การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวไทย Assistant Professor Dr. Christopher Johnson

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ปรับพฤติกรรมสุขภาพ.
Advertisements

การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ของเด็กแต่ละวัย
ลีลาการเรียนรู้ Learning Style.
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย
สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
ตัวอย่าง การปรับปรุงข้อสอบ วิชา LB105: Study Skills ภาคที่ 1 / 2545 ( ก่อนการปรับปรุงเป็นข้อ 78 หลังการปรับปรุงเป็นข้อ 20 )
ธรรมชาติและลักษณะของภาษา
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
การจัดกิจกรรม สำหรับพ่อแม่เด็กอายุ 0 – 5 ปี
งานนำเสนอแฟ้มสะสมผลงาน Joseph Jacobs
 การสอนแบบอภิปราย.
เมตาคอกนิชัน(Metacognition)
การพัฒนาการปิด การเจรจาต่อรอง
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
Poster Presentation โดย สำหรับ การประชุม สคร.5 รศ.นพ.สมพนธ์ ทัศนิยม
สอนอย่างไรใน 50 นาที.
มีหน้าที่เชื่อมโยงผู้คน/หน่วยงานเข้าหากัน
การเตรียมการนำเสนอผลงานของ PCT และระบบสำคัญ
วิธีคิดนอกกรอบ สร้างสรรค์อย่าง มีไอเดียแบบเฉพาะตัว
หน่วยที่ 7 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพ
ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ (Theme)
การใช้สถานการณ์จำลองในการจัดการเรียนรู้ (Simulation Method)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ “เกม” (Game)
แบบประเมินก่อนเรียน แบบประเมินก่อนเรียน Part 8.
1 3 - Part 7 แบบประเมินก่อนเรียน แบบประเมินหลังเรียน.
( Theory of Multiple Intelligences ) Gardner (การ์ดเนอร์)
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
สะท้อนประสบการณ์ / ถอดบทเรียน
การนำเสนอแฟ้มผลงานรับฟังความคิดเห็น (ประชาพิจารณ์)
ความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง (Conflict and Negotiation)
การสอนแบบบรรยาย-อภิปราย
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
ผลลัพธ์การเรียนรู้:ผลการจัดการความรู้
ศิลปะการพูดในที่ชุมชน
องค์ประกอบของการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน
เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นผู้เข้ารับการอบรม
การนำเสนอรายงานปากเปล่า (oral presentation)
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ความสำคัญของการคิด และการประเมินการคิด
การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต
กลวิธีการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
บทที่ 11.
ขั้นตอนและหลักการคิดวิเคราะห์วรรณคดี
ทักษะและเทคนิคการสอน Teaching Skills and Techniques
การพัฒนากระบวนการอ่านในรายวิชาภาษาไทย ของนักศึกษาสาขา ช่างยนต์
บทบาทสมมติ (Role Playing)
เทคนิคการรวบรวมข้อมูล
ผู้อำนวยกลุ่มการเรียนรู้ (Learning Facilitator)
แนวทางการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบ การสอนแบบโครงงาน/โครงการ
แก้ปัญหาพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการส่งงานโดยใช้หลักไตรสิกขา
การพูด.
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ สร้างความมีวินัย การตรงต่อเวลา
วิธีสอนแบบอุปนัย.
Theories of Innovation and Information Technology for Learning
บทที่ 7 การวิจัยเชิงสืบเสาะ : การวิจัยเชิงคุณภาพ
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
เทคนิควิธีในการจัดการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
การสอนแบบอภิปราย และการสอนแบบนิรนัย
เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
วิธีการสอนโดยใช้เกม (Game)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวไทย Assistant Professor Dr. Christopher Johnson

วงจรการเรียนรู้ 4 ขั้น ขั้นเตรียม(Preparation) ขั้นตอนนี้ใช้เร้าความสนใจเรื่องที่กำลังจะเรียน สามารถใช้สื่อการสอนที่มีสีสันวูบวาบได้เพราะเป้าหมายหลักอยู่ที่การดึงความสนใจ

ขั้นนำเสนอ(Presentation) การนำเสนอเนื้อหาสาระเป็นครั้งแรก ผู้เรียนอาจหมดความสนใจตั้งแต่ขั้นนี้หากผู้สอนไม่ได้มีการเตรียมตัวมาให้ดีว่าต้องสอนอย่างไร ถึงจะตรึงความสนใจและความความสงสัยของผู้เรียนได้โดยตลอด

ขั้นทดลองฝึก(Practice) เป็นการบูรณาการทางความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ควรข้ามไปและควรฝึกให้เร็วที่สุด โดยผลจากการวิจัยชี้ว่าต้องฝึกสิบครั้งขึ้นไป ถึงจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นปฏิบัติ(Performance) เป็นการนำความรู้และทักษะใหม่ไปใช้ในสถานการณ์จริง สมควรทำให้เร็วที่สุด

สาเหตุที่ทำให้การเรียนน่าเบื่อ ไม่มีการเตรียมการที่ดี การเรียนกับความทุกข์ทรมานจึงถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและพยายามหลีกเลี่ยงการเรียน โดยมีนิสัยกลัวการตอบผิดหรือกลัวขายหน้าเป็นพื้นฐาน คนไทยส่วนใหญ่กลัวการเรียนเพราการเรียนมาพร้อมความกดดันและอาจทำให้อับอายได้ เมื่อไหร่ที่ผู้เรียนเครียดการเรียนย่อมไม่เกิดผล

การนำเสนอไม่ดี การสอนแบบผู้เรียนเป็นฝ่ายรับที่พบมากในประเทศไทยให้ผลดีน้อยกว่าการสอนเชิงรุก เพราะความสนใจของผู้เรียนลดต่ำลงตั้งแต่นำเข้าสู่บทเรียนและจะยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนั้นไปจนสิ้นสุดการเรียน กลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลเสียจากการสอนแบบถ่ายโอนข้อมูลมากที่สุด คือ กลุ่มที่เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวและการลงมือกระทำ เพราะเมื่อขาดประสบการณ์จริงแล้วพวกเขาก็โยงเอาไปใช้ไม่ได้

ทดลองฝึกมากไม่พอ หลังการเรียนการสอนไม่มีการบูรณาการกับความรู้เดิม สิ่งที่จะหายไปได้แก่ ระบบดัชนีสำหรับดึงความรู้ออกมาใช้ ซึ่งถ้าขาดหายไปจะไม่สามารถเรียกใช้ความรู้ใหม่ได้

ไม่ยอมปฏิบัติ จากรูปปิรามิดการเรียนรู้ผู้ที่นำความรู้มาปฏิบัติทันทีสามารถจดจำเนื้อหาได้ถึง 90% ซึ่งการนำเสนอที่เน้นกันมากให้ผลการเรียนรู้แค่ 20%

เป้าหมายของวงจรการเรียนรู้

ขั้นตอนที่1 เตรียมการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ รู้สึกดีกับการเรียนการสอนที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและลดความกังวลก่อนเรียน

บอกประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ เป้าหมายชัดเจนและมีความหมาย สิ่งที่ต้องทำ บอกประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ เป้าหมายชัดเจนและมีความหมาย สร้างบรรยากาศเชิงบวกทั้งกายภาพ อารมณ์ความรู้สึก สังคม คลายความกลัวของผู้เรียน กำจัดอุปสรรค เร้าให้ผู้เรียนสงสัยใคร่รู้ ทำให้ผู้เรียนสบายใจที่จะถาม

ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอ เพื่อแนะนำเรื่องที่กำลังจะเรียนด้วยวิธีการที่สนุกสนานและจุดประกายความคิดโดยมีความเกี่ยวข้องอยู่ในความสนใจของผู้เรียนอีกทั้งสอดคล้องต่อลีลาการเรียนรู้ของพวกเขา โปรดระลึกไว้เสมอว่า คนไทยชอบพูด ชอบฟัง และชอบดู แต่มักจะหลีกเลี่ยงการเขียนและการอ่านเชิงพินิจพิเคราะห์

สิ่งที่ต้องทำ งานคู่ /กลุ่มกิจกรรมที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหาด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ สังเกตและวิเคราะห์ปรากฏการณ์จริงว่านักศึกษาชาวไทยกระตือรือร้นเวลาได้ถกถึงการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน สร้างบรรยากาศเชิงรุก นำเสนอแบบมีปฏิสัมพันธ์ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้แบบค้นพบผ่านบริบทจริง

ขั้นตอนที่ 3 ทดลองฝึก ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะผู้เรียนจะเกิดการบูรณาการและสร้างระบบดรรชนีตามความเข้าใจของตัวเองหรือไม่ก็อยู่ที่ขั้นตอนนี้ โดยพวกเขาจะได้เรียนรู้ผ่านหลากหลายวิธีการ ซึ่งน่าสนใจ สนุกสนาน มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องต่อลีลาการเรียนรู้

