บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และการกำหนดราคาสินค้า

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เศรษฐศาสตร์แรงงาน (ศ. 471) อุปสงค์แรงงาน
Advertisements

Supply-side Effects of Fiscal Policy.
เศรษฐศาสตร์แรงงาน (ศ. 471) อุปสงค์แรงงาน (ต่อ)
เอกสารประกอบการสอนเสริม เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์
การซ้อนทับกัน และคลื่นนิ่ง
ตลาดน้ำมันโลก: การวิเคราะห์บทบาทของ OPEC (ต่อ)
คณิตศาสตร์สำหรับการคิดภาระภาษี
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในรายได้ของผู้บริโภค
การเลือกคุณภาพสินค้า
ตัวอย่างการประยุกต์อุปสงค์/อุปทาน
บทที่ 5 การบริหารลูกหนี้
บทที่ 12 การวิเคราะห์การถดถอย
Training Management Trainee
กลไกราคา การเกิดกลไกราคา คือ ตัวกำหนดราคาสินค้าว่าจะถูกหรือแพง
ส่วนเกินของผู้บริโภค (consumer surplus)
Group 1 Proundly Present
อุปทานของแรงงานในระดับบุคคล
ตลาดปัจจัยการผลิต (Markets for Factor Inputs)
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
Q1. การที่ Supply เลื่อนระดับดังภาพ เกิดขึ้นเนื่องจากสาเเหตุใดบ้าง ?
อุปสงค์และอุปทาน Demand and Supply.
บทที่ 7 การวิเคราะห์ราคา สินค้าเกษตรและอาหาร
บทที่ 9 ราคาระดับฟาร์มและราคาสินค้าเกษตรและอาหาร
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน.
Chapter 3 การกำหนดราคามุ่งที่ต้นทุน
อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลภาพ/ความหมายของอุปทาน
บทที่ 6 อุปสงค์ (Demand)
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน.
หน่วยที่ 3 การกำหนดขึ้นเป็นราคาดุลยภาพ
หน่วยที่ 3 การกำหนดขึ้นเป็นราคาดุลยภาพ
บรรยาย เศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand)
บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทาน
บทที่ 4 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค (Theory of Consumer Behavior)
บทที่ 7 การกำหนดราคาสินค้าในตลาด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหนองกุง อำเภอนาเชือก
ดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium)
สื่อประกอบการเรียนการสอน
บทที่ 8 การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Price and Output Determination Under Perfect Competition) ความหมายของตลาด ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์
บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต (Production Theory)
บทที่ 1 บทนำ เศรษฐศาสตร์คืออะไร เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
บทที่ 9 การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Price and Output Determination Under Imperfect Competition) ตลาดผูกขาดที่แท้จริง ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง.
บทที่ 7 รายรับ รายรับจากการผลิต ลักษณะของเส้นรายรับต่างๆ
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน Elasticity of Demand and Supply
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน Elasticity of Demand and Supply
พฤติกรรมผู้บริโภค.
อุปสงค์และอุปทาน Demand and Supply.
พฤติกรรมผู้บริโภค.
จำนวนทั้งหมด ( Whole Numbers )
เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสุรา
Kampol chanchoengpan it สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ Arithmetic and Logic Unit 1.
สัปดาห์ที่ 7 การแปลงลาปลาซ The Laplace Transform.
การแจกแจงปกติ.
สรุปสถิติ ค่ากลาง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เรียงข้อมูล ตำแหน่งกลาง มัธยฐาน
เรื่องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
โครงสร้างของตลาดและการกำหนดราคา
Lecture 14 ประสิทธิภาพของการบริโภคจาก Edgeworth’s Box Diagram
เรื่องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
Demand in Health Sector
แบบฝึกหัด จงหาคำตอบที่ดีที่สุด หรือหาค่ากำไรสูงสุด จาก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง
บทที่ 4 การกำหนดเป็นดุลยภาพของตลาดการเปลี่ยนแปลง ภาวะดุลยภาพ และการแทรกแซงดุลยภาพของตลาด ความหมายของดุลยภาพของตลาด ดุลยภาพ (Equilibrium ) หมายถึง ภาวะสมดุลที่เกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์เท่ากับอุปทานโดยจุดดุลยภาพจะแสดงราคาดุลยภาพ.
ผู้สอน อ.ศรีวรรณ ปานสง่า
ตลาด ( MARKET ).
ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค
โครงสร้างข้อมูลแบบ สแตก (stack)
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ตลาดผูกขาด ( MONOPOLY )
อุปสงค์ อุปทาน ดุลยภาพของตลาด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และการกำหนดราคาสินค้า บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และการกำหนดราคาสินค้า อุปสงค์ ความหมายของอุปสงค์ กฎของอุปสงค์ อุปสงค์ส่วนบุคคลและอุปสงค์ตลาด ปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อและการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ อุปสงค์ชนิดอื่น อุปสงค์ต่อรายได้ อุปสงค์ไขว้

บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และการกำหนดราคาสินค้า บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และการกำหนดราคาสินค้า อุปทาน ความหมายของอุปทาน กฎของอุปทาน อุปทานส่วนบุคคลและอุปทานตลาด ปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดปริมาณการเสนอขาย การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการเสนอขายและการ เปลี่ยนแปลงอุปทาน การกำหนดราคาสินค้า ราคาและปริมาณดุลยภาพ การปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในตลาด การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด

2.1 อุปสงค์ (Demand) อุปสงค์ หมายถึง จำนวนสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคต้องการจะซื้อในเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งจะมากหรือน้อยเท่าใดถูกกำหนดโดยปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ราคาสินค้าชนิดนั้น รายได้ของผู้บริโภค และราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าชนิดนั้น โดยปกติจะพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทีละตัว และกำหนดให้ตัวแปรอื่นที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ให้คงที่ (Ceteris Paribus) เมื่อพิจารณาเฉพาะตัวแปรสำคัญ จะแบ่งอุปสงค์เป็น 3 แบบ คือ อุปสงค์ต่อราคาสินค้า (Price Demand) อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) อุปสงค์ไขว้ (Cross Demand) แต่หากกล่าวถึงอุปสงค์ จะหมายถึงอุปสงค์ต่อราคาสินค้า (Price Demand) ซึ่งจะพิจารณาความสัมพันธ์ของปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ (อุปสงค์สินค้าและบริการ) กับราคาของสินค้าดังกล่าว

2.1.1 ความหมายของอุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) อุปสงค์ต่อราคา หมายถึง ปริมาณสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการจะซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของสินค้าหรือบริการชนิดนั้น โดยกำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ ในทางเศรษฐศาสตร์จะถือว่าเป็นอุปสงค์ได้ ต้องประกอบด้วย ความเต็มใจซื้อ (Willingness to pay) ความสามารถในการซื้อ (ability to pay) หรือ ต้องมีอำนาจซื้อ (Purchasing Power) หากคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์

2.1.2 กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) กฎของอุปสงค์  แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการซื้อสินค้าและบริการ กับราคาสินค้า คือ “ถ้ากำหนดให้สิ่งต่างๆ คงที่แล้ว ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อจะผันแปรตรงข้ามกับราคาสินค้า” P   Qd  P   Qd  ทั้งนี้เพราะ ผลการทดแทน (Substitution Effect) ผลทางด้านรายได้ (Income Effect) ผลการทดแทน คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อจากการเปรียบเทียบราคากับสินค้าที่ทดแทนกัน ผลทางด้านรายได้ คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อ จากการเปลี่ยนแปลงของราคาแล้วทำให้รายได้ที่แท้จริงหรืออำนาจซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคจึงเปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อสินค้าและบริการ สินค้าและบริการบางประเภท ไม่เป็นไปตามกฎของอุปสงค์ คือ P   Qd  P   Qd 

