2 การเก็บรวบรวมข้อมูล Data Collection
ขั้นตอนทางสถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมายข้อมูล
ข้อมูล (data) ข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจจะเป็นตัวเลข หรือไม่ใช่ตัวเลขก็ได้ จำแนกจามวิธีการเก็บ แบ่งเป็น 2 ชนิด ปฐมภูมิและทุติยภูมิ จำแนกตามลักษณะของข้อมูลแบ่งเป็น 2 ชนิด ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ
ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่รวบรวมได้ ในรูปของตัวเลข เช่น จำนวนนักเรียน น้ำหนักทารกแรกเกิด ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเขต กทม. ข้อดี/ข้อเสีย
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่ไม่สามารถรวบรวมออกมาในรูปของตัวเลข เช่น ความพึงพอใจในการใช้สินค้าชนิดหนึ่ง ข้อดี/ข้อเสีย
สเกลวัดข้อมูล สเกลนามบัญญัติ (nominal scale) สเกลเรียงอันดับ (ordinal scale) สเกลอันตรภาค (interval scale) สเกลอัตราส่วน (ratio scale)
สเกลนามบัญญัติ (nominal scale) เป็นการวัดระดับต่ำสุด เป็นเพียงการเรียกชื่อหรือจำแนกประเภทของคุณลักษณะ หรือสิ่งของต่างๆ เช่น จำแนกผลลัพธ์จากการโยนเหรียญเป็นหัวหรือก้อย จำแนกบุคคลตามอาชีพ เช่นข้าราชการ ค้าขาย รับจ้าง มีการกำหนดตัวเลขเพื่อจำแนกสิ่งต่างๆ โดยตัวเลขดังกล่าวไม่มีความหมายในเชิงปริมาณ เช่น บ้านเลขที่ หมายเลขโทรศัพท์ รหัสไปรษณีย์
สเกลเรียงอันดับ (ordinal scale) การวัดในระดับนี้เป็นการเรียงลำดับสิ่งต่างๆ ตามลักษณะหนึ่งๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในลักษณะดีกว่า ยากกว่า หรือชอบมากกว่า เช่น แม่บ้านคนหนึ่งมีความนิยมผงซักฟอก 3 ยี่ห้อ เป็น ดีที่สุด ดีมาก และดี ซึ่งอาจมีการกำหนดตัวเลขให้แก่สิ่งต่างๆ โดยที่ “ตัวเลขดังกล่าวไม่มีความหมายในเชิงปริมาณ จึงไม่สามารถ บวก ลบ คูณ หารกันได้”
สเกลอันตรภาค (interval scale) การวัดในระดับนี้จะมีคุณสมบัติการจำแนก และการจัดเรียงอันดับสิ่งต่างๆ แต่ละหน่วยของการวัดยังมีค่าคงที่ แต่ละช่วงมีขนาดเท่ากัน ซึ่งทำให้สามารถระบุความแตกต่างระหว่างสิ่งต่างๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น การวัดอุณหภูมิ ค่าสถิตินำมาบวก ลบ คูณ หารกันได้ แต่ไม่มีความหมาย
สเกลอัตราส่วน (ratio scale) เป็นการวัดระดับสูงสุดนอกจากจะมีคุณสมบัติต่างๆ เหมือนสเกลอันตรภาคแล้ว ยังมีศูนย์แท้เป็นจุดเริ่มต้น นั่นคือ 0 หมายถึงไม่มีอะไรเลย เช่น หนัก 0 กิโลกรัม แสดงว่าไม่มีน้ำหนักเลย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการวัดในระดับนี้ จึงนำมาบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งได้ 2 วิธี คือ สำมะโน (census) การสำรวจด้วยตัวอย่าง (sample survey)
สำมะโน (census) เป็นวิธีการเก็บข้อมูล โดยการแจงนับทุกหน่วยของประชากร ซึ่งอาจเป็นการแจงนับโดยการ นับ วัด หรือ ชั่ง การสัมภาษณ์ที่มีการเผชิญหน้ากัน ตลอดจนการอาศัยสื่อกลางต่างๆ
การสำรวจด้วยตัวอย่าง (sample survey) เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจงนับ บางหน่วยของประชากร โดยแต่ละหน่วยของประชากรที่ถูกแจงนับจะเป็นไปโดยสุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและงบประมาณ