วันที่ 25 มีนาคม 2556
วันที่ 24 เมษายน 2556 นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2556เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่เข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มี.ค. 2540 และสมัครเป็นสมาชิก กบข. เลือกกลับไปใช้สิทธิรับบำเหน็จบำนาญตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ได้
วันที่ 24 เมษายน 2556 นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. โดยสมัครใจ หากเลือกกลับไปใช้ระบบบำนาญแบบเดิม ขอให้แสดงความประสงค์ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยจะได้รับเงินสะสม และดอกผลคืนจาก กบข.ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557แต่จะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว หลังออกจากราชการ มีสิทธิเลือกรับบำนาญจะได้รับบำนาญสูตรเดิมจนถึงวันที่เสียชีวิต ส่วนข้าราชการที่จะขอลาออก หรือถูกสั่งให้ออก จะใช้สิทธิเลือกได้ไม่เกินวันที่จะออกจากราชการ
สำหรับผู้รับบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. วันที่ 24 เมษายน 2556 สำหรับผู้รับบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. สามารถแสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2557 โดยผู้รับบำนาญจะได้รับบำนาญสูตรเดิมย้อนหลังตั้งแต่วันที่ออกจากราชการถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 แต่ต้องคืนเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าวให้กับทางราชการโดยวิธีหักกลบลบกันหากมีส่วนต่างที่ผู้รับบำนาญต้องชำระคืน ให้ชำระคืนแก่ส่วนราชการผู้เบิก เพื่อส่งต่อให้กรมบัญชีกลาง ภายใน 30 มิถุนายน 2557 แต่หากมีส่วนต่างที่รัฐต้องจ่ายคืน ให้จ่ายคืนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ หากผู้รับบำนาญที่แสดงความประสงค์ไว้ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์ไม่มีผลใช้บังคับ
มีอายุราชการ 40 ปีขึ้นไป ไม่เป็นสมาชิก กบข.ดีกว่า มีปัญหาเรื่องสุขภาพหรือไม่ ภายหลังเกษียณคาดว่าจะมีอายุอยู่เกิน 67 ปีขึ้นไป ความจำเป็นในการใช้จ่ายเงินภายหลังเกษียณ เช่น โครงการลงทุนต่างๆ
เงินบำนาญ คือเงินที่รัฐจ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อพ้นสมาชิกภาพตามสูตรที่กำหนด โดยสมาชิกที่มีสิทธิเลือกรับบำนาญต้องเป็นสมาชิกที่ออกจากราชการและมีเวลาราชการยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือออกจากราชการด้วยเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน และมีเวลาราชการสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยรับจากกระทรวงการคลัง
เงินประเดิม คือเงินที่รัฐบาลนำส่งเข้าบัญชีสมาชิก กบข. ที่เป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 เพื่อชดเชยเงินบำนาญที่ลดลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสูตรเงินบำนาญสำหรับสมาชิก ซึ่งสมาชิกจะมีสิทธิขอรับเงินประเดิมได้เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ และต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิรับและเลือกรับบำนาญเท่านั้น เงินสะสม คือเงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนสมาชิก และหากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ฉบับแก้ไขใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว สมาชิกก็จะสามารถส่งเงินสะสมเพิ่มขึ้นได้ตามความสมัครใจของสมาชิกเป็นอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือนทุกเดือน
เงินสมทบ คือเงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกที่สะสมเงินเข้ากองทุนเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนสมาชิก ทั้งนี้หากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้และสมาชิกต้องการสะสมเงินเข้ากองทุนเพิ่มขึ้น แต่ทางรัฐบาลจะยังคงสมทบเงินให้ในอัตราเท่าเดิม เงินชดเชย คือเงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเป็นประจำทุกเดือน เพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกเพื่อชดเชยสูตรบำนาญที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งขณะนี้อยู่ในอัตราร้อยละ 2 ของเงินเดือน ซึ่งสมาชิกจะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยต่อเมื่อมีสิทธิรับและเลือกรับบำนาญเท่านั้น
สูตรการคำนวณเงินประเภทต่าง ๆ เงินบำเหน็จ คือ เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ เงินบำนาญสูตรเดิม คือ เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ 50 เงินบำนาญสูตรสมาชิก คือ เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ ( แต่ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย )
หมายเหตุ การนับเวลาราชการเพื่อกำหนดสิทธิในบำเหน็จบำนาญนั้น จะนับจากวันบรรจุจนถึงวันที่ออกจากราชการ โดยรวมวันทวีคูณด้วย การนับให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ ถ้ามีเศษของปีถึง 6 เดือน ให้นับเป็นหนึ่งปี เช่น เวลาราชการ 9 ปี 6 เดือน ถือว่าเกิดสิทธิในการรับบำเหน็จ หรือ 24 ปี 6 เดือน ถือว่าเกิดสิทธิในการรับบำนาญ แต่การคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญ ให้ใช้เวลาราชการจริง เช่น เวลาราชการ 24 ปี 6 เดือน วิธีคำนวณ = 24 + 6 / 12 เท่ากับ 24.5 ปี