สินค้าซึ่งไม่เป็นไปตามกฎของอุปสงค์ สินค้ากิฟเฟ่น (Giffen goods) เป็นสินค้าที่ราคากับปริมาณการซื้อสินค้ามีทิศทางเดียวกัน เพราะเป็นสินค้าที่คนฐานะยากจนบริโภค เช่น ขนมปัง ซึ่งคนจนใช้รายได้ส่วนใหญ่มาซื้อสินค้าเหล่านี้ เพราะราคาถูกมากเมื่อเทียบกับสินค้าชนิดอื่นๆ ดังนั้นแม้ราคาสินค้า giffen สูงขึ้น ทำให้รายได้ที่แท้จริงลดลง จึงบริโภคสินค้าลดลง และบริโภคสินค้า giffen นี้ทดแทน ผลของการทดแทนกัน จะมากกว่าผลของรายได้ที่ทำให้บริโภคสินค้านี้ลดลง จึงซื้อสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้น สินค้าอวดมั่งอวดมี (Conspicuous goods) เป็นสินค้าประเภทที่ผู้ซื้อมีฐานะร่ำรวย มักซื้อไปบริโภคเพื่ออวดความร่ำรวยให้ผู้อื่นเห็น ดังนั้นหากราคาสินค้าเหล่านี้สูงขึ้น ก็ดึงดูดกลุ่มลูกค้านี้ได้

การอธิบายกฎของอุปสงค์ สามารถแสดงได้ 3 แบบ ตารางอุปสงค์ (Demand Schedule) เช่น ตารางอุปสงค์ของสินค้า X PX 5 4 3 2 1 QX 7 10 14 20 29 เส้นอุปสงค์ (Demand Curve) P 5 2 D Q 7 20

ฟังก์ชั่นอุปสงค์ (Demand Function) Qd = f (P, X1...............Xn) Qd = f (P) ในกรณีที่เส้นอุปสงค์เป็นเส้นตรง เขียนสมการอุปสงค์ได้ว่า Qd = a – bP โดยที่ Qd = ปริมาณการซื้อสินค้าและบริการ a = ค่าคงที่ ที่เป็นจุดตัดบนแกน Q b = Q/P หรือ = dQ/dP = 1/slope P ตัวอย่าง Qd=25–2P 12.5 Qd = 25 - 2P Slope = - 1/2 Q 25

2.1.3 อุปสงค์ส่วนบุคคลและอุปสงค์ตลาด 2.1.3 อุปสงค์ส่วนบุคคลและอุปสงค์ตลาด (Individual Demand and Market Demand) อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual Demand) หมายถึง ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ อุปสงค์ตลาด (Market Demand) เป็นการรวมอุปสงค์ส่วนบุคคลเข้าด้วยกันตามแนวนอน เช่น ถ้าในตลาดมีผู้บริโภค 2 ราย คือ A และ B ที่มีความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับราคาต่าง ๆ P QA QB Market Demand Q (A+B) 1 10 9 19 2 6 15 3 8 4 12 7 5

เส้นอุปสงค์ตลาดจะมีความชันน้อยกว่าเส้นอุปสงค์ส่วนบุคคลของ A และ B P P P 5 5 5 1 1 1 D(A+B) DA DB Q Q Q 6 10 2 9 8 19 อุปสงค์ส่วนบุคคล A อุปสงค์ส่วนบุคคล B อุปสงค์ตลาด เส้นอุปสงค์ตลาดจะมีความชันน้อยกว่าเส้นอุปสงค์ส่วนบุคคลของ A และ B

2.1.4 ปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ 2.1.4 ปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ รายได้ - สินค้าปกติ (Normal Goods) รายได้ Qd รายได้Qd3 - สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) รายได้ Qd รายได้Qd 2. ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง - สินค้าทดแทนกัน ราคาสินค้า A QdAQdB - สินค้าประกอบกัน ราคาสินค้า A QdA QdB รสนิยมผู้บริโภค จำนวนประชากร การคาดคะเนราคาและรายได้ในอนาคต การกระจายรายได้ ฤดูกาล

