น้องพล (ด.ช.พลวัฒน์ บุญผ่องวิพัฒน์) เกิดเมื่อ วันที่ 3 มีนาคม 2551 ด้วยน้ำหนักตัว 3.2 กก. แรกคลอดดูปกติดี แต่ตอนท้องน้องพลจะดิ้นไม่แรง ถามหมอตอนไปฝากครรภ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในวัยเด็ก
Advertisements

สุขภาพดีซื้อขายได้ที่ไหน ?
จดหมาย ทารก ถึงมารดา.
นิทาน เรื่อง คุณยายพยาบาล
กฎหมายทางการแพทย์ End-of-life Care
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
สมมุติว่าขณะนี้เป็นเวลาประมาณหกโมงเย็นและคุณกำลังขับรถกลับบ้านคนเดียวหลังจากเสร็จสิ้นวันทำงานอันแสนเหน็ดเหนื่อย คุณรู้สึกเหนื่อยล้าและคับข้องใจเป็นอย่างมาก…
NAVY PILLOW 2012 (หมอนน้ำ ).
NAVY WATER BED 2012.
นาวาโท สมบูรณ์ เจิมสุจริต E.T.NURSE
การเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเอง
การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในเด็ก (Basic CPR)
การดูแลสุขภาพวิถีไทย(นวดตัวและกดจุดฝ่าเท้า)
การสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดูแลผู้ป่วยเด็กและครอบครัว
ประเมินสภาพของผู้บาดเจ็บ
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทางวิสัญญี (Preoperative medication)
การดูแลการเจริญ เติบโต ในวัยรุ่น
เรื่องราวที่เราส่งมาให้คุณนี้ ช่างงดงาม
ท้องผูก Constipation จัดทำโดย ด.ช.กันตภณ พลับจีน ม.1/4 เลขที่ 3
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คอนสาย-ค้อใหญ่
หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด 2
ยินดีต้อนรับ สู่..ตึกโรคปอด.
แผนการสอนเรื่องปอดอักเสบ
คำแนะนำผู้ป่วย โรคนิ่วในถุงน้ำดี หอผู้ป่วยพิเศษ 2.
งานสุขศึกษา หอผู้ป่วยกุมาร 3
จัดทำโดย… นาง สุรินทร์ สามใจ ผู้ช่วยพยาบาลหน่วยรับ- ส่ง
โรคเอสแอลอี.
การขูดมดลูก การขูดมดลูก หมายถึง การใส่อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ผ่านทางช่องคลอด และ ปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจ.
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่มือ
การดูแลผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่าง
การปฏิบัติตนหลังผ่าตัดเปลี่ยน
การวิเคราะห์ปัญหาวัยรุ่นและการช่วยเหลือ
หนังสือเล่มแรก Bookstart
อย่าด่วนเชื่อเพราะมีเหตุนึกเดาเอาเอง
โรคคอตีบ (Diphtheria)
การพัฒนางานคุณภาพงานเอดส์
โรคที่เกิดจากฮอร์โมนผิดปกติ
เบาหวาน ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลยะลา.
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
การปรับเปลี่ยนเพื่อส่งเสริมการให้นมแม่
( Cardiopulmonary Resuscitation : CPR )
โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome)
จุดเริ่มต้นชีวิต การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ การคลอด
การเป็นลมและช็อก.
การชักและหอบ.
คำแนะนำเรื่อง โรค มือ เท้า ปาก สำหรับผู้ปกครอง.
การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาต
สื่อเพื่อส่งเสริม กระบวนการคิด
A good reminder... ♫ ♫.
กิจวัตรและกิจกรรมในหนึ่งวันของเด็กๆ
โรคติดต่อทางพันธุกรรม
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา พ43102
ข้อห้าม ของการตัดปากมดลูก
Tonsillits Pharynngitis
คนไทยไร้พุง งานสุขศึกษา โรงพยาบาลพะเยา.
นมแม่สร้างลูก แข็งแรงและฉลาด
การรักษาและดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องทางจิต
สักวัน ฉันก็ต้องแก่(เหมือนกัน) ฉันก็คงจะ....
วัณโรค อยู่ใกล้ตัวคุณ...แค่นี้เอง.
การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ให้ งามดั่งใจ 1. เทคนิค ปลูกกล้วยไม้ ที่จะเอ่ยถึงต่อไปนี้อาจเป็นอะไรใกล้ ๆ ตัวเราเอง ครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเลี้ยงกล้วยไม้ไป ปลูกกล้วยไม้
โรคกระเพาะอาหาร Gastritis.
นางสาวนิตย์ติญา ดวงใจ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ไข้หวัดใหญ่ (Flu 2009) ปัจจุบัน การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วประเทศ และพบผู้เสียชีวิต จากโรคดังกล่าวจำนวนหนึ่ง การระบาดภายในประเทศระยะแรก.
ด.ญ.ดวงดาว เจริญศรี เลขที่12 ชั้น ม.3/2
โรคเบาหวาน เป็นชื่อของกลุ่มอาการของโรค ที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้
การปฏิบัติตัวและการดูแลหลังได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะระดับเล็กน้อย
บทลงโทษด้วย ความรัก.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

