บทที่ 8 การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Price and Output Determination Under Perfect Competition) ความหมายของตลาด ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ลักษณะของเส้นอุปสงค์ เส้นรายรับเฉลี่ย และเส้นรายรับ หน่วยท้ายสุด การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิต ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต ผลของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
8.1 ความหมายของตลาด ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึง การที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายสินค้าและบริการซึ่งกันและกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ในการซื้อขาย หรือไม่ต้องพบเจอกัน ประเภทของตลาดจำแนกได้หลายลักษณะ แล้วแต่ใช้อะไรมาจำแนกประเภท เช่น จำแนกตามสถานที่ จำแนกตามเวลา จำแนกตามชนิดสินค้า จำแนกตามผลผลิต ในการวิเคราะห์เรื่องการกำหนดราคาสินค้าในตลาด นักเศรษฐศาสตร์แบ่งตลาดออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ แบ่งออกเป็น ตลาดผูกขาดแท้จริง ตลาดผู้ขายน้อยราย และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
โครงสร้างตลาดแบ่งตามผู้ขาย โครงสร้างของตลาดและการกำหนดราคาในทางทฤษฎี โครงสร้างตลาดแบ่งตามผู้ขาย ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfectly competitive market) ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (imperfectly competitive market) ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) ตลาดผูกขาดแท้จริง (Pure Monopoly)
8.2 ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ 8.2 ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมาก ผู้ซื้อและผู้ขายเป็น Price taker สินค้าที่นำมาขายในตลาดจะมีลักษณะที่เหมือนกัน ผู้ผลิตและผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดโดยเสรี สินค้าและปัจจัยการผลิตสามารถโยกย้ายได้อย่างเสรี ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้ และรับทราบข่าวสารและข้อมูลเป็นอย่างดี
8.3 ลักษณะของเส้นอุปสงค์ เส้นรายรับเฉลี่ย และเส้นรายรับหน่วยท้ายสุด 8.3 ลักษณะของเส้นอุปสงค์ เส้นรายรับเฉลี่ย และเส้นรายรับหน่วยท้ายสุด P P S E1 P1 P1 D1=P1=AR1=MR1 E P P D=P=AR=MR D1 D Q Q อุปสงค์ของตลาด อุปสงค์ของผู้ขายแต่ละราย
8.4 การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด 8.4 การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะสั้น การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะยาว ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจะแยกพิจารณาได้ 2 กรณี คือ วิธีรวม (Total Approach) วิธีส่วนเพิ่ม (Marginal Approach) 1) การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะสั้น กำไรของผู้ผลิต คือการที่ผู้ผลิตมีรายรับรวมมากกว่าต้นทุนรวม = TR – TC โดยที่ = กำไร TR = รายรับรวม TC = ต้นทุนรวม ระดับผลผลิตที่กำไรสูงสุด เป็นดุลยภาพของผู้ผลิต เมื่อผู้ผลิตแต่ละรายได้ดุลยภาพ ตลาดของสินค้า/อุตสาหกรรม ก็จะได้ดุลยภาพด้วย
วิธีรวม (Total Approach) รายรับ, ต้นทุน TC วิธีรวม (Total Approach) TR กำไร = TR – TC หาระดับผลผลิตซึ่ง TR ห่าง จาก TC มากที่สุด A B ช่วงที่ TR>TC มากที่สุดกำไรสูงสุด slope TR= slope TC โดย TR อยู่ เหนือ TC หรือ MR= MC ต้นุทนรวมอยู่ในช่วงที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้น Q Q Q1 Q2 กำไร Q Q Q1 Q2
