หรือ ฤษี นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ ดัดตน การทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายน้อมไปตามต้องการ เช่น ให้ยืด ให้หด ให้งอ ให้บิด ฯลฯ ได้ตามต้องการแล้วแต่ความชำนาญที่ได้ฝึกฝนมาจนเกิดความคล่องตัว
คำจำกัดความ ฤาษีดัดตน การพักผ่อนอิริยาบถ แก้เมื่อย แก้ขบ ระบบตามร่างกาย ของเหล่าฤาษี ชีไพร ผู้ได้บำเพ็ญพรต เจริญภาวนามานาน การบริหารร่างกาย หรือกายกรรม เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
มูลเหตุแห่งประติมากรรมฤาษีดัดตน การดำรงอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน เมื่อยขบ เกิดความทุพพลภาพ แห่งอวัยวะ แก้โดย การดัดตน
มูลเหตุแห่งประติมากรรมฤาษีดัดตน ประโยชน์การดัดตน สร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นภายในร่างกาย ทำให้โลหิตไหลและเลือดลมไหลเวียน เกิดการเห็นผลอย่างแท้จริง ** บูรพมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี จึงได้สร้างรูปฤาษีดัดตนไว้เป็นวิทยาทานแก่พสกนิกร
การบันทึกเรื่องฤาษีดัดตนลงในสมุดไทย ลักษณะหนังสือสมุดไทยดำ บอกสรรพคุณ (ซ้ายบน) บอกรายนามผู้แต่ง (ข้างขวา) โคลงอธิบายรายละเอียด (ด้านล่าง)
การบันทึกเรื่องฤาษีดัดตนลงในสมุดไทย การคัดลอกสมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน ฉบับพระสมุห์เวก (ช่างเขียนอยู่วัดสุทัศน์เทพวราราม ฉบับของพระยาอุไทธรรม (หรุ่น วัชโรทัย) ได้มีการนำภาพเขียนฤาษีดัดตน 40 ท่า ไปเขียนไว้ที่ผนังคอสอง ของศาลาโถง ณ วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ท่าพื้นฐาน ๑๕ ท่า
ท่าที่ ๑ นวดหน้า ๗ ท่า
ฤๅษีดัดตน นวดหน้า ๗ ท่า ท่าที่ ๑ เสยผม ท่าที่ ๒ ทาแป้ง ท่าที่ ๓ เช็ดปาก ท่าที่ ๔ เช็ดคาง ท่าที่ ๕ กดใต้คาง ท่าที่ ๖ ถูหู ท่าที่ ๗ ตบท้ายทอย
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๒ ดัดตนแก้ลมข้อมือ และ แก้ลมในลำลึงค์ ประโยชน์ แก้ลมในข้อมือ บริหารข้อมือ ท่าเตรียม นั่งขัดสมาธิ พนมมือ
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๓ ดัดตนแก้ปวดท้องและข้อ เท้า และแก้ลมปวดศรีษะ ประโยชน์ แก้ลมปวดศีรษะ แขน ท้องและข้อเท้า ท่าเตรียม นั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองข้าง ประสานกันระดับอก
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๔ ดัดตนแก้ลมเจ็บศรีษะ และตามัว และแก้เกียจ ประโยชน์ แก้ลม ปวดศีรษะ ตามัว ท่าเตรียม นั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองข้าง ประสานกันระดับอก
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๕ แก้แขนขัด และแก้ขัดแขน ประโยชน์ แก้ขัดแขน ปวดแขน แก้แขนขัด และแก้ขัดแขน ประโยชน์ แก้ขัดแขน ปวดแขน ท่าเตรียม นั่งขัดสมาธิ ลำตัวตรง ยกศอกข้าง ซ้ายให้ตั้งฉากกับลำตัว โดยให้ฝ่ามือวางไว้แนบแก้มซ้าย มือขวากุมใต้ศอกซ้าย