สิ่งที่ต้องทำ ทดลอง ฟังผลป้อนกลับ ไตร่ตรอง ทดลองซ้ำ กิจกรรมที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหาและการจำลองสถานการณ์จริง ไตร่ตรองและสรุปเป็นภาษาของตนเอง การฝึกปรือ การสอนกลับ

ขั้นตอนที่ 4 ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำทักษะและความรู้ใหม่มาต่อยอดและประยุกต์ใช้จริง ความรู้จะได้ติดตัว อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งๆขึ้น

สิ่งที่ต้องทำ ประยุกต์ใช้จริงทันที วางแผนและดำเนินตามแผน สร้างแรงจูงใจด้วยการเสริมแรง จับกลุ่มช่วยกันเรียนช่วยกันสอนในหมู่เพื่อนร่วมเรียน

รูปแบบการเรียนรู้แบบ SAVI

รูปแบบการเรียนรู้แบบ SAVI S : Somatic เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวและการลงมือกระทำ A : Auditory เรียนรู้จากการฟังและพูด V : Visual เรียนรู้จากการสังเกตและสร้างจินตภาพ I : Intellectual เรียนรู้จากการไตร่ตรองและแก้ปัญหา

การเรียนรู้จากการเคลื่อนไหว และการลงมือกระทำ S: Somatic การเคลื่อนไหว ขยับร่างกาย การลงมือกระทำ วิธีการเรียนในปัจจุบันเน้นความเป็นองค์รวมระหว่างกายกับจิต แม้ว่าบางเรื่องสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรม แต่การสลับไปสลับมาระหว่างการเรียนรู้เชิงรุกและเชิงรับ ก็ถือว่าเป็นการกระตุ้นผู้เรียนแล้ว

การเรียนรู้จากการฟังและพูด A : Auditory เป็นการเรียนรู้ที่เก่าแก่ที่สุดของคนทุกเชื้อชาติ เรียนด้วยฟังเสียงสนทนา การอ่านออกเสียง การเล่าถึงประสบการณ์ การคุยกับตนเอง การจดจำบทเพลง การท่องโคลงกลอน การท่องอาขยาน การท่องในใจ สำหรับผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดี ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดออกมาระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ ช่วงการแก้ปัญหา ตอนศึกษาแนวคิด ระหว่างควบคุมข้อมูลหรือวางแผนปฏิบัติงาน รวมทั้งฝึกฝนและทบทวนความรู้ หรือโดยการให้พวกเขาสรุปออกมาเป็นคำพูดของตัวเองได้

การเรียนรู้จากการสังเกต และสร้างจินตภาพ V : Visual ผู้ที่สามารถสร้างจินตภาพอย่างเป็นระบบระเบียบขณะมีการเรียนรู้สามารถดึงสิ่งที่เพิ่งเรียนได้ไวกว่าคนที่ไม่ทำ 12 % และมีความทรงจำระยะยาวดีกว่า 26% ผู้เรียนที่เรียนรู้จากการสังเกตและสร้างจินตภาพจะเรียนได้ดีที่สุด เมื่อได้เห็นตัวอย่างจริง แผนภาพ ผังความคิด รูปภาพ รูปทุกประเภท แผนที่ความคิด(Mind-Mapping)

การเรียนรู้จากการไตร่ตรอง และแก้ปัญหา I : Intellectual การเรียนรู้โดยใช้ปัญญา หมายถึง การสร้างตรรกะหรือการที่มนุษย์คิดและเชื่อมโยงประสบการณ์แล้วสรุปเป็นความรู้ความเข้าใจ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้เมื่อได้ทำกิจกรรม แก้ปัญหา วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น วางแผนกลยุทธ์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตีโจทย์และตั้งคำถาม สร้างมโนภาพ สรุปเป็นความเข้าใจ หาวิธีนำความรู้ใหม่ไปใช้ในงาน

บทสรุป

รูปแบบการเรียนการสอนนี้เสนอเพื่อเป็นทางเลือกแทนการสอนแบบถ่ายโอนข้อมูล เราโตมาในระบบที่คำตอบที่ถูกต้องเท่านั้นที่สำคัญ ขณะที่การตั้งคำถามให้ถูกต้องได้รับการคำนึงถึงเพียงเล็กน้อย ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนโปรดหยุดถามตนเองว่าใช้โจทย์ถูกต้องหรือไม่จากนั้นค่อยวางแผนให้สอดคล้อง ไม่ใช่วางตามคำตอบที่คิดไปเองว่าถูกต้อง

ชีวิตคือการเรียนรู้ และ การเรียนรู้คือชีวิต ชีวิตคือการเรียนรู้ และ การเรียนรู้คือชีวิต