2.1.5 การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อและการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ (Change in Quantity Demand and Change in Demand) การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อ (Change in Quantity Demand) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อสินค้าและบริการ อันเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดนั้น โดยกำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่บนเส้นอุปสงค์เส้นเดิม P A P P1 B D Q Q Q1

การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ (Change in Demand) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อสินค้าและบริการ อันเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ราคาสินค้านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นการเลื่อน (shift) ของเส้นอุปสงค์จากเส้นเดิมไปเป็นเส้นใหม่ P C A B P D1 D D2 Q Q0 Q Q1

2.2 อุปสงค์ชนิดอื่น อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) 2.2 อุปสงค์ชนิดอื่น อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) อุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น หรืออุปสงค์ไขว้ (Cross Demand) 2.2.1 อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับ รายได้ต่างๆ ของผู้บริโภค โดยกำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ เขียนเป็นฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อรายได้ ได้ว่า Qd = f(Y) โดย Qd = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดหนึ่ง Y = รายได้ของผู้บริโภค ความสัมพันธ์ของ Y กับ Qd จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าว่าเป็น สินค้าปกติ (Normal Goods) หรือ สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods)

สินค้าปกติ Y กับ Qd จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน Y   Qd  ดังนั้น เส้นอุปสงค์ต่อรายได้ของสินค้าปกติ จะมี slope เป็นบวก Y Dy Y1 Y Q Q Q1

สินค้าด้อยคุณภาพ Y กับ Qd จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม Y   Qd  เส้นอุปสงค์ต่อรายได้ของสินค้าด้อยคุณภาพ จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา มี slope เป็นลบ Y Y1 Y Dy Q Q1 Q

2.2.1 อุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น หรืออุปสงค์ไขว้ (Cross Demand) หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับ ราคาต่างๆ ของสินค้าหรือบริการอีกชนิดหนึ่ง โดยกำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ เขียนเป็นฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อราคา ได้ว่า QA = f (PB) โดย QA = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดหนึ่ง PB = ราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ความสัมพันธ์ของ PB กับ QA จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า 2 ชนิดว่าเป็น สินค้าที่ทดแทนกัน (Substitution Goods) หรือ สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary Goods)

สินค้าทดแทนกัน กับ QA จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน PB   QB   QA  ดังนั้น เส้นอุปสงค์ไขว้ของสินค้าทดแทนกัน จะมี slope เป็นบวก PB Dc P2 P1 QA Q1 Q2

สินค้าประกอบกัน PB กับ QA จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม PB   QB   QA  เส้นอุปสงค์ไขว้ของสินค้าประกอบกัน จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา มี slope เป็นลบ PB P2 P1 Dc QA Q2 Q1

ในกรณีที่สินค้า 2 ชนิดไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า B จะไม่กระทบต่อปริมาณการซื้อสินค้า A เลย เส้นอุปสงค์ไขว้ของสินค้า A จะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนนอน มี slope เป็นอนันต์ () PB DC P1 P QA Q

2.3 อุปทาน (Supply) 2.3.1 ความหมายของอุปทาน (Supply) อุปทาน หมายถึง จำนวนสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายเต็มใจจะนำออกขาย ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้านั้น ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนกำหนดอุปทาน (เช่น เทคนิคการผลิต ฤดูกาลผลิต ต้นทุนการผลิต) คงที่ ความสัมพันธ์ของปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการกับราคาของสินค้านั้น จะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เป็นไปตาม กฎของอุปทาน