น้องพล (ด.ช.พลวัฒน์ บุญผ่องวิพัฒน์) เกิดเมื่อ วันที่ 3 มีนาคม 2551 ด้วยน้ำหนักตัว 3.2 กก. แรกคลอดดูปกติดี แต่ตอนท้องน้องพลจะดิ้นไม่แรง ถามหมอตอนไปฝากครรภ์ หมอบอกไม่เป็นไร เด็กอาจดิ้นแรง หรือเบาต่างกันคุณแม่ไม่ต้องกังวล…แต่จริง ๆ แล้วนั้นคือสัญญาณของสิ่งที่กำลังจะเกิดกับน้องพลในเวลาต่อมาอีก 4 เดือน…และต่อไปนี้คือเรื่องราวของน้องพลค่ะ… หลังคลอดแม่ลางาน 3 เดือนเต็ม เพื่อตั้งใจให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเต็มที่และได้ฝากให้คุณยาย ช่วยดูแลที่ จ.เพชรบูรณ์ต่อ เพราะแม่ต้องกลับไปทำงานที่ จ.ระยอง (ตามกำหนดที่ลาคลอดครบแล้ว) ระหว่างนั้นแม่จะนั่งรถทัวร์ สายระยอง-เพชรบูรณ์ เพื่อไปดูแลน้องพลช่วยคุณยายทุกสัปดาห์ใน วันเสาร์-อาทิตย์ และจะปั้มนมใส่ขวดอัดน้ำแข็งใส่กล่องโฟมฝากรถทัวร์ส่งไปให้คุณยายให้น้อง พลได้กินระหว่างรอแม่กลับไปหา เพราะตั้งใจให้น้องพลได้กินนมแม่จนครบ 1 ขวบ (แม่ยังเก็บตั๋วรถทุกใบไว้ให้น้องพลดูเพื่อรู้ว่าแม่รักพลมากแค่ไหน ถึงแม่ไม่ได้อยู่เลี้ยงน้องพลทุกวันแต่แม่ก้อเดินทางไกลเพื่อกลับไปหาน้องพลทุกอาทิตย์)

ในวันหนึ่งที่คุณแม่เลี้ยงน้องพลอยู่ ก้อเริ่มสังเกตุเห็นความผิดปกติของน้องพลเมื่อน้องพลอายุย่างเข้าเดือนที่ 4 ความผิดปกตินี้แม่สังเกตุได้จากการเปรียบเทียบกับลูกชายของพี่สาวแท้ ๆ ของแม่เอง ที่คลอดลูกชายหลังจากน้องพล 16 วัน แต่กลับมีพัฒนาการเรื่องการเคลื่อนไหวและการชันคอก่อนน้องพล เวลาอุ้มน้องพลจะตั้งคอได้แป๊บนึงแล้วก้อจะพับคอลง แม่พาน้องพลไปพบหมอกุมารแพทย์ในตัว จ.เพชรบูรณ์ คุณหมอบอกว่าน้องพลมีพัฒนาการการเคลื่อนไหวที่ช้ามาก แม่จึงตัดสินใจพาน้องพลเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ในวันนั้นเลย เพื่อไปตรวจกับแพทย์ที่ รพ.จุฬาฯ ซึ่งได้พบกับ อ.หมอวิโรจน์ (หมอระบบประสาท) อ.หมอบอกว่า น้องพลน่าจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท แต่ยังไม่สามารถตรวจเพิ่มเติมได้เพราะน้องพลยังเล็กอยู่ ต้องรอให้อายุครบ 9 เดือนก่อน คุณหมอจึงออกใบนัดให้กลับมาตรวจ MRI (ตรวจภาพสมอง) ในวันที่ 3 ธ.ค. 51 แต่ในวันที่ 2 ธ.ค. 51 (ก่อนวันนัดตรวจ MRI ที่ รพ.จุฬา 1 วัน) น้องพลก้อต้องเข้ารับการรักษาที่ รพ.เพชรบูรณ์ ด้วยอาการปอดอักเสบ และในสัปดาห์ที่ 3 ของการรักษา กล้ามเนื้อหัวใจน้องพลอ่อนแรง คุณหมอต้องใส่ท่อและต่อเครื่องช่วยหายใจให้น้องพลเพื่อช่วยชีวิตน้องพลไว้