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๖ ดัดตนแก้กล่อนและแก้เข่า ขัด ประโยชน์ แก้ขัดเข่า ท่าเตรียม นั่งเหยียดขาทั้งสองข้าง มือ สองข้างวางไว้บริเวณต้นขา หน้าและหลังตรง
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๗ ดัดตนแก้กล่อนปัตคาต และ แก้เส้นมหาสนุกระงับ ประโยชน์ แก้ลม แก้กล่อนปัตคาต แก้เส้นมหาสนุกระงับ ท่าเตรียม นั่งเหยียดขาข้างซ้ายเฉียงไปทางซ้าย งอเข่าขวาให้ฝ่าเท้าชิดต้นขาซ้าย กำ หมัดทั้งสองข้างให้ขนานกันไว้ที่ ระดับอก และให้ห่างจากอก
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๘ ดัดตนแก้ลมในแขน ประโยชน์ แก้ลมในแขน ข้อมือ และนิ้วมือ ท่าเตรียม นั่งชันเข่าข้างซ้ายและยื่นแขนข้าง ซ้ายออกไปข้างหน้า โดยไม่พักไว้ บนหัวเข่า ใช้มือข้างขวาจับนิ้วมือ ข้างซ้ายที่ยื่นออกไปให้ฝ่ามือ ตั้งขึ้น
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๙ ดัดตนดำรงกายอายุยืน ประโยชน์ ทดสอบการทรงตัว ยืดหลัง เข่า ขา และช่วยระบบขับถ่าย ท่าเตรียม ยืนแยกขาแบะปลายเท้าออก มือทั้ง สองข้างกำหมัดวางซ้อนกันที่ระดับ อก แขนตั้งฉากกับลำตัว และมือห่างจากอก
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๑๐ ดัดตนแก้ไหล่ ขา และแก้เข่า ขา ประโยชน์ ดัดตนแก้ไหล่ ขา และแก้เข่า ขา ประโยชน์ แก้อาการปวดไหล่ ขา ขาขัด บริหารเอว อก ขา ไหล่ ท่าเตรียม ยืนก้าวขาข้างซ้ายเฉียงออกไปทางซ้าย มือซ้ายวางบนหน้าขาซ้าย มือขวาท้าวอยู่บนสะโพก
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๑๑ ดัดตนแก้โรคในอก ประโยชน์ แก้โรคในอก ทำให้ปอดแข็งแรง ท่าเตรียม นอนหงาย ขาและลำตัวเหยียด ตรง แขนทั้งสองข้างวางแนบ ลำตัว มือคว่ำลง
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๑๒ ดัดตนแก้ตะคริวมือตะคริว เท้า ประโยชน์ แก้ตะคริวมือและเท้า บริหารขา เอว ท่าเตรียม ยืนแยกขาให้ปลายเท้าแบะออก ย่อตัวเล็กน้อย กางศอก คว่ำมือวาง ไว้ที่หน้าขาปลายนิ้วมือชี้เข้าหากัน
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๑๓ ประโยชน์ แก้ตะโพกสลักเพชร ไหล่ ขา ขัด ท่าเตรียม ดัดตนแก้ตะโพกสลักเพชร และแก้ไหล่ ตะโพกขัด ประโยชน์ แก้ตะโพกสลักเพชร ไหล่ ขา ขัด ท่าเตรียม ยืนให้ขาทั้งสองข้างขนานกัน หรือเท้าชิดกัน มือทั้งสองข้างวางบนหน้า ขา โดยให้หัวนิ้วโป้งอยู่ด้านหน้า
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๑๔ ดัดตนแก้ลมนัยน์ตามัว และ แก้ลมอันรัดทั้งตัว ประโยชน์ แก้ลมรัดทั้งตัว และลมเลือดในตา มัว ท่าเตรียม นอนคว่ำ ขาทั้งสองข้างเหยียดตรง ส้นเท้าชิดกัน มือทั้งสองข้าง ประสานกัน วางบนพื้นในระดับคาง คางวางบนหลังมือ ข้อควรระวัง ในผู้ที่มีอาการเวียน ศีรษะ ปวดต้นคอ หรือชาแขน
ฤๅษีดัดตน ท่าที่ ๑๕ ดัดตนแก้เมื่อยปลายมือปลายเท้า ประโยชน์ แก้อาการปวดเมื่อยปลายมือปลายเท้า บริหาร เอว เข่า ขา คอ ท่าเตรียม นอนตะแคงเท้าทั้งสองข้างชิดกัน ลำตัวเหยียดตรง แขนซ้ายเหยียดตรง ขนานลำตัว มือคว่ำลงกับพื้น ศีรษะหนุนต้นแขนซ้าย แขนขวาเหยียดตรง คว่ำมือลงแนบลำตัว
ขอบคุณครับ