2.3.2 กฎของอุปทาน (Law of Supply) กฎของอุปทาน  แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการขายสินค้าและบริการ กับราคาสินค้า คือ “ถ้ากำหนดให้สิ่งต่างๆ คงที่ ปริมาณการเสนอขายสินค้าและ บริการจะมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกับราคาของสินค้านั้น” P   Qs  P   Qs  ทั้งนี้เพราะ 1. เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตเดิมจะขยายการผลิตโดยการใช้ปัจจัยการผลิตมากขึ้น 2. เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น จะมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาทำการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะผู้ผลิตที่เคยไม่ผลิตเพราะขาดทุน เมื่อราคาเพิ่มขึ้นจึงเข้ามาผลิตสินค้า

PX 8 7 6 5 4 3 QX 20 17 14 11 การอธิบายกฎของอุปทาน สามารถแสดงได้ 3 แบบ ตารางอุปทาน (Supply Schedule) เช่น ตารางอุปทานของสินค้า X PX 8 7 6 5 4 3 QX 20 17 14 11 เส้นอุปทาน (Supply Curve) P S 8 3 Q 5 20

ฟังก์ชั่นอุปทาน (Supply Function) Qs = f (P, X1...............Xn) Qs = f (P) ในกรณีที่เส้นอุปทานเป็นเส้นตรง เขียนสมการอุปทานได้ว่า Qs = a + bP โดยที่ Qs = ปริมาณการขายสินค้าและบริการ a = ค่าคงที่ ที่เป็นจุดตัดบนแกน Q b = Q/P หรือ = dQ/dP = 1/slope P Qs = 20+3P ตัวอย่าง Qs=20+3P Slope = 1/3 20 -6.67 Q

2.3.3 อุปทานส่วนบุคคลและอุปทานตลาด 2.3.3 อุปทานส่วนบุคคลและอุปทานตลาด (Individual Supply and Market Supply) อุปทานส่วนบุคคล (Individual Supply) หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตแต่ละรายเต็มใจจะเสนอขายในตลาด ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้า ในระยะเวลาเวลาหนึ่ง อุปทานตลาด (Market Supply) ปริมาณสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายทุกคนในตลาดเต็มใจจะนำออกเสนอขายในตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของสินค้าในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นการรวมอุปสงค์ส่วนบุคคลเข้าด้วยกันตามแนวนอน เช่น ถ้าในตลาดมีผู้ขาย 2 ราย คือ A และ B ที่มีความต้องการขายสินค้า ณ ระดับราคาต่าง ๆ P QA QB Market Supply Q (A+B) 10 14 22 36 8 11 20 31 6 18 26 4 5 15 2

เส้นอุปทานตลาดจะมี slope ที่ลาดกว่าเส้นอุปทานส่วนบุคคล เดิมราคาสินค้าหน่วยละ 10 บาท หากราคาสินค้าลดลงเป็น 8 บาท A และ B ยินดีเสนอขายสินค้าลดลงเป็น 11 และ 20 หน่วยตามลำดับ อุปทานตลาด ณ ราคา 8 บาท จะเท่ากับ 11 + 20 = 31 หน่วย หากรวมปริมาณอุปทานของผู้ขายทุกราย ในแต่ละระดับราคาตามแนวนอนสามารถสร้างเส้นอุปทานส่วนบุคคลและอุปทานตลาดได้ P P P SA SB SM 10 10 10 6 6 6 2 2 2 Q Q Q 8 14 10 18 22 10 26 36 อุปทานส่วนบุคคล A อุปทานส่วนบุคคล B อุปทานตลาด เส้นอุปทานตลาดจะมี slope ที่ลาดกว่าเส้นอุปทานส่วนบุคคล

2.3.4 ปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการ ราคาปัจจัยการผลิต เทคนิคการผลิต การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต จำนวนผู้ขาย ภาษีและเงินช่วยเหลือ เป้าหมายของธุรกิจหรือผู้ผลิต

