หลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตและเจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน
ที่ กค 0422.2/ว 46 วันที่ 8 มิถุนายน 2555 รัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ สามารถให้บริการทางการแพทย์กับผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วยความรวดเร็ว เข้าถึงได้ โดยปราศจากเงื่อนไขต่างๆ รักษาพยาบาลในสถานพยาบาลทางราชการและเอกชนได้ โดยไม่ต้องทดรองจ่ายเงิน การใช้สิทธิให้ถือตามนโยบายบูรณาการ 3 กองทุน ได้แก่ ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และ สปสช.
การเบิกค่ารักษาพยาบาล ส่วนราชการต้นสังกัด อนุมัติเบิกค่ารักษาได้เฉพาะเข้ารับการรักษาก่อน 1 เมษายน 2555 เท่านั้น หลังจาก 1 เมษายน 2555 ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อเบิกจากกองทุนบูรณาการ 3 กองทุน เท่านั้น ติดต่อ สปสช. หมายเลข 1330
แนวทางการกำหนดนิยามการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึง ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการเจ็บป่วยกระทันหัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องรักษาทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการเจ็บป่วยนั้น หลักเกณฑ์การคัดแยกระดับความรุนแรง 3 ระดับ ได้แก่ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สีแดง ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน สีเหลือง ผุ้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง สีเขียว
ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต “สีแดง” ภาวะคุกคามต่อชีวิต หากไม่แก้ไขระบบหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบปราสาท ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ต้องการให้ช่วยเหลืออย่างรีบด่วน มิฉะนั้น ผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือพิการอย่างถาวรในเวลาไม่กีนาที ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน “สีเหลือง” ได้รับบาดเจ็บหรือภาวะเฉียบพลันมาก เจ็บปวดรุนแรง จำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้น จะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ส่งผลให้เสียชีวิต หรือพิการในระยะต่อมา รอได้บ้างแต่ไม่นาน หากไม่รักษาอาจเสียชีวิตหรือพิการได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง “สีเขียว” ภาวะเฉียบพลัน ไม่รุนแรง รอรับปฏิบัติการแพทย์ได้หรือเดินทางไปรับบริการด้วยตนเองได้ แต่หากปล่อยไว้เกินเวลาจะทำให้การบาดเจ็บรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สีแดง สีเหลือง สีเขียว ภาวะหัวใจหยุดเต้น หายใจลำบากหรือหายใจเหนื่อยหอบ ภาวะหยุดหายใจ ชีพจรช้ากว่า 40 หรือ เร็วกว่า 150 ครั้ง/นาที ภาวะ “ช็อก” จากการเสียเลือดรุนแรง ไม่รู้สึกตัว ชัก อัมพาต หรือตาบอด หูหนวก ทันที ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว ตกเลือด ซีดมาก หรือ เขียว อาการซึม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว เจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย เจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด มือเท้าเย็นซีด หรือเหงื่อแตก ความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 ตัวล่างสูงกว่า 130 เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา อุณหภูมิร่างกาย ต่ำกว่า 35 หรือสูงกว่า 40 องศา ถูกพิษ ภาวะจิตเวชฉุกเฉิน