การออกแบบการวิจัย
ความหมายแบบการวิจัย แบบการวิจัยหมายถึง แผน (Plan) โครงสร้าง (Structure) และยุทธวิธี (Strategy) ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบต่อปัญหาวิจัย (Keringer.1972)
Research design แบบการวิจัย – รูปแบบเฉพาะของการวิจัยเพื่อตอบสนองจุดม่งหมายการวิจัยหนึ่ง การออกแบบการวิจัย – การวางโครงสร้าง/กรอบการวิจัย ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย การวางกรอบตัวแปร การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล เปรียบเสมือนการพิมพ์เขียวการวิจัย
การออกแบบการวิจัย หมายถึง การจำกัดขอบเขตและการวางรูปแบบการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่เหมาะสมกับปัญหาการวิจัย ผลการออกแบบการวิจัยทำให้ได้แบบที่เรียกว่า “แบบการวิจัย” ซึ่งประดุจพิมพ์เขียวของการวิจัย (พวงรัตน์ ทวีรัตน์.2543)
การออกแบบการวิจัย (research design) เป็นการวางกรอบการวิจัย ส่วนเค้าโครงการวิจัย (research proposal) เป็นการวางรายละเอียดภายใต้กรอบวิจัย
วัตถุประสงค์การออกแบบการวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบต่อปัญหาที่ทำการวิจัยอย่างถูกต้อง แม่นยำ เป็นปรนัย เพื่อควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อน เพื่ออธิบายหรือควบคุมความแปรปรวน (varance)
การอธิบายหรือควบคุมตัวแปร ผลสัมฤทธิ์ การอธิบายความแปรปรวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแปรเจตคติ ความถนัด ครอบครัว อายุ เจตคติ อายุ ครอบครัว ความถนัด
ประโยชน์การออกแบบการวิจัย ช่วยสามารถวางแผนควบคุมตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อนได้ ช่วยให้เลือกใช้สถิติได้อย่างเหมาะสม ช่วยในการกำหนดและสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ช่วยในการคำนวณค่าใช้จ่าย แรงงานในการทำวิจัย ช่วยประเมินผลการวิจัยว่าถูกต้องแค่ไหน
จุดมุ่งหมายของการวิจัย end – soughts of research (Miller.1990) to control to explain/predict to describe to explore
หลักการออกแบบการวิจัย : The Max Min Con Principle (เชิงทดลอง)
Max : Maximization หมายถึง การทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเนื่องมาจากตัวแปรอิสระมีค่าสูงสุด(Maximization of systematic variance) ให้ตัวแปรอิสระมีความแตกต่างกันมากที่สุด เพื่อให้ผลการเปรียบเทียบที่วัดจากตัวแปรตามชัดเจนที่สุด
Min : Minimization หมายถึง ทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนต่างๆมีค่าต่ำสุด (Minimization of error variance) ความคลาดเคลื่อนอาจเกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคล หรือเกิดจากการวัด
Con : Control หมายถึง ควบคุมตัวแปรปรวน อันเกิดจากตัวแปรแทรกซ้อนอย่างมีระบบ (Control Extraneous Systematic Variance) เป็นการพยายามทำให้ตัวแปรเกิดจากการกระทำโดยตรงอย่างสมบูรณ์จากตัวแปรอิสระ
Statistical Control เป็นการใช้สถิติหรือวิธีการทางสถิติมาควบคุม เช่น Analysis of covariance ซึ่งสามารถปรับคุณสมบัติที่ต่างกันบางประการของกลุ่มตัวอย่างได้
ความเที่ยงตรงของการออกแบบการวิจัย Validity of Research Design
เป็นความแกร่งของการวิจัย Internal validity เป็นความแกร่งของการวิจัย
Internal validity เป็นความสามรถในการสรุปอ้างอิงหรือวางนัยทั่วไป (generalizability) ของผลการวิจัย หรือ ผลการวิจัยจะนำไปใช้ได้กว้างเพียงใด มี 2 ลักษณะ คือ population validity - ผลการวิจัยนำไปใช้กับประชากรใดได้เพียงใด ecological validity – ผลการวิจัยจะนำไปใช้ได้หรือเป็นจริงได้ ในสถานการณ์ใด เพียงใด
ข้อควรพิจารณา การวิจัยเชิงปริมาณ ถ้าหากขาดการควบคุมคุณภาพพื้นฐานของข้อมูล เช่น ความเที่ยงตรง ความเชื่อถือได้ของข้อมูล ถึงแม้จะใช้สถิติชั้นสูงเพียงใด ก็เปรียบได้กับการเอาขยะเข้าไปในคอมพิวเตอร์และย่อยออกมาเป็นขยะ (garbage in – garbage out)
แบบการวิจัยที่ดี : สมดุลระหว่าง ความแกร่ง กับ ความสมเหตุสมผล ใช้หลักการทางทฤษฎีเป็นพื้นฐานการวิจัย แต่อาจไม่ยึด ติดกับระเบียบวิธีแบบเดิมจนเกินไป จนกลายเป็น ข้อจำกัดในการใช้รูปแบบการวิจัย