ที่ รพ.เพชรบูรณ์ ไม่มีคุณหมอระบบประสาทและขาดเครื่องมือในการตรวจหาโรค แม่จึงพยายาม ติดต่อ รพ.ศูนย์ทุกที่ แต่ไม่มีที่ใดมีเตียงในห้อง ICU ว่างเลย เวลาผ่านไปเกือบสองสัปดาห์ที่รอ ก้อได้รับข่าวดีจากคุณหมอแจ้งว่า รพ.จุฬาฯ ติดต่อกลับมาว่าห้อง ICU มีเตียงและเครื่องช่วยหาย ใจสำหรับน้องพลแล้วซึ่งเป็นวันที่ทุกคนดีใจมาก น้องพลได้ย้ายตัวเข้าไปรับการรักษาที่ รพ.จุฬาฯ ในวันที่ 8 ม.ค. 52 อาจารย์หมอและคณะแพทย์ สันนิษฐานว่าน้องพลน่าจะเป็นโรคทางพันธุกรรม จึงได้ส่งเลือดน้องพลไปตรวจที่ รพ.ศิริราช และ ตัดชิ้นเนื้อของน้องผลที่ต้นขาไปตรวจไว้ยืนยันกับผลเลือด หนึ่งเดือนที่รอผลเลือด เมื่อครบกำหนดผลเลือดออก ประกอบกับผลชิ้นเนื้อ อ.หมอ สรุปว่าน้องพล เป็นโรค SMA (Spinal muscular atrophy) Type 1 หรือ กล้ามเนื้อกล้ามเนื้อกระดูกสันหลังหด ขั้นรุงแรง ซึ่งเกิดจากยีนส์ที่ผิดปกติของพ่อและแม่มาเจอกัน และทุกการตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยง 25% หรือ 1 ใน 4 เป็นโรคที่พบน้อยมาก โรคนี้จะมีผลทำให้ระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ทั้งร่างกายเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ

การรักษา ทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศยังไม่มีวิธีรักษา มีเพียงการดูแลประคับประคองตามอาการ และระวังการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้เสียชีวิต และเด็กส่วนใหญ่ที่เป็น โรค SMA Type 1 จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2 ปี แต่ก้อขึ้นอยู่กับ การดูแล และกำลังใจของผู้ป่วยด้วย คณะแพทย์ รพ.จุฬาฯ ได้ตัดสินใจเจาะคอน้องพลเพื่อต่อเครื่องช่วยหายใจแทนการต่อผ่านหลอดคอ เพราะป้องกันการติดเชื้อและเจาะท้องต่อสายตรงไปที่กระเพาะ เพื่อให้อาหารทางสายยางน้องพลไม่สามารถกลืนน้ำลายได้จึงต้องต่อสายเพื่อดูดน้ำลายตลอด 24 ชม. (กล้ามเนื้อส่วนคอก้อเสื่อมสภาพทำให้กลืนไม่ได้) เมื่อทาง รพ.จุฬาฯ แจ้งสิ้นสุดการรักษาน้องพลแล้วคุณแม่จึง ขอพาน้องพลย้ายกลับมารักษาตัวต่อที่ รพ.สมเด็จฯ ณ ศรีราชา ตึกมหิดล ชั้น 4 ห้องรวมกุมารเวช ซึ่งเป็น รพ.ที่อยู่ใกล้บ้าน เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 52 เป็นต้นมา จนถึง ณ ปัจจุบัน

