พระพุทธศาสนาในประเทศไทย M a h i d o l U n i v e r s i t y พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยในช่วง พ.ศ. ๒๓๖ หลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณทูตไปประกาศพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ๙ สาย คณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และแคว้นคันธาระ คณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือ แคว้นไมซอร์และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบัน คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบัน คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์ คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์ คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถาน คณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือ เนปาลปัจจุบัน คณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ คณะพระมหินทระ ไปลังกา
ภาพจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชผู้นำพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/bud~311.html
พระพุทธศาสนาจากอินเดียสู่ประเทศไทยในอดีต
การเข้ามาสู่ประเทศไทยครั้งแรก พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ สุวรรณภูมิ มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย สุวรรณภูมิมีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า
แผนที่อุษาทวีป หมายถึงแผ่นดินทอง วาดโดยชาวเยอรมัน ปี ๒๐๗๘
พระปฐมเจดีย์
สถูปสาญจี สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แม่แบบพระปฐมเจดีในนครปฐม
ด้านหน้าสถูปสาญจี ในอินเดีย
โบราณวัตถุที่ขุดพบรอบโบราณสถาน จ.นครปฐม สาญจิเจดีย์ โบราณวัตถุที่ขุดพบรอบโบราณสถาน จ.นครปฐม
http://www.snr.ac.th/sakyaputto/tavaravadee.htm