ราก (Root) ราก คือ ส่วนที่อยู่ใต้ดิน และมีหน้าที่ ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุในดิน ค้ำจุนพืชให้ทรงตัวอยู่ได้ และในพืชบางชนิดจะใช้สะสมอาหาร (http://www.csdl.tamu.edu/FLORA/tfplab/reproch.htm)
ชนิดของราก (Root system) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ - ระบบรากแก้ว (tap root, primary root) เจริญเติบโตเร็ว ขนาดค่อนข้างใหญ่ งอกตามแรงดึงดูดของโลก - ระบบรากฝอย (secondary root) เป็นรากที่เกิดมาจากชั้น pericycle รากที่แตกออกมามีขนาดเท่า ๆ กัน มักช่วยค้ำจุนในพืชที่มีระบบรากแก้วไม่แข็งแรง และช่วยยึดผิวดินไม่ให้พังทลาย - รากพิเศษ (Adventitious root) เป็นรากที่ออกตามข้อของลำต้น และเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะอื่น ๆ
Adventitious root แบ่งเป็น Buttress root เป็นรากพิเศษเกิดจากโคนต้นส่วนที่อยู่ใกล้ระดับดินเจริญขยายออกลงไปจนถึงระดับดินเป็นปีกสันที่บริเวณโคนต้น ทำหน้าที่ค้ำจุนลำต้นให้มั่นคงแข็งแรงขึ้น เช่น ตะแบก งิ้ว นุ่น มักเกิดกับไม้ใหญ่ (The Royal Horticultural Society A-Z Encyclopedia of Garden Plants ; 1996)
Prop root เป็นรากพิเศษเกิดจากส่วนโคนต้นเหนือพื้นดินเจริญลงสู่พื้นเพื่อทำหน้าที่พยุงหรือค้ำจุนลำต้นและกิ่งก้าน นอกจากนี้ยังช่วยหาอาหารด้วย เช่น ไทร เตย ข้าวโพด มักเกิดกับไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้นที่แผ่กิ่งก้านมาก (Botany and Introduction to Plant Biology 5th edition ; 1974) (กายวิภาคและสัณฐานวิทยาของพืช ; 2543)
(กายวิภาคและสัณฐานวิทยาของพืช ; 2543) Pneumatophore (aerial root) เป็นรากแขนงของพืชชายเลนบางชนิด เช่น โกงกาง แสม ลำพู ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศหรือช่วยในการหายใจของพืช
Storage root เป็นรากที่ขยายตัวออกและมีเนื้อเยื่อเก็บสะสมอาหาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและน้ำตาลซูโครส พืชที่มีรากแก้วสะสมอาหาร ได้แก่ มันเทศ แครอท ลักษณะเป็นแบบ conical
ลักษณะเป็นแบบ napiform
ลักษณะเป็นแบบ fasical (เภสัชพฤกษ์ ; 2544)
Climbing root เป็นรากอากาศอีกชนิดหนึ่ง ที่ยึดลำต้นให้ติดกับกำแพง รั้ว หรือต้นไม้อื่น