กิจวัตรประจำวันของน้องพลที่ รพ. คือ จะต้องดูดเสมหะทุก 4 ชม กิจวัตรประจำวันของน้องพลที่ รพ. คือ จะต้องดูดเสมหะทุก 4 ชม. ก่อนให้นมและอาหารทางสายยาง ทำแผลที่คอ และท้องวันละ 1 ครั้ง และเนื่องจากกล้ามเนื้อน้องพลไม่แข็งแรงเนื่องจากระบบประสาทการเคลื่อนไหวค่อย ๆ เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ ทำให้น้องพลนั่งไม่ได้ ยกแขน ขาไม่ได้ แต่ยังโชคดีที่สมองน้องพลไม่เป็นอะไร น้องพลจึงแสดงออกทางความรู้สึกทางสีหน้าให้รับรู้ได้ ซึ่งน้องพลจะเป็นเด็กอารมณ์ดี (มาก ๆ ) ชอบฟังเพลง แม่จะช่วยขยับน้องพลตามจังหวะเพลง ซึ่งน้องพลจะชอบและจะส่ายหัวตามจังหวะ ยิ้มหวาน ให้แม่ได้ชื่นใจเสมอ น้องพลชอบฟังนิทานที่แม่เล่า ก่อนนอนแม่จะสวดมนต์ให้น้องพลฟังทุกคืน และจะหลับไปพร้อมกับบทสวดมนต์ของแม่ พอตื่นเช้ามาน้องพลจะได้ใส่บาตรทุกเช้า เพราะหลวงตาท่านเมตตามารับบาตรที่เตียงทุกวัน วันไหนอากาศดี ๆ พี่ ๆ พยาบาลใจดี ก้อจะพาน้องพลออกมานั่งเล่นหน้าระเบียงของห้องรวมกุมารเวช ซึ่งเป็นสถานที่เดียวที่น้องพลจะได้ออกมาสัมผัสกับอากาศบริสุทธิ์ด้านนอกได้เห็นท้องฟ้า และต้นไม้สีเขียวที่ขึ้นอยู่รอบ ๆ ตึก ซึ่งเป็นสิ่งที่น้องพลชอบมาก จะคึกคัก ดีใจ เป็นที่สุด แต่ก้อจะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะน้องพลจะมีน้ำลาย และเสมหะรบกวน

แม่ตั้งใจจะดูแลน้องพลอยู่ที่ รพ แม่ตั้งใจจะดูแลน้องพลอยู่ที่ รพ. เพราะอยากให้น้องพลอยู่ใกล้แพทย์และพยาบาล แต่คุณหมอที่ รพ. บอกว่า การที่น้องพลอยู่ที่ รพ. จะมีโอกาสได้รับเชื้อที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งะจะทำให้น้องพลมีอาการที่ทรุดลงได้ แต่แม่ขอให้คุณหมอช่วยดูแลน้องพลที่ รพ. ต่ออีกสักระยะเพื่อรอให้น้องพลโตพอที่จะสื่อสารบอกความรู้สึกกับแม่ได้ และให้แม่พ่อและยายได้ฝึกการดูแลน้องพลให้เกิดความชำนาญมากขึ้นก่อน เพราะเคยเกิดเหตุการณ์วิกฤตกับน้องพล 2-3 ครั้ง คือ หลอดคอหลุด และเกิดหายใจล้มเหลวเพราะเสมหะอุดตันหลอดคอ ทำให้น้องพลตัวเขียว (เพราะขาดอากาศ) แม่และยายไม่สามารถตั้งสติในการให้ความช่วยเหลือน้องพลได้เลย เพราะด้วยความตกใจ ดังนั้น หากต้องพาน้องพลกลับบ้านไปตอนนี้ น้องพลจะเป็นอันตรายมากกว่าอยู่ที่ รพ. แต่ปัญหาที่เกิดกับน้องพลขณะนี้ คือ เครื่องช่วยหายใจที่ รพ. มีและสามารถใช้กับน้องพลได้มีอยู่เพียงเครื่องเดียว และเป็นเครื่องที่มีอายุการใช้งานที่นานแล้ว ทำให้บางครั้งเครื่องมีปัญหาขัดข้องต้องตามช่างมาซ่อม ซึ่งต้องใช้เวลาซ่อมเครื่องนาน 2-3 ชม. และ รพ.ไม่มีเครื่องสำรองมาแทน ทำให้แม่และยาย ต้องสลับกันใช้มือบีบแอมบลูช่วยน้องพลหายใจในระหว่างที่รอเครื่องซ่อมเสร็จ

