ความสัมพันธ์ดีกรี n และการประยุกต์ใช้งาน ค31212 คณิตศาสตร์สำหรับ คอมพิวเตอร์ 2
ความสัมพันธ์ดีกรี n และการประยุกต์ ความสัมพันธ์ระหว่างของที่มากกว่า 2 อย่าง อาจ เกิดขึ้นได้ โดยที่สมาชิกของความสัมพันธ์ของสิ่งของ n อย่าง เมื่อ n > 2 จะอยู่ในรูป (a1,a2,a3,…,a4) เราเรียก n ว่าดีกรีของความสัมพันธ์และเรียก สมาชิกของแต่ละตัวของความสัมพันธ์ว่า เอ็น-ทู เปิล (n-tuple)
ตัวอย่าง กำหนดความสัมพันธ์บนเซตของจำนวนเต็ม ระหว่างจำนวน 3 จำนวน ดังนี้ R = {(a,b,c)II I | a<b<c} จะได้ (1,2,4) R (2,4,6) R แต่ (1,5,2) R ความสัมพันธ์ R มีดีกรีเท่ากับ 3
ความสัมพันธ์และฐานข้อมูล แนวคิดของความสัมพันธ์ n-tuple ได้ถูกนำไป ประยุกต์ใช้ในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relation database system) โดยตัวแบบเชิงสัมพันธ์ (relation model) ได้ จัดเก็บข้อมูลที่สัมพันธ์กันซึ่งอยู่ใน แถว เดียวกัน ของตาราง เขียนแทนการเก็บข้อมูลใน 1 แถวได้ดังนี้ (a1,a2,a3,…,an)
ตัวอย่าง ตาราง แสดงข้อมูลวิชาเรียน รหัสประจำตัว และ เกรดที่ได้รับ Course ID GRADE ว101 12345 A 67890 B+ ค202 B
ตัวอย่าง จากตาราง แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 3 เซตคือ Course, ID และ GRADE ซึ่งมีดีกรีเป็น 3 ดังนั้น ความสัมพันธ์ที่ได้จึงเป็นสับเซตของ Course ID GRADE เขียนเป็นคู่อันดับคือ (ว101,12345,A)
แอตทริบิวต์ สดมภ์ (column) ของตารางในฐานข้อมูล เรียกว่า แอตทริบิวต์ (attributes) โดยแต่ละแอ ตทริบิวต์จะต้องมีชื่อเรียกเพื่ออ้างอิง เช่น ตารางที่ 5.1 ประกอบด้วยแอตทริบิวต์ Course, ID และ Grade
กุญแจหลัก แอตทริบิวต์บางแอตทริบิวต์ของความสัมพันธ์จะถูก เลือกเป็นกุญแจหลัก (primary keys) ของ ความสัมพันธ์นั้น ถ้าค่าของข้อมูลของแอตทริบิวต์ใน 2 แถวใดๆ ไม่ซ้ำกันเลย (unique) โดยทั่วไป การเลือกแอตทริบิวต์ที่จะใช้เป็นกุญแจหลัก จะต้องใช้แอตทริบิวต์ที่น้อยที่สุด แต่งบางครั้งไม่ สามารถใช้ แอตทริบิวต์เดี่ยวๆได้ อาจจะต้องใช้ 2 แอ ตทริบิวต์หรือมากกว่านั้น เราเรียกกุญแจหลักที่มีหลายแอตทริบิวต์ว่า คีย์ คอมโพสิท (composite)