วิธีรวม (Total Approach) TR, TC TC ในกรณีที่เส้น TR อยู่ต่ำกว่าเส้น TC ทั้งเส้น แสดงว่าผู้ผลิตขาดทุน หากผู้ผลิตทำการผลิตต่อไป ควรผลิตที่ระดับผลผลิตที่ขาดทุนน้อยที่สุด คือ TR อยู่ต่ำกว่า TC และห่างกันน้อยที่สุด ระดับผลผลิตที่ขาดทุนน้อยที่สุด อยู่ที่ OQ1 หน่วย slope TR = slope TC เส้นกำไร () อยู่ต่ำกว่าแกนนอนคือเป็นลบ ที่ Q1 หน่วย เส้นกำไรอยู่ใกล้แกนนอนมากที่สุด คือ ขาดทุนน้อยที่สุดหากมีการผลิต TR A B Q Q Q1 กำไร Q Q Q1
วิธีส่วนเพิ่ม (Margimal Approach) ระดับการผลิตที่ได้กำไรสูงสุด คือ การผลิตที่ MC=MR ในช่วงที่ MC กำลังเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตมีกำไรสูงสุดที่ OQ2 หน่วย ซึ่ง MC=MR ขณะที่ MC กำลังเพิ่มขึ้น MC, MR MC P D=AR=MR=P Q Q1 Q2 ขณะที่ MR>MC ผู้ผลิตจะได้กำไร หากขยายการผลิตออกไป แต่ถ้าเลยระดับ OQ2 กำไรจะ หากยังทำการผลิตอยู่ ส่วนการผลิตที่ OQ1 หน่วย MC=MR แต่เป็นปริมาณผลผลิตที่ขาดทุนมากที่สุด
2) การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะยาว 2) การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะยาว วิธีรวม (Total Approach) ผลผลิตที่ผู้ผลิตมีกำไรสูงสุด อยู่ ณ ปริมาณผลผลิตที่ TR ห่างจาก TC มากที่สุด และ slope TR = slope TC รายรับ, ต้นทุน LTC TR A B Q Q การผลิตที่ได้กำไรสูงสุด คือ OQ หน่วย กำไร=AB ซึ่ง ณ Q นี้ slope TR= slope LTC และห่างกันมากที่สุด
ปริมาณการผลิตที่ได้กำไรสูงสุดคือ OQ หน่วย วิธีส่วนเพิ่ม (Marginal Approach) ระดับการผลิตที่ได้กำไรสูงสุดในระยะยาว คือที่ LMC=MR ในช่วงที่ LMC กำลังเพิ่มขึ้น รายรับ, ต้นทุน LMC P D = AR = MR = P Q Q ปริมาณการผลิตที่ได้กำไรสูงสุดคือ OQ หน่วย
8.5 ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิต 8.5 ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิต ดุลยภาพในระยะสั้น พิจารณาโดยวิธี Marginal Approach การกำหนดปริมาณผลผลิตที่กำไรสูงสุด ปริมาณผลผลิตที่กำไรสูงสุด คือ ณ ผลผลิตที่ MC = MR ราคา, รายรับ, ต้นทุน MC AC P E D=AR=MR=P P0 F Q Q ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิต คือ จุดที่ MC=MR ที่ปริมาณผลผลิต OQ หน่วย ณ ระดับนี้ ผู้ผลิตได้กำไรสูงสุด TR = OPEQ TC = OP0FQ กำไร = TR–TC = OPEQ– OP0FQ= P0PEF
กำไรปกติและกำไรเกินปกติ กำไรทางเศรษฐศาสตร์ กำไรปกติ (Normal Profit) เป็นกำไรซึ่งนำเอาต้นทุนค่าเสียโอกาสมาคิดรวมในต้นทุน หาก TR = TC เรียกว่ามีกำไรปกติ (Normal Profit) หรือกำไรทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 0 เพราะได้รวมกำไรที่ควรได้รับในฐานะผู้ประกอบการเข้าไว้แล้วในต้นทุน ในระยะสั้นแม้ผู้ผลิตไม่มีกำไรปกติ ก็อาจทำการผลิตต่อเพราะจะช่วยลดการขาดทุนต้นทุนคงที่บางส่วน ในระยะยาว ถ้าผู้ผลผลิตไม่ได้กำไรปกติ จะเลิกทำการผลิต กำไรเกินปกติ (Excess Profit) เป็นกำไรที่แท้จริงทางเศรษฐศาสตร์ เกิดเมื่อ TR > TC เรียกว่ามีกำไรทางเศรษฐศาสตร์ ในระยะสั้น ตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะมี Excess Profit แต่ในระยะยาว กำไรเกินปกติจะทำให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาแข่งขัน กำไรเกินปกติจึงหมดไป ผู้ผลิตได้รับเพียงกำไรปกติเท่านั้น