แม่ถามทางคุณหมอ และ พยาบาล ว่าทาง รพ. พอจะซื้อเครื่องมา สำรองได้หรือไม่ รพ.แจ้งว่าการซื้อเครื่องต้องใช้งบประมาณค่อน ข้างสูงจึงทำได้ลำบาก ต้องรองบประมาณรายปี แม่ถามต่อว่า รพ. สามารถยืมเครื่องจาก รพ.ใกล้เคียงมาแทนได้หรือไม่ คุณหมอแจ้ง ว่า รพ.ใกล้เคียงต่างมีเครื่องช่วยหายใจพอเพียงพออยู่แล้ว จึงเป็น เรื่องที่ลำบากมากในการหาเครื่องมาทดแทน การแก้ปัญหาที่ทำได้ กรณีเครื่องมีปัญหา คือ ต้องใช้มือบีบแอมบลูไปเรื่อย ๆ จนกว่าเครื่อง จะซ่อมเสร็จ นั่นคือคำตอบสุดท้ายที่แม่ได้รับ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันกรณีเครื่องช่วยหายใจที่ รพ. ขัดข้อง และ เพื่อเตรียมความพร้อมให้น้องพลได้ทดลองใช้เครื่องช่วยหายใจก่อน ที่จะนำกลับไปใช้ที่บ้าน เมื่อแม่และยายมีความพร้อมเรื่องการดูแลก้อจะรีบพาน้องพลกลับไปดูแลที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคใน รพ. แม่จึงพยายามรวบรวมเงินที่มีบวกกับเงินที่พี่น้องที่ทำงานช่วยกันบริจาคมาเป็นเงิน 5 หมื่นบาท เพื่อช่วยซื้อเครื่องช่วยหายใจเครื่องใหม่ที่ปลอดภัยมาให้น้องพลไว้ใช้ที่ รพ.แทนเครื่องที่ขัดข้อง โดยแม่มีความตั้งใจว่าจะมอบเครื่องช่วยหายใจให้กับ รพ. ถ้าน้องพลไม่ใช้แล้ว แต่ด้วยเงินที่รวบรวมและมีอยู่ ยังมีไม่เพียงพอที่จะซื้อเครื่องได้ เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจมีราคา ค่อนข้างสูงมากร่วม 5 แสนบาท

...ขอเชิญท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาลมหายใจน้อย ๆ นี้ไว้... ...ขอเชิญท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาลมหายใจน้อย ๆ นี้ไว้... โดยท่านสามารถร่วมบริจาคเงินซื้อ “เครื่องช่วยหายใจ” ให้กับน้องพลได้ ที่บัญชีของ (คุณแม่) ชื่อบัญชี ณัฐนันท์ บุญผ่องวิพัฒน์ ธ.กรุงไทย สาขา มาบตาพุด เลขที่บัญชี 234-0087-96-1 หรือ สอบถามข้อมูลอาการป่วยของน้องพลเพิ่มเติมได้ที่ รพ.สมเด็จฯ ณ ศรีราชา (โทร) 038-322157 ต่อ ตึกมหิดล ชั้น 4 กุมารเวช เบอร์ติดต่อ (คุณแม่) 087-4881307 “...ความหวังในปาฏิหารย์ ที่แม่พ่อ และยาย ขอมีเพียงสิ่งเดียว คือ ให้น้องพลสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ เพื่อน้องพลจะได้มีโอกาสได้ออกไปเห็นโลกภายนอก และมีโอกาสได้ไปทำบุญในที่ต่าง ๆ ที่แม่พ่อและยายตั้งใจจะพาน้องพลไป...” …ขออนุโมทนาบุญ ขอให้ท่านผู้ใจบุญมีสุขภาพแข็งแรง ตลอดไป…