OSI MODEL
OSI (Open Systems Interconnection) เป็นโมเดลการสื่อสารว่าอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ จะติดต่อกันในรูปแบบใด
เลเยอร์ ตามโมเดลของ OSI จะมีการแบ่งรูปแบบการสื่อสารออกเป็น 7 เลเยอร์(Layers) ด้วยกัน ซึ่งแต่ละเลเยอร์ก็จะมีรายละเอียดขั้นตอนของการสื่อสารแตกต่างกันไป
OSI LAYER 1.Physical Layer 2.Data Link Layer 3.Network Layer 4.Transport Layer 5.Session Layer 6.Presentation Layer 7.Application Layer
Physical Layer เลเยอร์นี้เป็นเลเยอร์ล่างสุดที่ติดกับฮาร์ดแวร์ เลเยอร์นี้จะนิยามถึงสื่อส่งข้อมูลเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และรวมถึงการกำหนดค่าว่าสัญญาณข้อมูลจะวิ่งผ่านบนสื่อส่งข้อมูลได้อย่างไร
Data Link Layer เลเยอร์นี้จะทำหน้าที่รวมกลุ่มข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นชุดเพื่อเตรียมส่งข้อมูลบนเครือข่าย
Network Layer เลเยอร์นี้จะทำหน้าที่แยกแยะคอมพิวเตอร์แต่ละตัวบนเครือข่าย และกำหนดทิศทางการวิ่งข้อมูลบนเครือข่าย
Transport Layer เลเยอร์นี้จะทำหน้าที่แก้ไขข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล และรับประกันว่าข้อมูลส่งถึงปลายทางแน่นอน
Session Layer เลเยอร์นี้ทำหน้าที่ให้อุปกรณ์สองตัวหรือแอปพลิเคชันสองตัวเชื่อมต่อ และสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
Presentation Layer เลเยอร์นี้เป็นการจัดรูปแบบข้อมูลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโค้ดควบคุม เพื่อโปรแกรมแอปพลิเคชันสามารถอ่านข้อมูลนี้ได้
Application Layer เลเยอร์นี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมที่รันอยู่บนคอมพิวเตอร์และบริการอื่นในเครือข่าย เช่น ดาต้าเบส หรือ บริการงานพิมพ์
การส่งข้อมูลในรูปแบบ OSI เมื่อผู้ใช้หรือโปรแกรมประยุกต์ซึ่งอยู่ในระดับชั้นแอปพลิเคชันต้องการส่งข้อมูล ก็จะใช้บริการของระดับชั้นแอปพลิเคชันโดยที่ระดับชั้นแอปพลิเคชันจะปะเฮดเดอร์ในระดับของตัวเองเพื่อใช้ในการพูดคุยด้วยกฎเกณฑ์ที่แน่นอนกับระดับชั้นแอปพลิเคชันของเครื่องฝั่งรับ แล้วจึงส่งข้อมูลมาให้ระดับล่างซึ่งต่างจะปะเฮดเดอร์ในระดับของตัวเองเพื่อพูดคุยกับเพียร์โปรเซสในระดับเดียวกัน
การเปรียบเทียบระหว่างตัวแบบ OSI และตัวแบบ TCP / IP
สาเหตุที่ OSI ไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการดังต่อไปนี้ 1.ช่วงเวลาไม่เหมาะสม 2.เทคโนโลยีไม่เหมาะสม 3.การพัฒนาเครือข่ายทำได้ยาก 4.นโยบายไม่เหมาะสม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา DATA COMMUNICATION ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543
Special Thanks For Everybody ...Good Bye...