2.3.5 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายและการเปลี่ยนแปลงอุปทาน (Change in Quantity Supply and Change in Supply) การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขาย (Change in Quantity Supply) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดนั้น โดยกำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่บนเส้นอุปทานเส้นเดิม P S P1 B P A Q Q Q1

การเปลี่ยนแปลงอุปทาน (Change in Supply) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการ อันเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ราคาสินค้านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นการเลื่อน (shift) ของเส้นอุปทานจากเส้นเดิมไปเป็นเส้นใหม่ P S2 S S1 C A B P Q Q1 Q Q2

2.4 การกำหนดราคาสินค้า (Price Determination) 2.4.1 ราคาและปริมาณดุลยภาพ ดุลยภาพตลาด หมายถึง สภาวะที่ระดับราคาสินค้าและปริมาณสินค้าไม่เปลี่ยนแปลง หากไม่มีปัจจัยภายนอกเข้ามากกระทบในตลาด นั่นคือ ราคาดุลยภาพ เป็นราคาที่ผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อ และเป็นราคาเดียวกันที่ผู้ผลิตยินดีที่จะขาย ปริมาณดุลยภาพ เกิดจากปริมาณที่ผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อ และเป็นปริมาณเดียวกันที่ผู้ผลิตยินดีที่จะขาย P S การแสดงโดยกราฟ E Pe D Qe Q

การแสดงด้วยตาราง ราคา สินค้า Qd (หน่วย) Qs สถานการณ์ ในตลาด ผลต่อ 10 1 36 อุปทานส่วนเกิน  8 3 31 6 26 4 20 ดุลยภาพ คงที่ 2 37 อุปสงค์ส่วนเกิน 

การแสดงด้วยสมการ สมมติมีผู้ซื้อ 2 ราย มีสมการอุปสงค์ส่วนบุคคลดังนี้ Qd1 = 60 – 8P Qd2 = 20 – 2P Qdm = (60–8P) + (20–2P) = 80-10P และมีผู้ขาย 2 ราย มีสมการอุปทานส่วนบุคคลดังนี้ Qs1 = 15 + 3P Qs2 = 5 + 7P Qsm = (15+3P) + (5+7P) = 20+10P เงื่อนไขดุลยภาพตลาด  Qd = Qs 80-10P = 20+10P 20P = 60 P = 60/20 = 3 แทน P=3 กลับเข้าไปในสมการ Qdm หรือ Qsm จะได้ Q=50

2.4.2 การปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในตลาด 2.4.2 การปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในตลาด การเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) ราคา Supply E Pe B A P1 excess demand Demand ปริมาณ Qs Qe Qd

การเกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) ราคา Supply excess supply P2 A B E Pe Demand ปริมาณ Qd Qe Qs

2.4.3 การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด 2.4.3 การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด มาจาก การเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก เส้นอุปสงค์เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก เส้นอุปทานเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานเปลี่ยนแปลงพร้อมกัน

เช่น รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เส้นอุปสงค์เปลี่ยน เช่น รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ราคา S E’ P2 E P1 D’ D ปริมาณ Q1 Q2

เช่น เทคโนโลยีการผลิตดีขึ้น เส้นอุปทานเปลี่ยน เช่น เทคโนโลยีการผลิตดีขึ้น ราคา S S´ P1 E E’ P2 D ปริมาณ Q1 Q2

เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานเปลี่ยนทั้งคู่ ราคาและปริมาณดุลยภาพจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด ขึ้นอยู่กับเส้น D และ S เส้นใดเปลี่ยนไปมากกว่ากัน D  S S' ราคา S E’ P2 E P1 D’ D ปริมาณ Q1 Q2

D  S S' ราคา S E P1 E’ P2 D D’ ปริมาณ Q2 Q1

D = S  ราคา S S' E E’ P2 = P1 D’ D ปริมาณ Q1 Q2

D = S ราคา S S' E P1 E’ P2 D D’ ปริมาณ Q1 =Q2