ผู้ผลิตได้กำไรปกติ ผลิตที่ OQ หน่วย (MC=MR ที่จุด E) ราคา, รายรับ, ต้นทุน ราคา, รายรับ, ต้นทุน MC MC AC AC E P E P D=AR=MR D=AR=MR P1 F Break - even Point Q Q Q Q ผู้ผลิตได้กำไรปกติ ผลิตที่ OQ หน่วย (MC=MR ที่จุด E) TR=TC = OPEQ ผู้ผลิตจึงมีเพียงกำไรปกติ จุดผลิตนี้เรียกว่า จุดคุ้มทุน (Break-even Point) ซึ่งอยู่ ณ จุดต่ำสุดของ AC ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ ผลิตที่ OQ หน่วย (MC=MR ที่จุด E) TR=OPEQ และ TC=OP1FQ TR>TC ผู้ผลิตจึงมี Excess Profit =P1PEF จุดการผลิตที่ MC=MR อยู่สูงกว่า AC หรือจุด Break-even
การตัดสินใจหยุดผลิตในระยะสั้นเมื่อเกิดการขาดทุน ในระยะสั้น ผู้ผลิตอาจขาดทุนหาก TR < TC ผู้ผลิตอาจผลิตต่อหรือเลิกผลิต หรือทำอย่างไรให้ขาดทุนน้อยที่สุด ถ้า P=AR >AVC ผู้ผลิตยังคงทำการผลิตต่อไปแม้จะขาดทุน เพราะสามารถชดเชย TFC บางส่วน ทำให้ขาดทุนน้อยลงไปได้ ถ้า P=AR <AVC ผู้ผลิตจะเลิกทำการผลิต เพราะหากทำการผลิตแล้ว นอกจากขาดทุน TFC ยังขาดทุนไปถึง TVC ด้วย ถ้า P=AR=AVC ผู้ผลิตทำการผลิตหรือไม่ก็ได้ เพราะผลิตหรือไม่ผลิตก็ขาดทุนเท่ากับ TFC ซึ่งเป็นจุดปิดโรงงาน (Shut-Down Point) จะอยู่ ณ จุดต่ำสุดของ AVC
ผู้ผลิตขาดทุนแต่ยังผลิต เพราะสามารถชดเชยการขาดทุน TFC บางส่วนได้ ราคา, รายรับ, ต้นทุน MC AC AVC K P1 E P D=AR=MR=P P2 F Q Q ผู้ผลิตขาดทุนแต่ยังผลิต เพราะสามารถชดเชยการขาดทุน TFC บางส่วนได้ ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ทำการผลิต OQ หน่วย TR = OPEQ TC = OP1KQ ขาดทุน = PP1KE ซึ่งน้อยกว่า TFC ( P2P1KF)
ราคา, รายรับ, ต้นทุน Q MC AC AVC F P1 E P D=AR=MR=P Shut-down Point Q Q Q เป็นกรณีที่ผู้ผลิตขาดทุน = TFC ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ทำการผลิต OQ หน่วย TR = OPEQ TC = OP1FQ ขาดทุน = PP1FE = TFC การผลิต ณ จุด E นี้เป็นจุดที่เรียกว่าจุดปิดโรงงาน (shut-down point) อยู่ ณ จุดต่ำสุดของ AVC
เป็นกรณีที่ผู้ผลิตไม่ทำการผลิตเนื่องจากขาดทุน > TFC ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ทำการผลิต OQ หน่วย TR = OPEQ TC = OP2KQ ขาดทุน = PP2KE > TFC (= P1P2KF) โดยขาดทุนมากกว่า TFC = PP1FE จุดการผลิตนี้อยู่ต่ำกว่าจุดปิดโรงงาน ราคา, รายรับ, ต้นทุน MC AC AVC P2 K P1 F P D=AR=MR=P E Q Q
อุปทานของผู้ผลิตในระยะสั้น ระยะสั้น ผู้ผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำการผลิตเพื่อได้กำไรสูงสุดที่ MC=MR ซึ่งอาจได้กำไรหรือขาดทุน จากดุลยภาพการผลิตต่างๆ สามารถสร้างเส้นอุปทานของผู้ผลิตแต่ละรายในระยะสั้นได้ ราคา,รายรับ,ต้นทุน P S MC AC P P E D AVC P1 P1 E1 D1 P2 P2 E2 D2 E3 P3 P3 D3 D1 D D3 D2 Q Q Q3 Q2 Q1 Q ถ้า P ตลาด=OP เส้น D ที่ผู้ผลิตเผชิญคือเส้น D ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ผลิตสินค้า OQ หน่วย ถ้า D เป็น D1D3 เส้น D ที่ผู้ผลิตเผชิญจะเปลี่ยนเป็น D1D3 ดุลยภาพการผลิตเปลี่ยนจาก EE3 Q เปลี่ยนจาก QQ3 คือผลิตลดลง จุด E3 เป็นจุด Shut-down Point หาก P ต่ำกว่าจุด E3 ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิต ผู้ผลิตทำการผลิตตั้งแต่จุด E3 ขึ้นไปตามเส้น MC เส้นอุปทานของผู้ผลิตในระยะสั้น จึงเป็น เส้น MC ที่อยู่เหนือจุดต่ำสุดของ AVC ขึ้นไป
