การใช้สำนวนเปรียบเทียบ คำพังเพย สุภาษิต โดย มิส.สุพรรณี ทองสวัสดิ์ โดย มิส.สุพรรณี ทองสวัสดิ์
ความหมายของสำนวนโวหาร คำพังเพย สุภาษิต และคำอุปมาอุปไมย ความหมายของสำนวนโวหาร คำพังเพย สุภาษิต และคำอุปมาอุปไมย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายไว้พอสรุปได้ดังนี้ สำนวนโวหาร หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้เป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่ง ไม่ถูกไวยากรณ์ แต่ยอมรับใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง ฟังดูไพเราะจับใจ
คำพังเพย หมายถึง คำกลางๆที่กล่าวไว้ให้ตีความเข้ากับ เนื้อเรื่อง ภาษิต หมายถึง คำกลางๆที่ใช้ได้ทั้งทางดีและทางชั่ว แต่ถือว่าเป็นคติสอนใจ สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่เป็นคติ ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว อุปมาอุปไมย หมายถึง คำเปรียบเทียบกัน
ตัวอย่างสำนวนโวหาร ไกลปืนเที่ยง ไขสือ คว่ำบาตร งมเข็มในมหาสมุทร ปั้นน้ำเป็นตัว หลังยาว อาบน้ำร้อนมาก่อน
ตัวอย่างคำพังเพย กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
ตัวอย่างสุภาษิต คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
ตัวอย่างอุปมาอุปไมย คำเปรียบเทียบ โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ รักดังดวงตา ขาวเหมือนสำลี เค็มยิ่งกว่าเกลือ โง่เหมือนลา ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เงียบราวกับป่าช้า ดำเป็นตอตะโก แคบเท่าแมวดิ้นตาย ซนเหมือนลิง ดีใจดังได้แก้ว ผิวขาวราวกับแตงร่มใบ ลื่นเป็นปลาไหล ใจดำเหมือนอีกา
จบแล้วจ้า