เส้นอุปทานระยะสั้นของอุตสาหกรรมทำโดยรวม MC ของผู้ผลิตแต่ละรายเข้าด้วยกันตามแนวนอน P P P SM SMC1 SMC2 P P P Q Q Q Q1 Q2 Q1+ Q2 ที่ราคาตลาด=OP บาท ผู้ผลิตรายที่ 1 ผลิต OQ1 หน่วย ผู้ผลิตรายที่ 2 ผลิต OQ2 หน่วย อุปทานระยะสั้นของอุตสาหกรรมที่ราคา OP บาท คือ OQ1+OQ2 เมื่อรวมอุปทานของผู้ผลิตทุกรายในแต่ละระดับราคา จะได้เส้นอุปทานของอุตสาหกรรม (สมมติว่าราคาปัจจัยการผลิตไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเพิ่มการผลิตในตลาด) แต่หากผู้ผลิตต้องการใช้ปัจจัย จนราคาปัจจัยสูงขึ้น เมื่อรวมอุปทานของหน่วยผลิตแต่ละรายเข้าด้วยกัน เส้นอุปทานของอุตสาหกรรมจะมีค่า slope มากกว่า (คือมีค่าความยืดหยุ่นของอุปทานน้อยกว่า) เส้นอุปทานในกรณีที่ราคาปัจจัยคงที่
8.6 ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต 8.6 ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต ดุลยภาพระยะยาวของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีเงื่อนไข 2 ประการ การได้กำไรสูงสุด ณ MC=MR ในระยะยาว ดุลยภาพอยู่ที่ LMC=MR=P ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดของโรงงานได้ หรือจะเลิกผลิตถ้าเห็นว่าไม่คุ้มทุน ดังนั้นราคาสินค้าในระยะยาวต้องเท่ากับต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำสุด และผู้ผลิตจะใช้ขนาดของโรงงานที่เป็น Optimum Size ซึ่งอยู่ ณ จุดต่ำสุดของ LAC และ SMC=LMC เมื่อได้ดุลยภาพระยะยาวจะต้องได้ดุลยภาพระยะสั้นด้วย แต่การได้ดุลยภาพระยะสั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในดุลยภาพระยะยาว เพราะเมื่อ P>LAC ที่ต่ำสุดในระยะยาว ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ (Excess Profit) จะจูงใจให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาแข่งขันมากขึ้น ทำให้ราคา จนเท่ากับ LAC ต่ำสุด แต่ถ้า P < LAC ที่ต่ำสุด ผู้ผลิตบางรายจะออกจากอุตสาหกรรม จำนวนผู้ผลิต ทำให้ P จนเท่ากับ LAC ต่ำสุด ในระยะยาวจึงต้องผลิตที่จุดต่ำสุดของ LAC
ดุลยภาพระยะยาว ผู้ผลิตใช้โรงงานที่มีขนาดที่เหมาะสม (LAC=SAC) ผู้ผลิตทำการผลิต ณ ระดับผลผลิตที่เหมาะสมที่สุด ผู้ผลิตได้รับเพียงกำไรปกติ ราคา, รายรับ, ต้นทุน LMC SMC LAC SAC E P D=AR=MR=P Q Q ดุลยภาพระยะยาวเกิดขึ้นที่ LMC=MR=P คือจุด E โดยผลิต OQ หน่วย ณ จุดนี้ SMC=LMC=LAC=SAC=MR ขนาดของโรงงาน ณ จุดต่ำสุดของ LAC เป็น Optimum Size ผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติเท่านั้น โดย TR = TC = OPEQ
8.7 ผลของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ 8.7 ผลของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ หน่วยผลิตใช้ขนาดของโรงงานที่มี AC ต่ำสุด แสดงถึงความมีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต โดยผลิตที่จุดต่ำสุดของ LAC ในระยะยาวหน่วยผลิตมีเพียงกำไรปกติ (P=LAC) ทำให้ทั้งหน่วยผลิตเดิมและหน่วยผลิตใหม่ไม่มีการโยกย้ายออกหรือเข้าจากอุตสาหกรรม ไม่มีการเคลื่อนย้ายปัจจัย การจัดสรรทรัพยากรจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาสินค้าในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ P=MC (D=S) แสดงว่าจำนวนสินค้าที่ทำการผลิตเท่ากับความต้องการในการซื้อสินค้าพอดี คนในสังคมจึงได้รับประโยชน์สูงสุดเช่นกัน ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ สินค้ามีลักษณะเป็น Homogenous Product หน่วยผลิตไม่จำเป็นต้องโฆษณาสินค้า จึงไม่เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร